SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อวันก่อนเพิ่งมีข่าวเด็ก 10 ขวบ ถูกมิจฉาชีพหลอกถ่ายภาพลับแลกเพชรในเกม นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยังไม่รวมข้อกังวลของการที่เด็กติดโลกออนไลน์เกินไป ว่าอาจมีผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ทำให้ในตอนนี้หลายประเทศเริ่มออกมาตรการในเชิง ‘หักดิบ’ ห้ามเยาวชนอายุต่ำกว่าที่กำหนดเล่นโซเชียลมีเดียไปเลย แต่เรื่องนี้เสียงยังแตก เพราะในมุมหนึ่ง พ่อแม่ผู้ปกครองมองว่า นี่อาจเป็นมาตรการที่แก้จากต้นเหตุได้จริง แต่อีกมุมก็มีคนมองว่า มันคือการละเมิดสิทธิเยาวชน และต่อให้กฎหมายเข้มงวดแค่ไหนก็มีช่องโหว่อยู่ดี

วันนี้สำนักข่าวทูเดย์เลยรวบรวมข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ แล้วอยากชวนทุกคนคอมเมนต์ถกเถียงกัน

ประเทศที่เริ่มเดินหน้าห้ามเยาวชนเล่นโซเชียลมีเดียอย่างจริงจัง จนออกกฎหมายเลยคือออสเตรเลีย ที่เมื่อปลายเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา รัฐสภาออสเตรเลียผ่านร่างกฎหมาย ที่กลายเป็นกฎหมายคุมเข้มโลกออนไลน์ ที่เข้มงวดที่สุดในโลก

กฎหมายฉบับนี้สั่งห้ามเยาวชนอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้งานโซเชียลมีเดีย โดยเน้นบังคับไปที่เจ้าของแพลตฟอร์ม ให้ออกมาตรการควบคุมไม่ให้เด็กเป็นเจ้าของบัญชีได้ โดยให้เวลาไปหาทาง 1 ปี ถ้าทำไม่ได้และมีเยาวชนหลุดเข้าไป เจ้าของแพลตฟอร์มอาจถูกปรับสูงถึง 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียหรือกว่า 1,000 ล้านบาท

นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียระบุว่า กฎหมายฉบับนี้มีความจำเป็นเพื่อปกป้องเยาวชน ไม่ให้ถูกโซเชียลมีเดียทำร้าย

เช่นเดียวกับที่ตุรกี สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการจีนรายงานว่า ทางการตุรกีกำลังสำรวจหาระเบียบข้อบังคับที่เป็นไปได้ ในการควบคุมการใช้โซเชียลมีเดียหรือสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มบุคคลอายุต่ำกว่า 16 ปี หลังพบเยาวชนมีปัญหาทางจิต จากการติดโซเชียลมีเดียมากเกินไป

ปัญหาทางจิตที่ว่า เช่น อาการ ‘กลัวตกกระแส’ (FOMO) ทำให้ต้องเสพติดหน้าจออยู่เสมอ ซึ่งส่งผลต่อการนอนหลับที่ผิดปกติ วิตกกังวลเพิ่มขึ้น และเห็นคุณค่าในตัวเองลดลง

นอกจากนี้ยังพบอาการ ‘ออทิสติกเทียม’ ในเด็กเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เด็กเหล่านี้จะสื่อสารช้า ตอบสนองทางอารมณ์ลดลง เนื่องจากใช้งานหน้าจอก่อนวัยอันควรหรือมากเกินไปในเด็กเล็ก

นอกจากออสเตรเลียกับตุรกีแล้ว ยังมีหลายประเทศที่เริ่มพูดถึงมาตรการเข้มงวด ห้ามหรือจำกัดการเล่นโซเชียลมีเดียในเด็ก เช่น นอร์เวย์ ฝรั่งเศส หลายประเทศในสหภาพยุโรป หรือแม้กระทั่งสหรัฐอเมริกา

การออกกฎหมายเข้มงวด ห้ามเด็กเข้าถึงโลกออนไลน์ก่อนวัยอันควรนั้น ได้รับแรงสนับสนุนจากบรรดาผู้ปกครองที่บางส่วนมีประสบการณ์ตรง ลูกหลานเคยถูกล่อลวงในโลกออนไลน์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กที่มองว่า มีเหตุผลมากพอที่ภาครัฐจะต้องเข้ามาแทรกแซง

จูลี สเคลโฟ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายแม่ต่อต้านการเสพติดสื่อ ระบุว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อเด็กก็เหมือนกับผู้ใหญ่ คือการที่พวกเขาต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์จริงๆ ลดการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเพียงลำพัง

แต่ก็มีข้อกังวลว่า แม้กฎหมายจะเข้มงวดแต่สุดท้ายก็อาจบังคับใช้ไม่ได้จริง เพราะยังมีช่องโหว่ในการยืนยันตัวตน ที่เด็กอาจเอาข้อมูลของผู้ใหญ่มาใช้โดยที่แพลตฟอร์มตรวจสอบไม่ได้

ถึงอย่างนั้น ในเรื่องนี้ฝ่ายที่สนับสนุนกฎหมายก็โต้แย้งว่า เรื่องนี้ก็ไม่ต่างจากกฎหมายห้ามเยาวชนเข้าถึงเหล้าเบียร์หรือบุหรี่ ที่ในความเป็นจริงก็ไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่อย่างน้อยก็ทำให้แพลตฟอร์มให้ความสำคัญมากขึ้น

ข้อโต้แย้งที่ถูกพูดถึงมากที่สุด คือการสั่งห้ามเด็กเข้าถึงโลกออนไลน์อย่างเข้มข้น จะเป็นการจำกัดสิทธิของเด็ก ที่จะได้เห็นในด้านบวกของโลกออนไลน์หรือไม่ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกออนไลน์นี่แหละที่อาจเปิดโลกของเยาวชน ทำให้เด็กๆ รู้ว่าสิ่งที่พวกเขาชอบคืออะไร หรือแม้แต่รู้จักความสนใจ และตัวตนของพวกเขาเป็นใครกันแน่

พอล แทสก์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการของ NetChoice มองว่า การสั่งห้ามอย่างเข้มงวดเป็นการละเมิดเสรีภาพอย่างร้ายแรงในโลกยุคปัจจุบัน และผู้ปกครองน่าจะเป็นคนที่รู้จักลูกๆ ของพวกเขาดีที่สุด พ่อแม่ควรเป็นคนตัดสินใจเรื่องในครอบครัว ไม่ใช่รัฐบาล

ในเรื่องนี้ที่เมืองไทยยังไม่มีการถกเถียงกันมากนัก อ่านมาจนถึงตรงนี้ อยากชวนทุกคนพิมพ์ความเห็นมาแชร์กันว่า ปัญหาเด็กติดโซเชียลมีเดียในเมืองไทยจะต้องทำอย่างไร?

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า