SHARE

คัดลอกแล้ว

ถ้าเกิดแผ่นดินไหวแบบ 30 ปีก่อน

ญี่ปุ่นก็ยังไม่พร้อมรับมือ

อาจมีคนญี่ปุ่นครึ่งล้านไม่มีที่อยู่

ในวันนี้ (17 ม.ค.) เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เกิดเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ในญี่ปุ่น สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เพราะเหตุการณ์นั้นมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 6,700 คน

ผ่านไปแล้ว 3 ทศวรรษ ความเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้ยังคงมีอยู่ และสิ่งที่น่าตกใจมากกว่าก็คือ ประเทศอย่างญี่ปุ่น ซึ่งถูกมองว่าน่าจะมีความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติใหญ่ อาจจะไม่มีที่พักพิงเพียงพอหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในอนาคต และจะทำให้มีคนญี่ปุ่นสูงถึง 500,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย หากเกิดแผ่นดินไหวแบบเดียวกันในสถานที่เดียวกันกับเมื่อ 3 ทศวรรษที่แล้ว

[ย้อนรอย 30 ปีแผ่นดินไหวโกเบ]

เหตุแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เป็นแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 7.3 บริเวณนครโกเบ จังหวัดเฮียวโงะ เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 1995 เหตุการณ์นั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,700 คน บาดเจ็บอีกราว 43,800 คน ชาวบ้านมากถึง 310,000 คนต้องอาศัยอยู่ในสถานที่พักพิงชั่วคราว จากอาคารบ้านเรือนที่เสียหายจำนวนมาก

สถิติระบุว่า แผ่นดินไหวรอบนั้น มีบ้านเรือนเสียหายถึง 640,000 หลัง มีรายงานอาคารถล่มอีก 7,574 หลัง

ทุกๆ ปีชาวญี่ปุ่นจะรวมตัวกันรำลึกเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ที่เรียกกันว่าเหตุการณ์ ‘1.17’ ตามตัวเลขวันและเดือนที่เกิดเหตุ เช่นเดียวกับช่วงเช้าของวันครบรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ที่มีหลายหน่วยงานจัดพิธีรำลึกถึงผู้เสียชีวิต

โดยในจุดใหญ่ ที่สวนสาธารณะโกเบตะวันออก ผู้คนจำนวนมากนำไม้ไผ่และเทียนมาวางเป็นสัญลักษณ์ตัวเลข ‘1.17’

การจัดงานในปีนี้ ส่วนหนึ่งยังเป็นการรำลึกถึงเหตุแผ่นดินไหวทางตอนกลางของญี่ปุ่น บริเวณคาบสมุทรโนโตะที่เกิดขึ้นช่วงวันปีใหม่เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 500 คนด้วย

[ญี่ปุ่นเลี่ยงไม่ได้ แผ่นดินไหวใหญ่จะเกิดอีก]

ทุกคนรู้ดีว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศมีความเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว และที่ผ่านมาก็เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในญี่ปุ่นหลายครั้ง บางครั้งส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะทำให้เกิดสึนามิ และสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ชายฝั่งให้ราบเป็นหน้ากลอง

อย่างเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นก็เพิ่งเกิดเหตุแผ่นดินไหว ความรุนแรงระดับ 6.6 ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น

เหตุการณ์ที่สะเทือนใจที่สุด คือเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 9.0 ตามมาด้วยสึนามิเมื่อปี 2011 ซึ่งตอนนั้นภาพความเสียหายถูกถ่ายทอดสดออกไปทั่วโลกแบบนาทีต่อนาที

แผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อปี 2011 ยังทำให้เกิดวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ จากการที่เตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าเสียหาย ทำให้มีกัมมันตรังสีรั่วไหลจากโรงไฟฟ้า

แผ่นดินไหวยังเป็นภัยพิบัติที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ไม่สามารถคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ทำให้ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญทำได้เพียงคาดคะเนเท่านั้น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้ทำการคาดคะเนแนวโน้มการเกิดแผ่นดินไหวในเดือนมกราคมของทุกปี

โดยการคาดคะเนปีนี้ ทางการญี่ปุ่นระบุว่า ในอีก 30 ปีข้างหน้า ญี่ปุ่นยังมีความเสี่ยงมากถึง 80% ที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง บริเวณร่องลึกนันไก ซึ่งเคยเป็นจุดที่เกิดแผ่นดินไหวเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

อย่างที่บอกว่า การคาดการณ์แผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ ตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่ออกมานี้จึงเป็นการคาดคะเน โดยวัดจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต ซึ่งตัวเลขความเป็นไปได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงบริเวณร่องลึกนันไก ที่ผู้เชี่ยวชาญให้ไว้ประมาณ 80% ก็ถือเป็นการคาดคะเนที่ใกล้เคียงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นตัวเลขความเป็นไปได้ที่สูงกว่าก่อนปี 2018 ที่คาดคะเนอยู่ที่ 70-80%

[คนญี่ปุ่นครึ่งล้านอาจไม่มีที่อยู่ ญี่ปุ่นยังเตรียมที่พักพิงไม่พร้อม]

เมื่อมนุษย์เดาธรรมชาติไม่ได้ มนุษย์ก็เลยทำได้เพียงเตรียมการทุกวิถีทางเพื่อให้พร้อมที่สุด หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง แต่คำถามที่ตามมาก็คือ ญี่ปุ่นพร้อมแค่ไหนในการรับมือกับแผ่นดินไหวรุนแรงในอนาคต

สำนักข่าวนิคเคอิ สื่อญี่ปุ่น ใช้เวลา 2 เดือนในช่วงปลายปีที่แล้ว สำรวจสภาพสถานที่พักพิงในบริเวณที่เป็นร่องลึกนันไก เพื่อตอบคำถามว่า ถ้ามีแผ่นดินไหวรุนแรงแบบ 30 ปีที่แล้วเกิดขึ้นตรงนี้อีก ทางการญี่ปุ่นจะรับมือไหวหรือไม่

คำตอบที่ได้ คือ คนญี่ปุ่นในพื้นที่อาจไม่มีที่อยู่มากถึง 530,000 คน เพราะพื้นที่พักพิงหลังเกิดแผ่นดินไหวไม่เพียงพอ

นิคเคอิตั้งต้นจากข้อมูลของสำนักคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่คาดการณ์ว่า น่าจะมีผู้อพยพมากถึง 9.5 ล้านคน ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ทางการจะต้องจัดเตรียมสถานที่พักพิงให้เพียงพอ โดยอาจปรับจากพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ศูนย์กลางชุมชน โรงออกกำลังกาย มาเป็นพื้นที่พักพิง

นิคเคอิใช้วิธีติดต่อไปยังหน่วยงานท้องถิ่น ขอข้อมูลสถานที่ที่ถูกเตรียมเป็นศูนย์พักพิงหลังเกิดแผ่นดินไหว และคำนวณพื้นที่ว่าสามารถรองรับผู้พักพิงได้มากน้อยแค่ไหน ปรากฎว่า สถานที่ที่หน่วยงานท้องถิ่นจัดเตรียมไว้ เพียงพอในการพักอาศัยของประชาชนแค่ 40% เท่านั้น

หน่วยงานท้องถิ่นหลายแห่งระบุว่า พวกเขาอาจใช้สถานที่อื่นๆ ปรับปรุงเพื่อเป็นพื้นที่พักพิงเพิ่มเติม เช่น ใช้ห้องเรียนตามโรงเรียนต่างๆ แต่ถึงอย่างนั้น ผู้อพยพก็อาจล้นพื้นที่พักพิงอยู่ดี

เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นออกเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดพื้นที่พักพิงหลังภัยพิบัติ โดยสั่งให้หน่วยงานท้องถิ่นต้องจัดพื้นที่พักพิงให้ได้ 3.5 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล แต่จากการสำรวจ มีเพียง 7% เท่านั้นที่ทำได้ตามมาตรฐานนี้

นอกจากนี้ ยังพบปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่พักพิงอื่นๆ เช่น ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดโคชิ ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล ไม่สามารถจัดสถานที่พักพิงได้ เพราะพื้นที่พักพิงในชุมชนก็มีความเสี่ยงอาจถูกสึนามิที่เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวเช่นกัน

แม้ว่าบางจุดจากการสำรวจจะมีจำนวนศูนย์พักพิงเพียงพอกับประชาชน แต่ก็ประสบปัญหาเก่าเกินไป และไม่มีโครงสร้างรองรับแผ่นดินไหว

นี่ยังไม่รวมปัญหาอื่นๆ ที่จะแทรกซ้อนเข้ามาหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ไฟฟ้าดับ ถนนถูกตัดขาด หรือปัจจัยอื่นๆ อีก

[ท้องถิ่นแรงไม่พอ รัฐบาลญี่ปุ่นต้องขยับช่วย]

การรับมือกับภัยพิบัติใหญ่ อย่างเช่นเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง ไม่มีทางที่หน่วยงานท้องถิ่นจะสามารถรับมือได้ลำพัง

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลญี่ปุ่นออกมาประกาศแผนว่า ในปีงบประมาณ 2026 จะจัดตั้งหน่วยจัดการภัยพิบัติ เพื่อให้การรับมือภัยพิบัติรวดเร็วขึ้น

โนบุโอะ ฟุกะวะ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการประเมินภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยนาโกยา ให้สัมภาษณ์กับนิคเคอิว่า รัฐบาลกลางต้องมาเป็นแนวหน้า ดำเนินการแผนรับมือภัยพิบัติ ผ่านการพัฒนาแผนรับมืออย่างเร่งด่วน ครอบคุลมพื้นที่ทุกจังหวัดที่มีความเสี่ยง

และสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญคนนี้บอกว่า ถ้าทางการท้องถิ่นยอมรับความจริงว่า ศูนย์พักพิงของตัวเองอาจไม่เพียงพอหากเกิดภัยพิบัติ ก็ต้องแจ้งเตือนให้ประชาชนได้รับรู้ เพื่อเตรียมการรับมือด้วยตัวเอง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า