SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาครัฐเอกชน เตรียมขยับเกณฑ์ความหวานสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ ให้เหลือร้อยละ 5 ลดคนไทยติดหวาน ประเทศไทย หวานแค่ไหนพอ

มีการเสวนา “การบูรณาการระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายมาตรการลดการบริโภคหวานในประเทศไทย” เกี่ยวกับสถานการณ์และโรคที่เกิดจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป โดย นายอารยะ โรจนวณิชชากร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนา พร้อมด้วยนักวิชาการจากกรมอนามัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และผู้ประกอบการจาก คาเฟ่ อเมซอน, อินทนิล คอฟฟี่ และเชฟอั้ม จากอิมแพค ที่พร้อมให้ความสำคัญในการนำไปสู่เป้าหมายเพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีจากการลดปริมาณน้ำตาล ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคหวานของคนไทยในปี 2565 พบว่าคนไทยให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นจากการเลือกรับประทานเมนูอาหารและเครื่องดื่มในระดับหวานน้อยหรือลดปริมาณการใช้เครื่องปรุงที่มีส่วนทำให้เพิ่มไขมันในร่างกาย

นายแพทย์เธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายลดการบริโภคอาหารของคนไทย โดยเฉพาะพฤติกรรมการติดหวานให้น้อยลง ซึ่งที่ผ่านมา ดร.สาธิต ปิตุเตซะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบาย “หวานน้อยสั่งได้” ซึ่งกรมอนามัยพร้อมขับเคลื่อนเพื่อลดปริมาณความหวานของร้านเครื่องดื่มชงลงเหลือร้อยละ 5 ขณะนี้มีภาคธุรกิจแฟรนไซส์เครื่องดื่มรายใหญ่เข้าร่วมนโยบายหวานน้อยสั่งได้แล้ว 27 แบรนด์ รวมทั้งร้านค้าที่เป็น Local Brand ทั่วประเทศ อีกจำนวน 2,355 ร้าน

รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ยังพบคนไทยมีน้ำหนักตัวเกินและมีกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนมากอยู่ ขณะเดียวกันยังพบว่าการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีรสหวานทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเวลากินน้ำตาลมากเกินจะเปลี่ยนเป็นการสร้างไขมันที่มีผลเสียต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัว เฉลี่ยแล้วคนไทยกินน้ำตาลถึง 25 ช้อนชาต่อวัน ในขณะที่กรมอนามัยแนะนำว่าไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา ซึ่งเกินไปถึง 4 เท่า

“พวกเราต้องก้าวไปพร้อมกันทั้งภาครัฐ เอกชนที่จะช่วยกันผลักดันด้านสุขภาพของคนไทยให้ดีขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม เป้าหมายต่อไปพวกเราต้องปรับลดความหวานจากร้อยละ 6 ให้เป็นร้อยละ 5 หวานน้อยสั่งได้”

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการกำกับ ดูแล และส่งเสริมให้อาหารมีคุณภาพ ความปลอดภัย มีคุณค่าและสมประโยซน์เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ได้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค NCDs ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ได้รับการรับรองสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” ที่ปัจจุบันมีเกณฑ์การรับรองสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” จำนวน 14 กลุ่มอาหาร และจำนวนผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการรับรองสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพมีจำนวน 2,749 ผลิตภัณฑ์ จาก 444 บริษัท

ข้อมูลจากกรมอนามัย ระบุว่าสถานการณ์ประเทศไทยปี 2559-2563 พบว่า มีอัตราการเสียชีวิต เนื่องมาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็งทุกประเภท โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือดซึ่งสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความหวาน ความมัน และความเค็มมากเกินเกณฑ์
ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า