SHARE

คัดลอกแล้ว

เข้าหน้าฝนทีไร เราจะได้ข่าวเด็กป่วยเพราะติดเชื้อมาจากโรงเรียนอยู่เสมอ ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่กังวลใจ เพราะลูก ๆ ก็มีโอกาสเจ็บป่วยกันได้ง่ายขึ้น นี่เป็นเพราะหน้าฝนมีอากาศชื้นแฉะ ส่งผลให้เชื้อโรคหลายชนิดเติบโตและแพร่ระบาดได้รวดเร็ว และระบบภูมิต้านทานของเด็กยังไม่แข็งแรงเต็มที่ ยิ่งในช่วงเปิดเทอมที่เด็กมาเรียนมาเล่นด้วยกัน ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงติดโรคระบาดมากกว่าเดิม ที่น่ากังวลไปกว่านั้นก็คือ โรคที่พบบ่อยอาจไม่ใช่แค่ไข้หวัดทั่วไป แต่รวมถึงโรคอันตรายที่หากไม่รับมือให้ดีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต วันนี้ พญ. สุธิดา ชินธเนศ กุมารแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบการหายใจในเด็ก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลวิมุต จะมาแชร์ข้อมูลของโรคระบาดในเด็กที่พบบ่อยในหน้าฝน พร้อมวิธีรับมือที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปดูแลลูกให้ห่างไกลโรคร้าย

เจาะ 5 โรคที่พบบ่อยในหน้าฝน พร้อมอาการที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ช่วงหน้าฝน เด็กมักเสี่ยงต่อโรคระบาดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อผ่านการสัมผัส รวมไปถึงกลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ พญ. สุธิดา ชินธเนศ อธิบายถึงลักษณะของแต่ละโรคว่า “โรคที่พบได้บ่อยในช่วงนี้ ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก ที่มักพบในเด็กเล็กวัยก่อนเข้าเรียนหรือในเด็กต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรง อาการเด่นชัดคือมีไข้สูง มีแผลในปาก และมีผื่นที่มือและเท้า บางคนถ้าติดเชื้อสายพันธุ์รุนแรงอาจมีภาวะแทรกซ้อนทางสมอง กล้ามเนื้อ และหัวใจ

 

ต่อมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา เด็กจะมีไข้สูง ปวดเมื่อยตัว อ่อนเพลีย และอาจมีอาการไอ น้ำมูก อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย หากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวมและสมองอักเสบ โรคที่สามคือโรคปอดบวม เป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งอาจพัฒนามาจากไข้หวัดธรรมดา โดยเด็กจะมีอาการไอและมีเสมหะมาก หายใจเร็วหรือหายใจหอบเหนื่อย เสียงหายใจผิดปกติ และในบางรายอาจมีริมฝีปากเขียวคล้ำ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีอาการรุนแรงแล้ว

 

โรคต่อมาคือตาแดงจากไวรัส ซึ่งแพร่กระจายได้ง่าย เด็กจะมีอาการตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล มีขี้ตามาก และสุดท้ายคือโรคไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะ ในระยะแรกเด็กจะมีไข้สูง ปวดเมื่อย มีจุดเลือดออกสีแดงตามร่างกาย ส่วนอีกระยะที่ต้องระวังคือช่วงที่ไข้ลดลง เพราะบางคนอาจเกิดภาวะช็อกได้ และอาจมีอาการเลือดออกร่วมด้วย เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรสังเกตอาการของลูกไว้ตลอด เมื่อมีอาการผิดปกติหรืออาการที่เข้าข่ายโรคเหล่านี้จะได้รับมือได้ทันที”

ระวัง! ซื้อยาให้ลูกเอง เสี่ยงทั้งดื้อยาและผลข้างเคียง

เมื่อลูกป่วย คุณพ่อคุณแม่บางคนก็ร้อนใจและไปซื้อยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะมาให้กิน ซึ่งจริง ๆ แล้วโรคระบาดในเด็กส่วนใหญ่มากกว่า 80–90% มักเกิดจากไวรัสที่ไม่มียารักษาเฉพาะ ยกเว้นบางโรค เช่น โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ “นอกจากการใช้ยาปฏิชีวนะจะไม่ได้ช่วยให้อาการของโรคจากไวรัสดีขึ้น ยังอาจทำให้เกิดการดื้อยาในอนาคตหรือเกิดผลข้างเคียงจากยา สิ่งที่พ่อแม่ทำได้เมื่อลูกติดโรคเหล่านี้คือการดูแลตามอาการ เช่น หากมีไข้ก็หมั่นเช็ดตัวและกินยาลดไข้ และถ้าสังเกตเห็นอาการที่น่าเป็นห่วงก็รีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที เพราะแต่ละโรคหากปล่อยไว้อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เกินอันตรายกับลูกของเราได้” พญ. สุธิดา ชินธเนศ อธิบาย

เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกก่อนโรคจะถามหา

อีกหนึ่งสิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกของเราติดโรคระบาดในช่วงนี้คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงตั้งแต่ต้น พญ. สุธิดา ชินธเนศ อธิบายต่อว่า “เริ่มจากให้เด็กกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติได้ดี ส่วนเรื่องการนอนก็สำคัญ เด็ก ๆ ควรเข้านอนไม่เกิน 3-4 ทุ่ม และนอนให้ได้อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงต่อวัน ที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งตอนนี้มีวัคซีนหลายชนิดที่ช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคในเด็ก เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ควรฉีดทุกปี วัคซีนไข้เลือดออกที่ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและอาการรุนแรงได้ และวัคซีนมือเท้าปากที่ป้องกันสายพันธุ์ที่รุนแรงที่สุดได้ ซึ่งวัคซีนเหล่านี้จะช่วยให้ลูกหลานของเราปลอดภัยมากขึ้นในช่วงฤดูฝน”

“ไม่มีใครอยากให้ลูกเจ็บป่วย แต่ในวันที่เราเลี่ยงความเสี่ยงไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูแลเด็ก ๆ ให้ดีที่สุด ให้เขาได้กินอาหารดี ๆ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และถ้าเป็นไปได้แนะนำให้พาไปรับวัคซีนให้ครบถ้วน ยิ่งช่วงหน้าฝนที่เชื้อโรคแพร่ระบาดง่ายแบบนี้ เวลาไปโรงเรียนหรือสถานที่ที่มีคนเยอะ แนะนำให้ลูกน้อยรักษาความสะอาด ใช้ช้อนกลาง ฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์หรือล้างมือบ่อย ๆ และสวมใส่หน้ากากอนามัย นอกจากนี้พ่อแม่ก็ต้องคอยหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อย ถ้าหากพบอาการเจ็บป่วยหรืออาการผิดปกติที่น่าเป็นห่วงจะได้พาไปพบแพทย์และสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที” พญ. สุธิดา ชินธเนศ กล่าวทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า