SHARE

คัดลอกแล้ว

เหตุน้ำมันรั่วซ้ำ ยิ่งส่งสัญญาณทำลายระบบนิเวศเพิ่ม หลังพบหอยเสียบคลุกน้ำมันตาย

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า เช้านี้ที่หาดแม่รำพึง จ.ระยอง บางแห่งมีน้ำมันจางๆ เข้ามากับคลื่น ขุดทรายบางจุดยังเจอฟิล์มน้ำมันซึมออกมาจากใต้ทราย

โดยคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ทำงานร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ได้จัดทำสถานีเรียงรายตามชายหาดหลายกิโลเมตรเพื่อตรวจสอบว่าสัตว์ที่อยู่บริหาดได้รับผลกระทบอย่างไร เริ่มที่ขั้นตอนใช้โดรนตรวจสอบก่อนและหลังเพื่อกำหนดจุดเก็บตัวอย่างและแบ่งพื้นที่ได้รับผลกระทบออกเป็นเขตๆ แบ่งพื้นที่ผลกระทบเป็น 4 บริเวณ แดงเข้ม แดง ส้ม เหลือง เมื่อน้ำมันเข้ามาบางส่วนจมลงไปใต้ทรายในบริเวณที่หอยเสียบอาศัย

หอยเสียบเป็น Bio-marker สัตว์ที่เป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน้ำมันส่งผลต่อหอยเสียบได้ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว การเก็บตัวอย่างทำตอนน้ำลงต่ำสุด วางไลน์ตั้งฉากกับหาดขุดหลุมเก็บตัวอย่างไล่ตามไลน์ไปทีละจุด ระหว่างนั้นก็เก็บข้อมูลอื่นๆ เช่น TPH (ปิโตรเลี่ยมไฮโดรคาร์บอน)

ช่วงที่ผ่านมา น้ำลงต่ำกลางคืน บางคืนทีมงานทำงานถึง 04.00 น. ซึ่งได้นำตัวอย่างมาวิเคราะห์ แยกสัดส่วนหอยเป็น/หอยตาย เพื่อดูผลกระทบแบบเฉียบพลันและสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ตัวอย่างจากจุดแดงเข้ม น้ำมันเข้าเยอะ หอยเสียบคลุกน้ำมันบางส่วนตายทันที ปากอ้าตั้งแต่ตอนเก็บ บางส่วนยังรอดอยู่
การเก็บจึงต้องทำหลายครั้ง เพื่อดูว่าเมื่อเวลาผ่านไป หอยตายเพิ่มขึ้นบ้างหรือไม่ ยังต้องทำในแต่ละเขตให้ครบถ้วน เพื่อดูว่าผลกระทบต่างกันอย่างไร ซึ่งต้องทำอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นผลมาจากน้ำมันไม่ใช่อีกหลายเดือนให้หลังค่อยมาทำอาจมีข้อสงสัย
ดร.ธรณ์ ยังกล่าวอีกว่า ครั้งนี้มีข้อมูลก่อนน้ำมันเข้าหาดจึงบอกได้ชัดเจนและยังมีการวิเคราะห์อีกหลายแบบ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง TPH (น้ำมัน) กับอัตราตายของหอยเสียบ สัดส่วนของลูกหอยที่ตาย เมื่อเทียบกับหอยเต็มวัย ฯลฯ เมื่อน้ำมันยังไม่หมด แถมมีระลอก 2 ผลกระทบก็ต่อเนื่อง นั่นเฉพาะแค่หอยเสียบ ซึ่งยังมีปูทหาร, จั๊กจั่นทะเล, หนอนทะเล ฯลฯ ที่เป็น Bio-marker ของหาดทราย
“ไม่มีใครอยากเห็นหอยตาย ปูตายเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้น ยิ่งไม่เข้าใจว่าทำไมถึงรั่วซ้ำอีกครั้ง หอยปูจะโดนซ้ำเติมแค่ไหน แต่ทุกคนพยายามครับ เพราะทราบดีว่าเมื่อส่งไปรวมกับข้อมูลของกรมทะเลฯ จะมีความสำคัญในการฟื้นฟูเยียวยาระบบนิเวศ” ดร.ธรณ์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า