SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพนักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาตินับร้อย พักเที่ยงคนแน่นเต็มโรงอาหารถึงกับต้องต่อคิวซื้ออาหารนานกว่าสิบนาที คงเป็นภาพจำวัยเรียนของผู้อ่านหลายๆ คน แต่ไม่ใช่กับนักเรียนที่โรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่งในพื้นที่ จ.มหาสารคาม โรงเรียนแห่งนี้มีอาคารเรียนไม้เก่าเพียงไม่กี่หลัง มีลานกิจกรรมเล็กๆ ที่พอใช้สำหรับทำกิจกรร ที่ไม่ต่างกับจำนวนนักเรียนที่มีแค่ 60 คน โรงเรียนนี้กำลังเผชิญกับปัญหานโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่จะส่งผลกับคนในชุมชนและสะท้อนปัญหาภาพรวมของนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศว่าเสี่ยงจะถูกยุบอีกกี่โรงเรียน

“ไปเรียนโรงเรียนไกลบ้าน ก็มีการกลั่นแกล้งเกิดขึ้น มีทั้งปัญหาการเดินทาง ไม่มีรถรับส่งที่ดี ความปลอดภัยไม่เยอะ อย่างนี้ก็เลยให้กลับมา  

น้ำเสียงของคุณแม่วัยกลางคน เล่าถึงปัญหาที่ไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องส่งลูกวัยประถมไปเรียนโรงเรียนที่ไกลบ้านแต่กลับต้องเจอปัญหาหลายอย่าง ทั้งเรื่องการเดินทางที่ไกลมากขึ้น ส่งผลทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาการกลั่นแกล้งของเด็กที่กำลังศึกษาในชั้นที่สูงกว่า ปัจจัยทางด้านค่าใช้จ่ายและความปลอดภัยของลูกหลาน จึงเป็นสาเหตุและปัญหาหลักที่หลายคนไม่ต้องการโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ให้ไปรวมกับโรงเรียนขนาดใหญ่

ขนาดไหนถึงเรียกว่า ‘โรงเรียนขนาดเล็ก’

จากข้อมูลสถิติล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงเรียน ขนาดเล็ก ทั้งหมด 14,996 โรงเรียน จากทั้งหมด 29,312 โรงเรียน ถือว่าโรงเรียนขนาดเล็กมีสัดส่วนถึงร้อยละ 51.16 นั่นหมายความว่ามีมากกว่าครึ่งของโรงเรียนทั้งหมด 

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะมีคำถามในใจว่าแล้ว “แล้วจะต้องมีนักเรียนกี่คนถึงเรียกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก คำตอบคือ สพฐ. ได้จัดขนาดโรงเรียนขนาดเล็กเป็น ขนาดที่ 1’ โดยจะต้องมีเกณฑ์จำวนนักเรียนอยู่ที่ไม่เกิน 120 คน และส่วนใหญ่โรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในภาตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงภาคเหนือ ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากโรงเรียนเหล่านี้จะอยู่บนพื้นที่สูง บนดอยสูงห่างไกลจากตัวเมือง การเดินทางก็ไม่ได้สะดวกมากนัก ที่กล่าวมายังไม่รวมเหตุผลทางด้านวัฒนธรรม ความหลากหลายของชาติพันธุ์หรือความเชื่ออีกด้วย

โรงเรียนมันก็อยู่ในชุมชน มันดูแลง่าย จะได้ไม่ต้องห่วงลูกว่าจะอยู่ยังไง กินยังไง มีคนแกล้งไหม ปล่อยลูกไปเรียนอื่นก็ไม่รู้จะเป็นอย่างไร เสียงความเห็นของผู้ปกครองที่แชร์ประสบการณ์กับสำนักข่าวทูเดย์

“งบจำกัดก็ควบรวม” 

หนังสือด่วนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2562 ส่งผลให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตทำการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในตำบลเดียวกัน ที่ระยะทางน้อยกว่า 6 กม. รายละเอียดของหนังสือลงนามครั้งนี้ความต้องการหลักของผู้มีอำนาจของการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กก็เพื่อ ลดภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณด้านบุคลากรและการบริหารจัดการลงโดยให้เหตุผลหลัก 3 ข้อ คือ  

1. โรงเรียนขนาดเล็กจะได้งบน้อยกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่เพราะคิดงบประมาณเป็นรายหัว

2. โรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียน ครูไม่ครบทุกสาขาววิชา

3. โรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในชนบท ประชากรยากจน รวมถึงไม่สามารถช่วยสนับสนุนให้กับโรงเรียนได้ 

สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่ถึงแม้กระทรวงศึกษาธิการจะได้รับงบประมาณสูงที่สุด แต่กลับกันเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณลดลงจากปีที่แล้วมากถึง 21,172,238,100 บาท การลดงบประมากระทรวงศึกษาธิการเช่นนี้ ทำให้งบประมาณในการบริหารและจัดการโรงเรียน บุคลากรทางการศึกษาลดลง โดยจะส่งผลต่อการมีอยู่ของโรงเรียนขนาดเล็กที่อาจจะต้องแบ่งเงินไปพัฒนา ถ้าคิดดูคร่าวๆ จะมีคนที่ได้รับผลกระทบจากการควบรวมนี้มากกว่า 1 ล้านคน นับเฉพาะจำนวนนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กก็มีมากถึง 900,000 คน ยังไม่รวมบุคลากร และครอบครัวของนักเรียนเหล่านี้

“ภาระที่ไม่ได้เลือกเอง” 

ในขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำในประเทศกลับงสวนทางกับค่าครองชีพที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นนเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาหลักของคนในชุมชนชนบท ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ไม่ได้เล็งเห็นคนตัวเล็กตัวน้อยที่เป็นฟันเฟืองเล็กๆ ของประเทศนี้ ซ้ำมากไปกว่านั้นแล้วก็ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบการศึกษาของประเทศอย่างมากนัก 

พูดง่ายๆ เราไปอาศัยใบบุญโรงเรียนอื่น มันก็ไม่เหมือนเรากินข้าวที่บ้านตัวเองเนอะ ค่าครองชีพมันก็สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายจาก 20-30 บาท พอไปอีกโรงเรียนมันก็ขึ้นเป็น 50 60 บาท  

หลังจากสำรวจอาคารไม้สีแดงก่ำ รายล้อมไปด้วยต้ไม้เล็กใหญ่ วิภา อินทิแสง อดีตนักเรียนและครู ให้ข้อมูลกับสำนักข่าวทูเดย์ว่า ธอเคยศึกษาอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม เวลาลาต่อมานับสิบปี โรงเรียนก็มีปริมาณนักเรียนรวมถึงบุคลากรที่ลดน้อยลง คุณครูถูกโยกย้ายไปยังโรงเรียนขนาดใหญ่ในตัวอำเภอเมือง ทำให้โรงเรียนที่เธอเคยศึกษาอยู่นี้ ปัจจุบันเหลือครูผู้สอนอยู่เพียง 3 คน และจำนวนนักเรียนที่ไม่ได้ต่างกันมากนักเพียง 8 คน  

สิ่งนี้ทำให้ผู้ปกครองหลายคนในชุมชน ต้องย้าย้ลูกหลานไปเรียนยังโรงเรียนในตัวอำเภอ ที่ไกลจากบ้านมากขึ้น เพียงเพราะเห็นว่าโรงเรียนจะไม่สามารถดูแลบุตรหลานของตนได้ ในขณะเดียวกันผู้ปกครองก็ต้องรับมือกับภาระอันใหญ่หลวงที่เพิ่มมากขึ้น ผู้เขียนพูดว่าใหญ่หลวง เพราะไม่เพียงการเพิ่มค่าเดินทางและค่าอาหารกลางวัน ที่ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกในสถานการณ์ที่ค่าครองชีพสูงและค่าแรงที่ได้รับนั้นีน้อยนิดในชนบทนั้นก็เป็นภาระหนักอึ้งที่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอย่าง 

บ้าน วัด โรงเรียน หัวใจหลักยั่งยืนของการศึกษา 

โรงเรียนบ้านหนองบัวคู ต.นาดูน .มหาสารคามแห่งนี้ เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องถูกยุบ แต่ผู้บริหารโรงเรียนมีความพยายามที่จะยืนหยัดอยู่โดยไม่ต้องการให้ถูกยุบและควบรวมโรงเรียน แม้งบประมาณที่ได้มาจะลดน้อยลง แต่เพื่อความอยู่รอดจึงได้ปลูกข้าวในพื้นที่ว่างของโรงเรียน เพื่อนำผลผลิตมาเป็นอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนชั้นประถมราว 60 คน ขณะเดียวกันโรงเรียนแห่งนี้ก็ได้ใช้นวัตกรรมจิตศึกษา ที่จะบ่มเพาะนักเรียนให้เกิดปัญญาภายใน ให้เด็กคิดและวิเคราะห์เองได้ ซึ่งสอดคล้องกับ ห้องเรียนมีชีวิต ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงมากกว่าเรียนแบบท่องจำ นอกจากแปลงข้าวยังมี โรงเลี้ยงไก่ คอกหมู และโรงเลี้ยงกบ อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาก็เป็นข้อพิสูจน์ที่โรงเรียนบ้านหนองบัวคูยืนยันว่าจะไม่ยุบ ไม่ควบรวม และพยายามจะแสดงจุดยืนเป็นโรงเรียนขนาดเล็กให้ได้ โดยผนึกกำลังและยึดหลักแกนพัฒนาอย่าง “บวร” หรือ “บ้าน วัด โรงเรียน  

การเงิน พัสดุ คนเสิร์ฟน้ำ ภารโรง บางครั้งก็เป็นผู้บริหารเมื่อได้ลองถามเชิงติดตลกว่าครูโรงเรียนขนาดเล็กทำหน้าที่อะไรบ้างกับนายบุญเรือง ปินะสา ผอ.โรงเรียนบ้านหนงบัวคู พอได้ยินคำตอบถึงกับอดหัวเราะไม่ได้ แต่นั่นก็เป็นตลกร้ายและความเป็นจริงของโรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งทั่วประเทศ หลังจากการได้นั่งพูดคุยถึงปัญหา วิธีการรับมือกับนโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ผอ.บุญเรือง ยังยืนหยัดที่จะยังอยู่และเปิดสอนโรงเรียนแห่งนี้ถึงแม้ว่าจะมีนักเรียนเพียง 60 คน  

ผอ.บุญเรือง ได้กล่าวถึงสิ่งที่สำคัญในการพิสูจน์ว่า โรงเรียนขนาดเล็กจะสามารถตั้งอยู่ได้ คือการร่วมมือกันกับสามหน่วยงา บ้าน วัด โรงเรียน ที่จะต้องเป็น 3 เสาหลักในการอยู่ร่วมกันและพัฒนาไปพร้อมกันจะทำให้โรงเรียนไม่สั่นคลอน ถ้าหากโรงเรียนขนาดเล็กสามารถจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้ ก็จะแสดงให้เห็นว่าเขาสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องควบรวม ผอ.บุญเรือง ยังพูดถึงสิ่งสำคัญที่สุดคือ วัด ความศรัทธาของผู้เป็นพระคุณเจ้าที่มีผลต่อความคิด และความเชื่อของชาวบ้าน ซึ่งพระคุณเจ้าต้องทำหน้าที่นำทางความคิดในด้านพัฒนาโรงเรียน อีกทั้งยังต้องได้รับความร่วมมือกับผู้นำชุมชนหรือผู้ใหญ่บ้าน ส่วนทางโรงเรียนต้องแสดงให้เห็นในเชิงประจักษ์ ต้องทำให้เกิดความศรัทธาของชุมชนและวัด โดยการทำโรงเรียนให้มีความสัมพันธ์กับชุมชนนั้นสามารถที่จะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนต่อไป 

ทั้งนี้โรงเรียนบ้านหนองบัวคู ยังต้องได้รับการพึ่งพาจากชุมชนและวัดเพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนเพื่อหวังว่าจะพิสูจน์ว่าโรงเรียนแห่งนี้สามารถยืนหยัดด้วยลำแข้งของตน ถึงแม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐมากพอ ผอ.บุญเรือง ยังหวังว่าโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศจะได้รับงบประมาณและการดูแลให้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ และยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ 

ในเมื่อคุณเอาปุ๋ยไปใส่โรงเรียนที่มีคุณภาพเยอะๆ แต่โรงเรียนเล็กคุณเอามาใส่เม็ดสองเม็ดมันจะเติบโตได้อย่างไร  

ที่มา  สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน http://www.bopp.go.th 

ปัญหาโรงเรียนเล็ก ต้องมีทางเลือกที่มากกว่า ยุบ-ไม่ยุบ https://tdri.or.th/2020/01/small-school-the-inclusive-approach/ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า