SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมราชทัณฑ์โดยกองทัณฑปฏิบัติ กลุ่มงานสาธารณะ งานนอกเรือนจำ และบริหารการเงินผลพลอยได้จากการทำงาน จัดโครงการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้ต้องขังนอกเรือนจำ (เชิงทักษะความรู้) ด้านการบำรุงรักษาและตัดแต่งพันธุ์ไม้ สู่มาตรฐานการบริหารโทษและประโยชน์ผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพ (4 ก.ย. 2566) โดยมีนายณรงค์ จุ้ยเส่ย รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายปฏิบัติการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ พร้อมด้วยนายปราโมทย์ ทองศรี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทัณฑวิทยา ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภายนอก และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ ณ บริเวณลานริมแม่น้ำเจ้าพระยา กรมราชทัณฑ์

โครงการพัฒนาการทำงานผู้ต้องขัง ด้านการบำรุงรักษาและตัดแต่งพันธุ์ไม้นี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 8 กันยายน 2566 มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ และนักโทษเด็ดขาดที่มีความประพฤติดีตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ จากเรือนจำและทัณฑสถานจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เรือนจำพิเศษธนบุรี ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และเรือนจำจังหวัดนนทบุรี จำนวนแห่งละ 5 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน และนักโทษเด็ดขาดที่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการฯ จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน มีระยะเวลาในการจัดโครงการ 5 วัน เข้ารับการอบรม

ซึ่งได้รับความร่วมมือจากวิทยากรคือ ดร.พรเทพ เหมือนพงษ์ อาจารย์ประจำคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เป็นผู้บรรยายและถ่ายทอดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามหัวข้อต่างๆ เช่น ชีววิทยาของต้นไม้โดยสังเขป, หลักการดูแลและตัดแต่งไม้ใหญ่, การปีนต้นไม้, การยึดโยงลำเลียงกิ่ง, การกู้ภัยบนต้นไม้ การทำงานและความปลอดภัยบนที่สูง เป็นต้น เพื่อเป็นการขยายโอกาสด้านการทำงานของผู้ต้องขังด้านการบำรุงรักษาและตัดแต่งพันธุ์ไม้ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันชั้นนำของประเทศ ให้ทุกเรือนจำทั่วประเทศสามารถรับจ้างจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและอาคารชุดในภารกิจดังกล่าวได้ ทำให้กรมราชทัณฑ์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมน่าอยู่ ลดอันตรายจากกิ่งไม้หักกีดขวางการจราจรหรือสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน อีกทั้ง ยังเป็นการพัฒนาการทำงานของผู้ต้องขังให้รู้จักการทำความดีตอบแทนสังคม และยังเป็นอาชีพติดตัวที่สามารถหารายได้จุนเจือตนเองภายหลังพ้นโทษได้

ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์ ดร.วรวิช นาคแป้น อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และอาจารย์ ดร.สายศรัทธา นุ่มนวล หัวหน้าภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยามหิดล ร่วมสังเกตการณ์และให้คำแนะนำมาตรฐานด้านความปลอดภัยจากการทำงานผู้ต้องขังตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งโครงการพัฒนาศักยภาพการทำงานด้านการบำรุงและตัดแต่งพันธุ์ไม้ เป็นโครงการนำร่องที่จะขยายภารกิจไปยังเรือนจำทั่วประเทศ

      ภารกิจส่งเสริมการพัฒนาพฤตินิสัยผ่านการทำงาน นับเป็นหนึ่งในภารกิจที่มีความสำคัญของกรมราชทัณฑ์ การจัดโครงการ การอบรม การพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะตัว เพื่อขยายโอกาสให้ผู้ต้องขังที่ผ่านการอบรมสามารถประกอบวิชาชีพที่มีรายได้สูง พึ่งพาตนเองและเลี้ยงดูครอบครัวภายหลังพ้นโทษได้ โดยมีความคาดหวังว่า หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และนิติบุคคล ที่มีภารกิจในการตัดแต่งพันธุ์ไม้ จะให้การสนับสนุนแรงงานผู้ต้องขังเพื่อร่วมขับเคลื่อนสังคมปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า