SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 10 ตุลาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสุขภาพจิตโลก ที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยปีนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดหัวข้อ “Mental Health Anywhere : เพื่อนแท้…มีทุกที่” เพื่อรณรงค์ให้เกิดการตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิต และปัญหาการเจ็บป่วยทางจิต รวมไปถึงการส่งเสริม ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและสร้างช่องทางการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตให้ครอบคลุมทั่วโลกง

สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันมี ข้อมูลที่สะท้อนว่าคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตสูงขึ้นในทุกๆ ปี กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยคลินิกจิตเวชและยาเสพติด เผยว่า ในปี 2565 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาสุขภาพจิตแบบผู้ป่วยนอกจำนวน 22,481 ราย ส่วนใหญ่จากอาการ โรคจิต ซึมเศร้า วิตกกังวล ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์ นักจิตวิทยา มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้น การให้ความรู้ การส่งเสริม ป้องกันเกี่ยวกับการเข้ารับการดูแลรักษาสุขภาพจิตใจเป็นเรื่องที่สำคัญ จำเป็นต้องมีภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชน

‘ภาวะคอขวด’เมื่อทุกปัญหาทางใจไปอยู่ที่จิตแพทย์

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์การเจ็บป่วยทางสุขภาพจิตคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยในระบบเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากคนมีความรู้และเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจ และต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือทุกคนเข้าใจว่าจะต้องเข้าไปหาจิตแพทย์เป็นอันดับแรก ทำให้เกิดภาวะคอขวด จำนวนจิตแพทย์ไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยสัดส่วนจิตแพทย์ในไทยตอนนี้อยู่ที่จิตแพทย์ราว 1.25 คน ต่อประชากร 100,000 คน ต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด คือควรมีจิตแพทย์ 1.7 คน ต่อ ประชากร 100,000 คนเป็นอย่างต่ำ ซึ่งสถานการณ์จิตแพทย์ของไทยและอาเซียนใกล้เคียงกันมาก เพราะในอดีตการศึกษาเฉพาะทางด้วยจิตแพทย์ไทยเป็นสาขาที่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก แม้ปัจจุบันมีผู้สนใจเรียนมากขึ้น แต่ยอมรับว่ายังขาดแคลนอาจารย์ผู้สอนอยู่ดี

สิ่งที่จำเป็นต้องทำคือ ต้องสร้างความเข้าใจว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นถ้ายังไม่ถึงขั้นป่วยเป็นโรคทางจิตเวช อาจจะยังไม่ต้องไปพบจิตแพทย์ได้ แต่ว่าให้เป็นการไปเข้ารับการปรึกษาระดับอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น การปรึกษาอาสาสมัคร ปรึกษาคนใกล้ตัว ปรึกษาคนที่รับฟังเรา หรือถัดมาก็ขยับไปที่นักจิตวิทยาการปรึกษา นักจิตวิทยาคลินิก เพราะหากอาการเข้าขั้นจิตเวชก็จะมีการส่งต่อไปยังจิตแพทย์ ถ้าทำอย่างนี้ได้บุคลากรก็จะเพียงพอ อีกส่วนหนึ่งที่กรมสุขภาพจิตพยายามขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องคือ การส่งเสริม ป้องกัน ก่อนที่จะเกิดการเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต เช่น เครื่องมือประเมินสุขภาพใจเบื้องต้น MENTAL HEALTH CHECK IN เป็นต้น” ดร.นพ.วรตม์ กล่าว

ดร.นพ.วรตม์ กล่าวอีกว่า การรักษาสุขภาพจิตอยู่ในทุกสิทธิการรักษาของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น 30 บาท สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ แต่จิตแพทย์ไม่ได้มีประจำในทุกโรงพยาบาล การไปรักษาต้องมีใบส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด ทำให้คนเกิดความยุ่งยาก ทำให้บางคนเลือกที่จะไปหาจิตแพทย์เอกชนที่คิวน้อยกว่า ที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) ช่วยอุดช่องว่าง หมอวัยรุ่น-จิตแพทย์วัยรุ่น มีน้อย

นายชยุต พ่วงมหา เลขานุการโครงการเลิฟแคร์สเตชัน มูลนิธิแพธทูเฮลท์ กล่าวว่า สถานการณ์สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง เพราะต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว สังคม การเรียน และการที่เด็กและเยาวชนจะเข้าถึงบริการเพื่อดูแลเยียวยาจิตใจก็นับเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะการจะไปบอกพ่อแม่ ผู้ปกครอง บอกครู ว่าตอนนี้กำลังรู้สึกอย่างไร อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญในการก่อตั้งโครงการเลิฟแคร์สเตชัน ผ่านเว็บไซต์ www.Lovecarestation.com ขึ้นมา เป็นพื้นที่ให้คำปรึกษาออนไลน์ให้เด็กและเยาวชน โดยมีการให้ความรู้ มีพื้นที่แลกเปลี่ยน ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เด็กและเยาวชน เป็นบริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

“สำหรับการให้คำปรึกษาของเลิฟแคร์สเตชัน เราพร้อมรับฟังทุกเรื่องทุกปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาความรัก ความสัมพันธ์ เพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาท้องไม่พร้อม การถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน ความหลากหลายทางเพศ สุขภาพจิต ฯลฯ โดยมีจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญ ที่จะเป็นผู้ให้คำปรึกษา เป็นพื้นที่ให้พูดคุยได้อย่างสบายใจ เพราะจะไม่มีการขอข้อมูลส่วนตัว ชื่อ ในการปรึกษาเลย” นายชยุต กล่าว

อย่างไรก็ตาม หากท้ายที่สุดแล้วปัญหาที่เด็กเข้ามาปรึกษากับโครงการ ทางทีมพิจารณาแล้วลงความเห็นว่าควรได้รับการดูแลทางการแพทย์ ก็จะมีการสอบถามความยินยอมของเด็กเพื่อให้เกิดการส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการรักษาดูแลต่อไป และทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนได้ ผ่านการบริจาคกับมูลนิธิฯ ได้ที่ https://taejai.com/th/d/lovecarestation_ch/ โครงการ ช่วยชีวิตเด็กและเยาวชนไทยหลายล้านคนผ่านศูนย์ให้คำปรึกษาออนไลน์ Lovecarestation.com

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า