SHARE

คัดลอกแล้ว

ซ้ำแล้วซ้ำอีกที่เรามักจะเห็นข่าวบนสื่อต่างๆ ว่า “ผู้ปกครองลืมลูกน้อยไว้ในรถจนขาดอากาศหายใจ” ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ 22 มี.ค. 2566 แม่ที่ประกอบอาชีพขายไก่ย่างร้องไหแทบขาดใจ ลืมลูกชายวัยเพียง 3 ขวบ ไว้ในรถนานกว่า 2 ชั่วโมง รีบไปเปิดรถดูพบนอนสลบบนเบาะ สุดท้ายยื้อชีวิตไม่ได้ แม้แม่จะเคยสอนให้ลูกบีบแตรแล้ว แต่ก็ไม่ได้ช่วย นี่คือเหตุการณ์ล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นนับเป็นความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้แต่เลือกที่จะป้องกันได้

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล เปิดเผยสถิติที่เด็กถูกลืมไว้ในรถปี 1 จะมี 2-3 ราย จากข้อมูลเด็กเสียชีวิตอายุเด็กที่ถูกลืมไว้ในรถจะอยู่ในช่วง 2-5 ปี นอกจากนี้รถที่มีการลืมเด็กไว้ในรถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบรถยนต์ส่วนตัวกับแบบรถรับส่งนักเรียน และเด็กเสียชีวิตส่วนใหญ่พบว่าร่างกายไม่สามารถทนควาร้อนได้ เพราะโดยปกติแล้วรถที่อยู่กลางแจ้งจะมีอุณหภูมิเกิน 42 องศา ทำให้เด็กทนได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง โดยสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตนั้นเกิดจาก ความร้อนกระจุกในร่างกายสูงและยังไม่มีอากาศถ่ายเทความร้อน ส่งผลให้เซลล์เริ่มตาย เลือดเป็นกรด สมองบวม และปิดกั้นการทำงานของสมองมีผลทำให้เสียชีวิต ปกติมนุษย์จะกักเก็บความร้อนในร่างกายได้ 37 องศา เท่านั้น

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับ กรณีลืมเด็กไว้ในรถ ซึ่งมีข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี 2557-2563 เด็กถูกลืมถูกทิ้งอยู่ในรถตามลำพัง 129 เหตุการณ์ ในจำนวนนี้เสียชีวิต 6 ราย เพราะทนความร้อนในรถไม่ไหวส่วนสถิติด้านสถานที่เกิดเหตุที่พบเด็กเสียชีวิตนั้น พบว่าเกิดเหตุขึ้นในรถรับส่งนักเรียน 5 ราย และรถยนต์ส่วนบุคคล 1 ราย โดยกรณีเด็กทั้ง 6 รายนี้ เด็กถูกลืมทิ้งไว้นานกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป รวมกับกรณีของด.ญ. อายุ 7 ขวบ เสียชีวิตเมื่อปีที่แล้ว 30 ส.ค. 2565 และกรณีล่าสุดที่บุรีรัมย์ รวม 9 ปี เกิดเหตุเด็กติดอยู่ในรถ 131 เหตุการณ์

พ่อแม่ ผู้ปกครองควรศึกษาและเรียนรู้วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้บุตรหลานต้องตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงอันตราย หนึ่งในวิธีที่ดีและเรียนรู้ง่ายคือ โครงการขับขี่ศึกษา (Safe Education) ซึ่งเป็นวิธีป้องกันจาก สสส. ที่ได้รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้นี้ไว้

  1. สำหรับพ่อแม่-ผู้ปกครอง-คุณครู สอนให้เด็กรู้วิธีเอาตัวรอด เมื่อถูกลืมทิ้งไว้บนรถ เช่น บีบแตรเพื่อขอความช่วยเหลือ เปิดล็อครถ มีตัวช่วยติดตัวเด็กสำหรับติดต่อ-สื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน สมาร์ทวอทช์ ป้ายห้อยคอ บอกเบอร์โทรติดต่อฉุกเฉิน ซักซ้อม จำลองสถานการณ์จริง ให้เด็กลงมือทำ

2. สำหรับผู้ขับรถ ผู้ปกครอง ย้ำว่าต้องตรวจสอบก่อนลงจากรถทุกครั้ง นับจำนวนเด็กที่ขึ้น-ลงจากรถ ตรวจภายในอย่างละเอียดโดยเฉพาะรถตู้ ก่อนล็อกประตูรถ หลีกเลี่ยงการจอดรถตากแดด

  1. เมื่อเจอเด็กติดอยู่ในรถ หาทางช่วยเด็กโดยเร็ว (ประกาศตามหาเจ้าของรถ ตามคนมาช่วยเปิดประตู) หากเปิดรถไม่ได้ให้ทุบกระจก ปลดล็อครถยนต์จากด้านใน เตรียมเรียกคนที่ปฐมพยาบาล หรือโทร.1669, 191 เมื่อเปิดประตูได้แล้ว อุ้มเด็กออกมาให้อากาศถ่ายเท ยกเท้าขึ้นสูง ปลดเสื้อให้สบาย เช็ดหน้า-ตัว ตรวจเช็คชีพจร ถ้าไม่หายใจ ให้ทำ CPR ทันที

ด้าน รศ.นพ.อดิศักดิ์ แนะนำวิธีช่วยป้องกันไม่ให้ลืมเด็กจากในรถยนต์ส่วนตัวและรถรับส่งนักเรียน ซึ่งถ้าเป็นรถยนต์ส่วนตัว เราควรมีสติ ดูก่อนล็อกไม่ทิ้งเด็กไว้ในรถคนเดียว และฝึกทักษะให้เด็ก เช่น สอนให้เด็กรู้จักบีบแตร่ เปิดประตูให้เป็น ปลดล็อกให้เป็น ส่วนถ้าเป็นรถรับเด็กสาธารณะ ในรถต้องมีผู้ช่วยเสมอและนับจำนวนและเช็คชื่อเด็กขึ้น-ลงทุกครั้ง การสูญเสียในรอบ 9 ปีที่ผ่านมาจะเป็นบทเรียนสำคัญเพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองและสังคมไทยหันมาให้ความใส่ใจกับเด็กที่เป็นอนาคตของชาติมากยิ่งขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า