SHARE

คัดลอกแล้ว

อย่างที่เราทราบกันดีว่า โควิด-19 นั้นส่งผลกระทบกับโลกในหลายด้าน อีกทั้งยังเป็นปัจจัยและเป็นตัวเร่งสำคัญในการดึงเอาอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้ามาเป็นปัจจุบัน การเรียนรู้ยุคใหม่นั้นผู้เรียนต้องก้าวตามทันความเปลี่ยนแปลง ไม่เช่นนั้นแม้จะอยู่เฉยๆก็อาจจะกลายเป็นคนล้าหลังได้ วันนี้ Workpoint Today รวบรวมเอาคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาที่ฝากถึงวัยรุ่นยุคใหม่ ซึ่งถือว่าไม่ง่ายเลยในการเอาตัวรอด เพราะเป็นยุคแห่งการเข้ามาของเทคโนโลยี การแข่งขันที่สูงขึ้น และการปรับตัวอยู่เสมอ ดังที่ ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษเคยกล่าวไว้ว่า  “It is not the strongest of the species that survives, nor the most intelligent that survives. It is the one that is most adaptable to change.” “ไม่ใช่คนที่แข็งแรงที่สุดหรือคนที่ฉลาดที่อยู่ที่จะอยู่รอด แต่เป็นคนที่สามารถปรับตัวได้ดีที่สุดต่างหาก”

         

  • โควิด-19 กับความท้าทายใหม่ของผู้เรียน

อาจารย์  วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร นักเศรษฐศาสตร์การเมืองแห่ง National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) ประเทศญี่ปุ่น ได้กล่าวถึง “ทักษะแห่งอนาคต” ไว้อย่างน่าสนใจในประเด็น “โรคใหม่ – โลกใหม่ – การเรียนรู้ใหม่ : อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19″ ในการเสวนาออนไลน์ของ 101 Public forum ว่า ในอนาคตนั้นผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ที่รอบด้าน ในขณะเดียวกันความเห็นอกเห็นใจของผู้เรียนต่างสาขาอาชีพนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ

ในอนาคตทักษะการแบ่งงานกันทำจะน้อยลง

ในอดีตที่ผ่านมา การจ้างงานในตลาดมีลักษณะของการแบ่งงานกันทำ มีความชำนาญเฉพาะด้านเฉพาะทาง ซึ่งทิศทางในอนาคต อาจารย์ประเมินเอาไว้ว่า การจะประกอบอาชีพใดอาชีพหนึ่ง จำเป็นต้องรู้ให้ครบจบในตัว เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ ทักษะการแบ่งงานกันทำจะน้อยลงมาก เช่น การที่เด็กยุคใหม่บอกว่า “อยากเป็นแฟชั่นดีไซน์เนอร์” ในอดีตอาจจำเป็นแค่การเรียนดีไซน์ การเลือกผ้า แต่ปัจจุบันนี้ การเป็นแฟชั่นดีไซน์เนอร์จำเป็นต้องมีความรู้ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความรู้การออกแบบลายผ้า ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ความสามารถในการตัดเย็บ และการทำการตลาดออนไลน์ คือต้องมีความรู้ทั้งสายการผลิตและรู้อย่างถ่องแท้ด้วย

 

ทุกสาขาวิชาต้องมีความเชื่อมโยงกัน

ในขณะเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นและสะท้อนออกมาในช่วงโควิด คือ สังคมยังขาดความเห็นอกเห็นใจระหว่างกัน (Empathy)  การที่ผู้เรียนเข้าใจเฉพาะแต่เนื้อหาในความรู้ที่ตัวเองเรียน ทำให้เมื่อเกิดปัญหา การที่เราไม่เข้าใจวิธีคิดของศาสตร์อื่นๆที่ต่างออกไป อาจนำมาสู่ความขัดแย้ง เช่น คนที่เรียนมาสายวิทยาศาสตร์ไม่เข้าใจวิธีคิดของคนเรียนด้านสังคม ในขณะเดียวกันคนที่เรียนด้านสังคมก็ไม่มีความรู้ทางวิทยาศาตร์ด้วย ในอนาคตการเรียนด้านต่างๆจึงต้องมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน จึงจะทำให้ความเห็นอกเห็นใจระหว่างกัน (Empathy)  เกิดขึ้นได้และลดความขัดแย้งลง

 

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และทัศนคติแบบพลเมืองโลก

อีกหนึ่งท่านที่ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจคือ อาจารย์สฤณี อาชวานันทกุล ที่พูดถึงทักษะแห่งอนาคต คนรุ่นใหม่ต้องมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21 Century skill) และวิธีคิดของการเป็นพลเมืองโลก (Global Mindset) รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) และการฝึกฝนทักษะ (Reskill) ใหม่ๆอยู่เสมอ

สำหรับ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21  แบ่งออกเป็น 3 แกนหลักคือ

3.1 กลุ่มทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน (Foundational Literacies)  ในที่นี้รวมไปถึง ความสามารถใช้เทคโนโลยีให้เป็น รวมถึงวิชา Entrepreneurship หรือวิธีการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งกลายเป็นวิชาหลักที่ต่างประเทศ ได้บรรจุเป็นหลักสูตรของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาล โดยไม่สำคัญว่าเมื่อโตขึ้นจะต้องมีธุรกิจหรือไม่

3.2 ทักษะที่ต้องนำมาใช้ใน ‘การจัดการกับปัญหา’ ซึงประกอบไปด้วยหลัก 4 C คือ การสื่อสาร และการให้ความร่วมมือ (Communication and Collaboration) สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบได้ (Critical Thinking and Problem Solving) และมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ที่ไม่ได้ยึดรูปแบบเดิม

3.3 ทักษะที่ใช้ใน ‘การจัดการตัวเอง’ ให้เท่าทันกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทุกวันนี้

นอกจากนี้ยังต้องมีระบบความคิดแห่งการเป็นพลเมืองโลก มองโลกให้กว้างขึ้น เข้าใจหลักการสากล และเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเร็วมากในขณะนี้ทำให้ผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะใหม่ๆอยู่เสมอจึงจะตามทัน

  • ผู้สอนต้องเรียนรู้เร็ว มีทักษะการออกแบบการสอนให้ทันโลก

ไม่เฉพาะผู้เรียน แต่การเกิดขึ้นของโควิด-19 นั้นนำมาซึ่งความท้าทายของผู้สอนด้วย ซึ่งเมื่อการเรียนต้องถูกปรับให้เป็นแบบออนไลน์ ผู้สอนเองก็ต้องเร่งพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาอันสั้น ประกอบกับการออกแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียนด้วย โจทย์ของผู้สอนจะต้องทำอย่างไรให้เกิดการเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม (Active Learning) โดยผู้สอนต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนและคำนึงถึงการรับมือของนักเรียนแต่ล่ะช่วงวัย เช่น เด็กอนุบาล เด็กประถม จะสอนอย่างไรให้เด็กยังคงมีสมาธิในการเรียน ส่วนเด็กมัธยม และเด็กมหาลัยก็มีการออกแบบการเรียนการสอนที่ต่างกัน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้สอนในการเรียนแบบออนไลน์มักพบก็คือการไม่มีส่วนร่วมของนักเรียน การไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ดังนั้น โจทย์ใหม่ของผู้สอนคือ การศึกษาในโลกยุคใหม่นี้ จะปรับตัวอย่างไรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงโดยยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการสอนด้วย

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า