SHARE

คัดลอกแล้ว

หากลองค้นข่าวสารบนกูเกิลด้วยคำว่า “ข่าวกลโกง NFT” หรือ “NFT Scam” ผลการค้นหาอาจทำให้เราประหลาดใจ และเกิดความกังวลว่า การโกง NFT มันมีเยอะขนาดนี้เลยหรือ

ตอนนี้เทรนด์ NFT กำลังมาแรงในกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ ตัวผลงานมีราคาสูงหลักแสนหลักล้าน ​​Steve Aoki ดีเจชื่อดังยังเคยบอกเลยว่า รายได้จาก NFT ชุดเดียว ยังมากกว่ารายได้จากค่าลิขสิทธิ์เพลงสิบปีรวมกันเสียอีก

ยิ่ง NFT มีราคาแพง ก็ยิ่งดึงดูดเหล่ามิจฉาชีพให้คิดท่าใหม่ๆ มาโกงเราอยู่เสมอ

โดยกลโกงสองประเภทหลักๆ ที่เป็นปัญหาใหญ่ของ NFT ตอนนี้คือ การละเมิดลิขสิทธิ์ และการโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ 

ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างกรณีใหญ่ๆ ให้เห็นภาพกันมากขึ้นว่า มิจฉาชีพใช้วิธีไหน และการโกงมันสร้างผลกระทบต่อชุมชน NFT อย่างไร รวมถึงวิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้นสำหรับคนที่อยากเข้าวงการนี้ 

[ ละเมิดลิขสิทธิ์ NFT ฝันร้ายของศิลปิน ] 

NFT เป็นโอกาสสำคัญของศิลปิน โดยเฉพาะสายดิจิทัลอาร์ต ที่จะได้ขายผลงานตัวเอง สร้างรายได้ และมีชีวิตที่ดีขึ้นได้จากการสร้างผลงาน

แต่ในวงการ NFT ยังมีกลโกง โดยเฉพาะการขโมยผลงานที่ยังแพร่ระบาดอยู่มาก 

ซึ่งการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นมีหลายเหตุการณ์ TODAY Bizview ขอยกตัวอย่างมาบางเคส

1) Lois van Baarle หนึ่งในศิลปินแนวดิจิทัลอาร์ต ชาวเนเธอร์แลนด์ มีชื่อเสียงในวงการระดับหนึ่งด้วยยอดติดตามในโซเชียลหลักล้าน เธอมีเว็บไซต์ส่วนตัวรวบรวมผลงานวาดทั้งหมดไว้ที่ loish.net  

Lois van Baarle เผยว่าผลงานของเธอนับร้อยชิ้น ถูกนำไป mint และวางขายบน OpenSea แพลตฟอร์ม NFT 

สิ่งนี้สะท้อนช่องโหว่ใหญ่ NFT คือ ใครๆ ก็สามารถ mint หรือสร้างไฟล์ดิจิทัลเป็น NFT ได้ ไม่ว่าพวกเขาจะมีสิทธิ์ในไฟล์นั้นตั้งแต่แรกหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้น ในการ mint ผู้สร้างไม่ต้องเปิดเผยชื่อตัวเองก็ได้ 

2) อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ ศิลปินชื่อดัง Qing Han มีชื่อในวงการดิจิทัลอาร์ตว่า Qinni  เธอเสียชีวิตเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2020 ด้วยโรคมะเร็งทั้งที่มีอายุเพียง 29 ปี 

ประมาณ 1 ปีหลังเธอเสียชีวิต มีคนแอบอ้างเป็น Qinni ตัวจริง นำ “Bird Cage” ผลงานศิลปะที่ Qinni วาดสื่อถึงอาการป่วยของเธอไปขายเป็น NFT บนแพลตฟอร์ม Twinci 

ยังมีชิ้นงานอื่นๆ ของ Qinni ราว 5 ชิ้นถูกโพสต์ขาย NFT บางรายการมีราคาสูงถึง 500 TWIN (โทเคนของ Twinci) ซึ่งแปลงเป็นเงินประมาณ 400 ปอนด์ 

[ ตามหาคนผิดในวงการ NFT ไม่ใช่เรื่องง่าย ] 

การฟ้องร้องให้ชดใช้ยิ่งทำได้ยาก เพราะระบบบล็อกเชน เปิดให้มิจฉาชีพไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน ตามตัวไม่ได้ 

Tina Rivers Ryan ภัณฑารักษ์และผู้เชี่ยวชาญศิลปะดิจิทัลที่แกลเลอรี Albright-Knox ในนิวยอร์ก ให้ความเห็นว่า 

“การปลอมแปลงศิลปะบนบล็อคเชนนั้นง่ายกว่าในโลกศิลปะแบบดั้งเดิมมาก มันง่ายพอๆ กับการคลิกขวา และกดบันทึกเลยทีเดียว”

เมื่อกรณีละเมิดลิขสิทธิ์มีมากขึ้น DeviantArt ชุมชนออนไลน์สำหรับศิลปินดิจิทัล ก็เริ่มผันตัวมามอนิเตอร์ว่า มีผลงานของศิลปินชิ้นไหนถูกละเมิดนำไปวางขาย NFT โดยเริ่มมอนิเตอร์ตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 2021

ผลคือ DeviantArt เจอการละเมิดถึง 90,000 รายการ มีศิลปินที่ได้รับผลกระทบหลายพันราย 

โดย จำนวนการแจ้งเตือนไปยังศิบปินของ DeviantArt เพิ่มขึ้นสองเท่าตั้งแต่เดือน ต.ค.-พ.ย. ปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 300% นับจากเดือน พ.ย. ถึงกลางเดือน ธ.ค. 

ศิลปินไทยอย่าง ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดำ จัดแสดงผลงานของ ดร. ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ก็เคยถูกแอบอ้างและนำผลงานวาดไปลงขาย NFT ทั้งที่ตัวเองไม่ได้เข้าไปยุ่งกับ NFT มาก่อน 

[ แพลตฟอร์ม NFT ก็ทำอะไรไม่ได้มาก ]

แม้จะร้องเรียนไปยังแพลตฟอร์ม NFT มากมายแค่ไหน การนำเงินกลับคืนมาชดใช้ก็ไม่สามารถทำได้ในทันที  ทำได้เต็มที่ที่สุดคือขอให้แพลตฟอร์มลบบัญชีที่ขโมยงานไปขาย 

ส่วนหนึ่งคือการติดตามตัวตนผู้สร้างผลงานบนแพลตฟอร์มนั้นทำได้ยากเพราะมันเกิดขึ้นบนบล็อคเชน 

และอีกเหตุผลหนึ่งคือ ตัวแพลตฟอร์มเองก็ได้ประโยชน์จากการที่ผู้ใช้สร้างงาน NFT จากเปอร์เซนต์ส่วนแบ่งอยู่แล้ว 

Aja Trier ศิลปินจากเท็กซัส หนึ่งผู้ได้รับผลกระทบจากกลโกงนี้ วิจารณ์ OpenSea ว่า “ ในความรู้สึกของฉัน ดูเหมือนว่าพวกเขากำลังทำเงินจากสิ่งผิดกฎหมาย” 

เมื่อมีการร้องเรียนมากขึ้น OpenSea ก็ต้องออกมาพูดอะไรสักอย่าง 

ทางบริษัทบอกว่าจากการตรวจสอบชิ้นงาน มีการ take action หรือจัดการกับงานละเมิดลิขสิทธิ์ 3,500 ชิ้นในทุกสัปดาห์ ถือว่ายังเป็นสัดส่วนน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนชิ้นงานหลักล้านชิ้นบน OpenSea 

มีอีกเรื่องของ OpenSea ที่ต้องหยิบยกมาเป็นกรณีตัวอย่างคือการเปิดใช้งานฟีเจอร์  lazy minting ที่ผู้ใช้สร้าง NFT ได้ฟรี เพื่อให้คนที่อยากเข้าวงการ NFT เริ่มต้นได้ง่ายขึ้น 

ผลปรากฏว่า งานที่ถูกสร้างผ่าน lazy minting กว่า 80% เป็นงานศิลปะที่ถูกขโมย งานปลอม และเป็นสแปม แต่บริษัทก็ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะผู้ใช้งานมองว่า lazy minting เป็นฟีเจอร์สำคัญไปแล้ว 

ด้าน Cent แพลตฟอร์มประมูล NFT อีกราย ผู้ที่เคยประกาศขาย NFT ข้อความทวีตแรกของ Jack Dorsey ผู้ก่อตั้งทวิตเตอร์ ก็เจอแต่ปัญหาของก๊อปเต็มไปหมด จนต้องประกาศหยุดการทำธุรกรรมเกือบทั้งหมดชั่วคราว 

[ กลโกง NFT ด้วยการโจมตีไซเบอร์ ]

การโจมตีไซเบอร์โดยล็อกเป้าหมายไปที่การขโมยโทเคน NFT เรียกได้ว่าแทบจะเกิดขึ้นรายวัน 

โดยเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นคือ มีผู้ใช้งานถูกโจมตีด้วยอีเมล phishing หลอกผู้ใช้ว่าเป็นลิงค์จาก OpenSea 

จากอุบายหลอกให้คลิกนี้ นำไปสู่การขโมยผลงาน NFT กว่า 254 โทเคน โดยเป็นการขโมยจากผู้ใช้ 32 ราย รวมมูลค่าเป็นเงิน 1.7 ล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 54 ล้านบาท  

การโจมตีของแฮกเกอร์อาศัยจังหวะที่ OpenSea ทำการเปลี่ยน smart contract เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา 

เมื่อได้จังหวะ แฮกเกอร์จึงส่งอีเมลหลอกให้ผู้ใช้ย้าย NFT ของตัวเองไปยังที่อยู่บน smart contract ใหม่ 

อีกหนึ่งเคสที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปี คือแฮกเกอร์อาศัยช่องโหว่ OpenSea ทำการซื้อ NFT ในราคาที่ต่ำมากๆ (ราว 1,800 ดอลลาร์) 

จากนั้นก็เอาไปขายต่อในราคาถูกกว่าตลาดเล็กน้อย เมื่อซื้อมาขายไปหลายๆ ชิ้น ก็ทำให้แฮกเกอร์ฟันกำไรไปมากพอสมควร 

หรือเคสอื่นๆ อย่างเช่น สร้างเว็บไซต์ NFT ปลอมโดยเลียนแบบเว็บไซต์เจ้าดังที่มีในตลาด หรือสร้างแอคเคาต์โซเชียลมีเดียเลียนแบบขึ้นมาอีกทีแล้วหลอกขาย NFT วันต่อมาก็เชิดเงิน ปิดแพลตฟอร์ม หรือปิดเซิร์ฟเวอร์หนีไป ก็เป็นวิธียอดฮิตที่มิจฉาชีพเลือกใช้ 

[ ทางที่ดีคือ ป้องกันตัวเองไว้ก่อน ]

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียวส่วนเสี้ยวเล็กๆ ของวิธีโกง ซึ่งการที่เราจะโดนโกง NFT นั้นมีหลากหลายกว่านี้มาก และมันขึ้นได้ง่ายมาก คนที่เข้าวงการไปแล้ว หรือคนที่กำลังจะเข้าวงการ จำเป็นต้องป้องกันตัวเองขั้นสูงสุด 

  • เริ่มจากตรวจสอบเว็บไซต์ NFT นั้นๆ ว่าเปิดมานานเท่าไร ตัวโปรไฟล์ผู้สร้างงานเป็นใคร อย่างใน OpenSea จะมี blue tick หรือเครื่องหมายยืนยันว่าเป็นตัวจริง ไม่ใช่คนอื่นที่มาแอบอ้าง 
  • พยายามหาช่องทางโซเชียลของศิลปิน เพื่อยืนยันว่าเป็นตัวจริง 
  • หากมีข้อความส่งตรงมาหา โดยอ้างว่าเป็นผู้ก่อตั้ง คนดัง หรืออินฟลูเอนเซอร์ในวงการ NFT อย่าตอบกลับและอย่าคลิกเด็ดขาด
  • ไม่คลิกลิงค์แปลกปลอมตามโซเชียล อีเมล หรือชุมชน NFT เพราะนั่นอาจเป็นลิงค์สแปมที่พยายามเข้ามาขโมยข้อมูลบนวอลเลตได้ 
  • จดข้อมูลรหัสวอลเลตในกระดาษและห้ามให้ใครเด็ดขาด 
  • ห้ามจดรหัสลงมือถือหรือถ่ายรูปเก็บไว้ เพราะมือถือของเราอาจถูกขโมยได้

หนทางที่ปลอดภัยสำหรับคนที่อยากเข้าวงการ NFT ไม่ว่าจะเป็นฝั่งศิลปิน หรือฝั่งนักสะสมเก็งกำไร อาจต้องเริ่มจากการศึกษาด้วยตัวเอง ให้เวลาตัวเองในการค้นคว้า ตามข่าวสาร หรือทำความรู้จักกับคนที่อยู่ในวงการมาก่อนอย่างถี่ถ้วน ทำทุกอย่างให้แน่ใจจริงๆ ว่าเรารู้เท่าทันกลโกง และเตรียมรับมือมาอย่างดี น่าจะเป็นทางที่เซฟที่สุดที่จะเข้าวงการนี้ 

ชวนอ่านซีรีส์กลโกงในโลกคริปโตและ NFT 

ที่มา : The Guardian, Wired, Blognone 1 2 3, thawanduchaneefanpage, Coindesk

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า