SHARE

คัดลอกแล้ว

NIA จับมือพันธมิตรเปิดพื้นที่ให้เยาวชน และคนรุ่นใหม่ร่วมออกแบบอนาคตประเทศไทยผ่าน ‘โครงการ NIA Creative Contest 2021’ ด้วยการส่งคลิปวีดีโอเข้าประกวดภายใต้โจทย์ “อยากเห็นประเทศไทยในทศวรรษที่ 2030 เป็นอย่างไร?” เพื่อกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักถึงภาพอนาคตประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ก.ค.2564

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)  ร่วมกับ Urban Creature จัด ‘โครงการ NIA Creative Contest 2021’ จัดประกวดวีดีทัศน์ด้านมุมมองอนาคต ‘Images of Future: Future of the Next Gen’ ซึ่งจะเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็นและมุมมองของคนรุ่นใหม่และบุคคลทั่วไป เพื่อเปิดโอกาสให้ได้เข้ามาร่วมสร้างสรรค์ นำเสนอแนวคิดและมุมมองเกี่ยวกับอนาคตในรูปแบบวีดีทัศน์ ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและประเทศชาติ ภายใต้โจทย์ “อยากเห็นประเทศไทยในทศวรรษที่ 2030 เป็นอย่างไร?”

เพื่อกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งเป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับระบบสังคม การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์  ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เปิดเสวนาหัวข้อ “ภาพอนาคตประเทศไทยในมือคนรุ่นใหม่ที่มีแต่คำว่าเป็นไปได้” เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2564 โดยมี ศดานันท์  ล้อเพ็ญภพ เป็นตัวแทนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการบริหาร workpointTODAY, ณัฐนนท์​ ดวงสูงเนิน ผู้ก่อตั้ง Spaceth.co และชยนพ บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ เข้าร่วมด้วย

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเชิญชวนคนรุ่นใหม่ มาเป็นผู้กำหนดอนาคตที่มีแต่ความไม่แน่นอน ผ่านการวาดฝันจินตนาการใส่ภาพสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นในไทย พร้อมระบุว่า ‘เยาวชน คนรุ่นใหม่’ คือเมล็ดทรายเม็ดใหม่ที่จะใส่จินตนาการให้โลก “จินตนาการอย่างไร้ขีดจำกัดที่จะนำเสนอผ่านวีดิทัศน์ จะเป็นอีกหนึ่งเสียงสะท้อนมุมมองใหม่ๆ ไปยังนักนโยบายและนักพัฒนา เมื่อคนรุ่นใหม่คือเม็ดทรายแห่งคลื่นลูกใหม่ ก็จงใส่จินตนาการเข้าไป แล้วทุกคนจะกลายมาเป็นผู้สร้างอนาคตที่สะท้อนเสียงผ่านโครงการนี้” ดร.พันธุ์อาจ กล่าว

นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการบริหาร workpointTODAY กล่าวถึงคนรุ่นใหม่ที่เคยสัมผัสในวงการข่าวว่าเป็น “คลื่นลูกใหม่ ที่มีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป พร้อมที่จะเรียนรู้ มีความกล้าหาญ ในแบบที่คนรุ่นก่อนไม่กล้าทำ แต่ขณะเดียวกันก็เขาใจว่าสิ่งไหนทำได้ ทำไม่ได้” ในขณะที่ย้ำว่าในการทำงานข่าวแล้ว สำหรับคนรุ่นใหม่ๆ ต้องมี ‘แรงจูงใจ’ ในการทำงานที่สูงมาก ๆ เพื่อจะใช้เป็นพลังในการทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

“คนรุ่นนี้มีความกล้า อยากลองผิด ลองถูกและไม่มีลิมิตในการทำงาน หลายๆ คนมีความตั้งใจจริง ซึ่งเขาเข้ามาพร้อมกับแรงจูงใจที่เป็นพลังงานในการเอามาต่อสู้กับสิ่งที่จะมาตัดพลังและบั่นทอนกำลังใจในการทำงาน แต่เมื่อมี Willingness สูง เขาก็จะผ่านอุปสรรคเหล่านั้นไปได้”  นภพัฒน์จักษ์ กล่าว

ขณะที่ ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Spaceth.co เว็บไซต์ข่าวเกี่ยวอวกาศและดาราศาสตร์ที่เป็นฝีมือของคนรุ่นใหม่ ได้กล่าวถึงคนรุ่นใหม่ว่าเป็นช่วงสำหรับคนที่จะมีชีวิตไปอีก 20-30 ปี ในโลกยุคใหม่ ที่จะต้องใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่ได้กำหนดอนาคต

“คนแต่ละรุ่นมีโจทย์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการออกแบบสังคมและการออกแบบนโยบายต่างๆ ต้องออกแบบโดยคนที่จะอยู่บนโลกใบนี้ไปอีก 20 – 30 ปี” ณัฐนนท์ กล่าว

สอดคล้องกับ ชยนพ บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง จากภาพยนตร์วัยรุ่น ‘Suck Seed ห่วยขั้นเทพ’ กล่าวว่า คนรุ่นใหม่ คือกลุ่มคน ที่คาดเดาได้ยาก อีกทั้ง ยังกล่าว ถึงปัญหา ในวงการหนัง ที่มีผลกระทบ กับคนรุ่นใหม่ไฟแรง ที่อยากจะเข้าไปเปลี่ยนแปลง วงการหนัง โดยสะท้อนว่า โครงสร้าง สังคมรัฐบาล ไม่ได้สนับสนุน การทำหนึ่ง สำหรับคนรุ่นใหม่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศเกาหลี

“สิ่งที่ไร้กระบวนท่าหรือว่าสิ่งที่ไม่มีขีดจำกัดในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ มันจะทำให้งานสร้างสรรค์น่าสนใจ ถ้าถามว่าผมอยากเห็นอะไรจากโครงการ NIA Creative Contest 2021 ครั้งนี้ ผมก็อยากเห็นสิ่งที่ผมคาดเดาไม่ได้ ผมคิดว่าสิ่งที่ไม่มีหลักการและไม่ตายตัวนั้น มันระเบิดสมองดี” ชยนพ กล่าว

ด้านศดานันท์ ล้อเพ็ญภพ ตัวแทนจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เชื่อว่าทุก Element คือองค์ประกอบสำคัญในการสร้าง Innovation Ecosystem โดยโครงการนี้ได้เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมสร้างสรรค์และคาดการณ์อนาคตร่วมกัน หากไม่มีคลื่นลูกใหม่ ไม่มีเม็ดทรายใหม่เหล่านี้ Ecosystem นี้ก็อาจจะมีแนวคิดเดิมๆ อยู่

ซึ่งมองว่าจะเป็นโมเดลให้กับหน่วยงานรัฐอื่นๆ โดยสร้างพื้นที่ให้เยาวชนตั้งแต่อายุ 7-30 ปี ได้เข้าไปเรียนรู้เรื่องนวัตกรรม เพื่อให้เกิดกระบวนการคิด ในให้เกิดทัศนคติของความอยากสร้างนวัตกรรม

<iframe src=”https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FNIAThailand%2Fvideos%2F1874864539340544%2F&show_text=false&width=560&t=0″ width=”560″ height=”314″ style=”border:none;overflow:hidden” scrolling=”no” frameborder=”0″ allowfullscreen=”true” allow=”autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share” allowFullScreen=”true”></iframe>

สำหรับ โครงการ NIA Creative Contest 2021 ไม่เพียงแต่จะเป็นการเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสแสดงออกความสร้างสรรค์และการนำเสนอจินตนาการเท่านั้น แต่ยังเป็นการปูทางการสร้าง ‘นักอนาคตศาสตร์’ ซึ่งในปัจจุบันยังขาดแคลนกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีความรู้ในด้านดังกล่าวทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทำให้คนกลุ่มนี้กำลังเป็นที่ต้องการและทวีความสำคัญในหลายประเทศทั่วโลก

เนื่องจากนักอนาคตศาสตร์สามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ และความไม่แน่นอน เช่น เมือง สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การระบาดของโรค ฯลฯ เพื่อส่งต่อไปยังนักวางแผนและนโยบายในการหาแนวทางรับมือที่จำเป็น

คนรุ่นใหม่ โดยนิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถสมัครร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 31 ก.ค. 2564 เพื่อเข้าร่วมโครงการ Virtual Bootcamp ซึ่งเป็นกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ร่วมโครงการ โดยมีวิทยากร และที่ปรึกษา ผู้มากประสบการณ์ในการทำงานเบื้องหลังวงการสื่อสร้างสรรค์ มาร่วมให้ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และปีนี้ ทาง NIA มีรางวัลรวมกว่า 170,000 บาท ใน 6 ประเภทรางวัล ซึ่งผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลสูงสุดกว่า 60,000 บาท

  • สามารถสมัครร่วมโครงการ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ก.ค.2564 ที่ https://bit.ly/3cXfqBs
  • ติดตามรายละเอียดได้ที่ แฟนเพจเฟซบุ๊ก NIA : National Innovation Agency, Thailand

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า