SHARE

คัดลอกแล้ว

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA หน่วยงานที่ผลักดันสตาร์ทอัพทั้งสายเทคสตาร์ทอัพ และ Deep Tech และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างนักลงทุนและสตาร์ทอัพ ล่าสุด ผลักดันเมตาเวิร์ส สร้าง NIA Metaverse เป็นแซนด์บอกซ์ เพื่อรวมตัวสตาร์ทอัพสาย ARI Tech และรองรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

แต่เมตาเวิร์ส ยังเป็นแค่ไอเดีย เคสการใช้งานในเชิง commercial ยังน้อย และที่สำคัญ ยังมีเทคโนโลยีอีกหลายแขนงนอกเหนือจากเมตาเวิร์ส คำถามคือ ยังจำเป็นหรือไม่ ที่ไทยต้องเร่งสร้าง บ่มเพาะเมตาเวิร์สตอนนี้ 

TODAY Bizview พูดคุยกับ ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผอ. NIA ถึงเหตุผล ว่าทำไม ไทยต้องเร่งสร้างเมตาเวิร์ส

ดร. พันธุ์อาจ มองว่า เมตาเวิร์ส มีความเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี ARI Tech คือ A-Artificial Intelligence, R-Robotics, I-Immersive (เทคโนโลยีเสมือนจริง) ซึ่งเทรนด์โลกตอนนี้ มุ่งไปยังเมตาเวิร์ส Bloomberg ประเมินว่าเมตาเวิร์สจะโตถึง 8 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2024 ถ้าเราไม่เริ่มสร้างตั้งแต่ตอนนี้ เราก็จะตกขบวนเหมือนตอนที่ AI และนาโนเทคโนโลยีมาแรง แต่เราเร่งสร้างไม่ทัน 

อยากให้มองเมตาเวิร์สเป็นคล้ายๆ ซอฟต์พาวเวอร์ คือสามารถสร้างรายได้ และอาจช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมบันเทิง ท่องเที่ยวได้

ยกตัวอย่างเช่น โปรเจกต์ ลำ LIGHT ให้ FEEL ที่เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี Immersive ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขา ARI Tech มาผสมผสาน ใช้แสงสีมาเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยวโบราณสถาน เป็นเชิงมิวเซียมเทค ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดเมตาเวิร์สได้

แม้เมตาเวิร์สตอนนี้ จะยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็ต้องเร่งสร้างเพราะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ เพิ่มเครื่องจักรใหม่ให้ประเทศไทย ไม่ต้องพึ่งท่องเที่ยวและส่งออกยานยนต์เพียงอย่างเดียว

ภาพจากงาน SITE 2022 เทศกาลปล่อยของของสตาร์ทอัพ ที่จัดขึ้นในรูปแบบเมตาเวิร์ส

สำหรับแพลตฟอร์ม NIA Metaverse ดร. พันธุ์อาจ บอกว่า เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้เด็กไทย ที่สนใจเมตาเวิร์ส และสตาร์ทอัพสายนี้ เข้ามาสร้างโมเดล 3D ให้มีความสมจริงยิ่งขึ้น ตั้งแต่ตัวอวตาร ลูกเล่น ความคมชัดองค์ประกอบสถานที่ 

NIA Metaverse ยังเข้าใช้งานได้หลากหลายอุปกรณ์ ทั้งพีซี มือถือ แท็บเล็ต และเข้าใช้งานได้ทั้ง Web 2.0, 3.0 มีฟังก์ชั่นการสร้างมูลค่า NFT 

“การพัฒนาเมืองนวัตกรรมจักรวาลนฤมิตร ไม่ใช่ภาพที่ไกลตัวสำหรับประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ถือว่ามีความพร้อมทั้งในเชิงนโยบายสนับสนุนจากรัฐและเอกชน จำนวนผู้ใช้ ความหลากหลายของการจัดกิจกรรม โครงข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงกลุ่มนวัตกรที่มีความสามารถที่พร้อมจะร่วมขับเคลื่อนอย่างเต็มที่” ดร. พันธุ์อาจ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า