Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับบริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จํากัด เดินหน้าตอกย้ำภาพลักษณ์กรุงเทพมหานครสู่ฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์

โดยล่าสุดได้จัดงาน ‘SPACE-F batch 3 Accelerator Demo Day’ นำเสนอผลงานสตาร์ทอัพที่ผ่านการเร่งการเติบโตในรุ่นที่ 3 ภายใต้โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SPACE-F

ซึ่งมุ่งสนับสนุนนวัตกรรมอาหารใน 9 เทรนด์หลัก อาทิ การผลิตโปรตีนทางเลือก การพัฒนาบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต การคิดค้นส่วนผสมและสูตรอาหารใหม่

นอกจากนี้ ยังเผยธุรกิจดีพเทคด้านอาหารและเกษตรยังเติบโตต่อเนื่อง สวนกระแสธุรกิจแพลตฟอร์มด้านดิจิทัลที่มีการหดตัวสูงถึงร้อยละ 60 และจากการที่ประเทศไทยมีบริษัทและกลุ่มธุรกิจด้านอาหารที่ที่เข้มแข็ง ทำให้ตลาดระดับโลกที่สนใจเข้ามาลงทุนในกลุ่มฟู้ดเทคสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วยลดปัญหาต้นทุนด้านอาหารที่ยังคงมีความผันผวน

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA ยังคงเดินหน้าผลักดันสตาร์ทอัพด้านอาหาร โดยได้ดำเนินโครงการ SPACE-F ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับจุดเด่นของประเทศไทยในฐานะการเป็น “ครัวโลก” ซึ่งเป็นการนำนวัตกรรมมาช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโต และช่วยผลักดันสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมอาหารให้มีคุณภาพ และมีความหลากหลาย

โดยจะเน้นการพัฒนานวัตกรรมอาหารโลกใน 9 เทรนด์หลัก ได้แก่ การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ การผลิตโปรตีนทางเลือก กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต การคิดค้นส่วนผสมและสูตรอาหารใหม่ การพัฒนาวัสดุชีวภาพและสารเคมี เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร  และบริการอัจฉริยะด้านอาหาร

ทั้งนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าว NIA จะมีบทบาทเป็น “Focal Facilitator” หรือผู้เชื่อมโยงเครือข่ายในการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ โดยโครงการนี้ถือเป็นการร่วมมือกันของพันธมิตรทั้งจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ทำให้โครงการนี้มีจุดแข็งสามารถดึงดูดสตาร์ทอัพต่างชาติมาร่วมโครงการได้

อย่างไรก็ตาม SPACE-F จะไม่ได้เน้นเพียงสตาร์ทอัพประเภทแพลตฟอร์ม เช่น ฟู้ดเดลิเวอรี่ แต่ยังเน้นด้านเทคโนโลยีเชิงลึกหรือ DeepTech เป็นสำคัญ เพื่อมุ่งต่อยอดงานวิจัยให้ใช้ประโยชน์ได้จริง และเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้แก่ประเทศ

สำหรับปีนี้มีสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการ 16 ราย แบ่งเป็นโปรแกรมเร่งการเติบโต หรือ Accelerator 8 ราย ได้แก่ EnerGaia –โปรตีนทางเลือกเพื่อสุขภาพจากสไปรูลิน่า POTENT – สารสกัดจากเห็ดป่าสำหรับปรุงเครื่องดื่ม WeavAir – การเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีเซนเซอร์และ IoT เพื่อควบคุมการเน่าเสียของอาหาร Nabsolute – ไบโอโพลีเมอร์ดัดแปลงในระดับนาโน Jamulogy – เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพสไตล์อินโดนีเซีย More Meat – โปรตีนจากพืชทำจากเห็ดแครงและโปรตีนถั่วเหลือง eniferBio – โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นจากผลพลอยได้ในกระบวนการผลิต Mi Terro – บรรจุภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรย่อยสลายได้

และโปรแกรมบ่มเพาะ หรือ Incubator 8 ราย

และ 2 ปีที่ผ่านมามีสตาร์ทอัพจบจากโครงการแล้ว 33 ราย มีสตาร์ทอัพที่ได้รับทุนจาก NIA ได้รับการลงทุนจากไทยยูเนี่ยน และที่อื่น ๆ รวมถึงได้รับโอกาสในการต่อยอดการทำธุรกิจอีกมากมาย นั่นแปลว่าเราได้เพิ่มโอกาสและศักยภาพให้สตาร์ทอัพในระบบนิเวศเพิ่มขึ้นถึง 49 ราย

“หากมองดูภาพรวมด้านการลงทุนของสตาร์ทอัพทั่วโลก จะพบว่าธุรกิจที่เป็นดีพเทคด้านอาหารและเกษตรยังเติบโตต่อเนื่อง สวนกระแสธุรกิจแพลตฟอร์ม-ด้านดิจิทัลที่มีการหดตัวสูงถึงร้อยละ 60 ซึ่งประเทศไทยมีบริษัทและกลุ่มธุรกิจด้านอาหารที่มีห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง

นอกจากนี้ ยังมีตลาดระดับโลกที่สนใจเข้ามาลงทุนในกลุ่มฟู้ดเทคสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การมีสมาร์ทวีซ่าจะช่วยดึงบริษัทด้านอาหารมาเป็นนักลงทุนและทำให้การเชื่อมโยงการลงทุนในระดับนานาชาติคึกคักมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้บริษัทขนาดใหญ่อยากจะลงทุนด้านอาหารในประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายของ SPACE-F ที่ต้องการทำให้กรุงเทพเป็นฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์ (FoodTech Silicon Valley)”

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาราคาน้ำมันพลังงานโลก และภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ห่วงโซ่อุปทานด้านอาหารของทั่วโลกได้รับผลกระทบหนัก ขณะที่ประเทศไทยวัตถุดิบด้านการเกษตร อาหารที่มีความจำเป็นต่อการบริโภคต่างก็ปรับราคาสูงขึ้น

ปัจจัยดังกล่าวส่งเสริมให้ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพที่ทำเรื่องของแพลนต์เบสมีท หรือวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต โดยเฉพาะการทำฟาร์มในเมืองมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นในปี 2022-2023 เพราะสามารถตอบโจทย์เรื่องวิถีชีวิตภายในเมืองหรือสภาวะทางเศรษฐกิจที่ผันผวนได้

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญปัญหาด้านต้นทุนอาหารและการขนส่งราคาสูง ผลผลิตออกไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงการทำต้องอาศัยโลจิสติกส์และพลังงานที่หลากหลาย ดังนั้นหากสตาร์ทอัพในเมืองสามารถปลูกหรือผลิตอาหารในเมือง หรือพัฒนาโปรตีนที่มาจากโปรตีนทางเลือกได้ โอกาสการขยายตลาดจะมีมากขึ้นเพราะสามารถตอบคำถามด้านการเปลี่ยนแปลงของเมือง รวมถึงการลดโอกาสด้านขาดแคลนวัตถุดิบ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า