SHARE

คัดลอกแล้ว

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ผนึกกำลังทรู ดิจิทัล พาร์ค เผยรายงานการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น ประเทศไทย ประจำปี 2564 หวังเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาและส่งเสริมสตาร์ทอัพในประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน พร้อมก้าวสู่การแข่งขันบนเวทีโลกอย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบนิเวศสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจมากขึ้น

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า NIA เดินหน้าผลักดันวิสาหกิจเริ่มต้นหรือสตาร์ทอัพไทยมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กรอบของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee: NSC) ที่ประกอบไปด้วย 4 เรื่อง คือ

การสร้างความตระหนักรู้ (BUILD UP AWARENESS) ให้หลายภาคส่วนรู้จักสตาร์ทอัพไทยอย่างลึกซึ้ง เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ผ่านการจัดงาน Startup Thailand เป็นประจำทุกปี และทำ One Stop Service portal สำหรับทุกเรื่องของสตาร์ทอัพ การปรับแก้กฎระเบียบให้ทันต่อโลกอนาคต (EASE OF DOING BUSINESS) ลดสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพ ซึ่งตอนนี้กำลังพัฒนาร่างพระราชบัญญัติสตาร์ทอัพ การพัฒนาระบบนิเวศให้เข้มแข็ง (STRENGTHEN ECOSYSTEM) ค้นหาแนวทางและทิศทางที่สตาร์ทอัพไทยและผู้เกี่ยวข้องควรทำ เพื่อให้เดินหน้าได้อย่างยั่งยืน เช่น โครงการ Startup Thailand League 2020 เทรนนิ่งออนไลน์สำหรับพัฒนายูนิคอร์น และร่วมมือกับองค์กรขนาดใหญ่เพื่อทำโครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยในระดับนานาชาติ ในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ เทคโนโลยีอวกาศ เป็นต้น รวมถึงการลงทุนและสนับสนุนจากภาครัฐ (INCENTIVES & SUPPORTS) ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบการให้สินเชื่อ ทุนส่วนหนึ่ง หรือแม้แต่ทุนให้เปล่า

“การจัดทำ White Paper หรือรายงานการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นประจำปี 2564 เป็นฉบับที่ 4 ที่จัดทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557 เกิดขึ้นจากการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่การสร้างนักรบใหม่ทางเศรษฐกิจ พร้อมผลักดันประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม และพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในเร็ววัน นอกจากนี้ NIA ยังเปิดโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรม การสนับสนุนงานวิจัย การอบรมพัฒนาด้านทักษะหลากหลายด้าน รวมถึงการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้สตาร์ทอัพไทยอย่างยั่งยืน”

ด้านดร.ธาริต นิมมานวุฒิพงษ์ ผู้จัดการทั่วไป ทรู ดิจิทัล พาร์ค นำเสนอภาพรวมของรายงานการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย ประจำปี 2564 ว่า นับเป็นครั้งแรกในประเทศที่มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสตาร์ทอัพไทยอย่างละเอียด ซึ่งภายในเล่มประกอบด้วยข้อมูลที่รวบรวมจากการพูดคุยกับสตาร์ทอัพทั่วประเทศ การทำประชาพิจารณ์กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ กลุ่มสตาร์ทอัพไทยและต่างชาติ นักลงทุน ภาคการศึกษา ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 425 คน และรายละเอียดโครงการของภาครัฐ โดยเฉพาะในความรับผิดชอบของ NIA ที่เป็นประโยชน์ต่อสตาร์ทอัพไทย

โดยใจความสำคัญของรายงานระบุว่า อุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพไทยแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่

  1. ความพร้อมของกำลังคน (Manpower Readiness)

โดยผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี แต่ขาดทักษะในการบริหารจัดการองค์กร จำนวนแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ โดยนักศึกษาจบใหม่ด้าน STEM มีน้อยกว่า 30% และสตาร์ทอัพไม่มีเงินทุนมากพอที่จะแข่งขันกับองค์กรขนาดใหญ่ในการจ้างคน จึงได้มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลสร้างแพลตฟอร์มกลางเพื่อเข้าถึง Tech Talent รุ่นใหม่ จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมแรงงานทักษะฝีมือด้านเทคโนโลยี และสนับสนุนค่าจ้างพนักงานบางส่วนเพื่อช่วยแบ่งเบาต้นทุนของสตาร์ทอัพ

  1. แหล่งเงินทุน (Source of Funding)

สตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้น (Early stage) เข้าถึงสินเชื่อได้ยาก นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจลงทุนในบางธุรกิจเท่านั้น ทำให้บางธุรกิจไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน อีกทั้งสตาร์ทอัพยังไม่มีแผนการเงินและแผนการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน โดยเฉพาะการประเมินมูลค่าบริษัทในระยะยาว ภาครัฐควรสร้างมาตรฐานคู่มือการระดมทุนสำหรับสตาร์ทอัพ และสนับสนุนให้ สตาร์ทอัพเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของธนาคารพาณิชย์ได้

  1. การหากลุ่มลูกค้าและขยายธุรกิจ (Growth & Scalability)

สตาร์ทอัพส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ในการติดต่อกับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ ขาดการวางแผนทางการเงิน และขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับการตลาดและการทำธุรกิจในต่างประเทศ ควรจัดให้มีกิจกรรม Matching สร้างเครือข่ายทางธุรกิจในระดับต่าง ๆ พร้อมผลักดันสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่ระบบการค้นหาในตลาดโลกผ่าน Global Directory

  1. การสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Support from Government & Partners)

ทุนสนับสนุนจากภาครัฐยังไม่ครอบคลุมทุกสาขาอุตสากรรม รวมทั้งคุณสมบัติในการรับทุน การจัดซื้อจัดจ้าง และระบบราชการไทยยังไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจยุคใหม่ ดังนั้นควรบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ลดการทำงานซ้ำซ้อน ลดความล่าช้าในการทำงาน และก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดยอาศัยการเข้าถึงบริการจากภาครัฐด้วยเทคโนโลยี (Gov Tech) เป็นตัวเชื่อมโยงและอำนวยความสะดวกในการทำงานแทนที่การติดต่อและเข้าถึงภาครัฐแบบเดิม ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีพลเมือง (Civic Tech) นำเทคโนโลยีมาเชื่อมความสัมพันธ์กับภาครัฐ ให้พลเมืองมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนโยบายของรัฐบาลหรือปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ให้เข้าถึงผลประโยชน์ของประชาชนได้ เพื่อ

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงานการพัฒนาระบบนิเวศน์วิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทยประจำปี 2564 ได้ที่ www.startupthailand.org ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า