SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ว่าฯราชบุรี สั่งบิ๊กคลีนนิ่ง-เติมคลอลีนเข้มข้นในน้ำประปาทั้งจังหวัด หลังพบเด็กนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งทยอยป่วยกว่า 500 คน แพทย์ระบุเกิดจากเชื้อท้องเสียโนโรไวรัส

วันที่ 6 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดเหตุการณ์เด็กนักเรียน ใน จ.ราชบุรี ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 517 คน ล้มป่วยด้วยอาการอาหารเป็นพิษ เริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม จนถึงวันที่ 5 กันยายน ส่วนใหญ่อาเจียน ปวดท้อง บางคนมีไข้ ถ่ายเหลว โดยผลตรวจอุจจาระเด็กป่วยของทีมสอบสวนควบคุมโรค (JIT) โรงพยาบาลราชบุรี พบว่า เกิดจากเชื้อโนโรไวรัส

ผู้ว่าฯราชบุรี เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำแผนป้องกันเชื้อโนโรไวรัส

นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำแผนปฏิบัติ เพื่อยับยั้งและป้องกันโรคที่มาจากเชื้อโนโรไวรัส ดังนี้

1. จัดจิตอาสาจำนวน 150 คน ทำความสะอาดใหญ่ในโรงเรียนอนุบาลที่เกิดเหตุ

2. ให้ท้องถิ่นประสานทุกองค์การปกครองท้องถิ่น (อปท.) ทั้ง 10 อำเภอทำความสะอาดใหญ่สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็กทุกแห่ง

3. ประสานการประปาส่วนภูมิภาค ประปาตำบล หมู่บ้านและเทศบาลทุกแห่ง ร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดเพิ่มคลอลีนในระบบน้ำประปา

4. ให้โรงเรียน สถานที่ราชการ และสถานที่ที่มีประชาชนรวมตัวเป็นจำนวนมากทุกแห่งทำความสะอาดใหญ่ในช่วงวันหยุด

5. ให้สาธารณสุขจังหวัด เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคโนโรไวรัส

ไกรเสริม โตทับเที่ยง – กุลวดี นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ เยี่ยมอาการป่วยเด็ก

ขณะที่ นายไกรเสริม โตทับเที่ยง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำคณะเข้าเยี่ยมอาการเด็กนักเรียนที่ยังพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เปิดเผยว่า จากการสอบถามแพทย์แล้วเป็นโรคที่ไม่ซับซ้อน สามารถเกิดได้หมู่เด็กๆ ที่อยู่รวมกัน ช่วงอากาศชื้นเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ง่าย ได้กำชับโรงเรียนให้นำมาตรการควบคุมเบื้องต้นมาใช้ เช่น รณรงค์เรื่องกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อลดโรคติดต่อ โดยให้ปิดเรียน 1 วันก่อน วันเดินพาเหรดกีฬาสีชั้นอนุบาล เพื่อทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องเรียน โรงอาหารด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อคลอรีนเข้มข้น 5,000 ppm. (0.5 % sodium hypochlorite) พร้อมเฝ้าระวังจนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยอย่างน้อย 4 วันต่อเนื่อง หรือ 2 เท่าของระยะฟักตัว ส่วนนักเรียนที่ป่วยให้หยุดเรียนอย่างน้อย 2 วันและจนกว่าจะหาย

สำหรับ โรคจากเชื้อโนโรไวรัส อาการของโรคที่พบได้บ่อยคือ อาเจียน อาจพบได้มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วย ส่วนอาการอื่น เช่น ถ่ายเหลว (ไม่มีเลือดปน) ปวดท้อง ไข้ ระยะฟักตัวของโรค 10 – 50 ชั่วโมง ผู้ป่วยได้รับเชื้อผ่านทางอาหารและน้ำ หรือ สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อ ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต เชื้อสามารถอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยและปนเปื้อนอยู่ในอุจจาระได้นานกว่า 2-3 สัปดาห์ แม้ว่า ผู้ป่วยจะไม่มีอาการถ่ายเหลวแล้วก็ตาม โนโรเป็นเชื้อไวรัส ชนิดไม่มีเปลือกทำให้ทำลายเชื้อได้ยากกว่าปกติ การทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมสามารถทำได้โดยใช้คลอรีนเข้มข้น 5,000 ppm. (0.5 % sodium hypochlorite)

ทั้งนี้ในจังหวัดราชบุรี เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 มีการระบาดของเชื้อโนโรไวรัสในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง อ.บ้านโป่ง ทำให้มีผู้ป่วยจำนวน 100 คนมาแล้ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า