Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไขข้องข้องใจประเด็นร้อน ‘ขับรถชนคนตาย บวชได้หรือไม่’ หลัง ส.ต.ต.นรวิชญ์ บวชหลังจากขี่บิ๊กไบค์ชนหมอกระต่ายเสียชีวิต

วันที่ 25 ม.ค. 2565 หลังจาก ส.ต.ต.นรวิชญ์ บัวดก ผบ.หมู่ กองร้อยที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ขี่บิ๊กไบค์ชน พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือหมอกระต่าย จักษุแพทย์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะกำลังเดินข้ามทางม้าลาย จนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา

ต่อมาวันที่ 24 ม.ค. ส.ต.ต.นรวิชญ์ และพ่อได้บวชอุทิศส่วนกุศลให้กับหมอกระต่าย ที่วัดปริวาสราชสงคราม ถนนพระราม 3 ทำให้มีคำถามตามมาว่ากรณีเช่นนี้สามารถบวชได้หรือไม่ 

• ผบก.อคฝ. ยัน ‘บวชได้เพราะไม่ใช่นักโทษหนีหมายจับ’

พล.ต.ต.นครินทร์ สุคนธวิทย์ ผู้บังคับการตำรวจกองบังการอารักขาและควบคุมฝูงชน และเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังการอารักขาและควบคุมฝูงชน ซึ่งเป็นต้นสังกัดของส.ต.ต.นรวิชญ์

ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนขณะที่ไปร่วมงานสวดอภิธรรมศพของหมอกระต่าย เมื่อวานนี้ (24 ม.ค.) ว่าการบวชในขณะที่มีคดีความสามารถทำได้ เพราะไม่ใช่คดีเกี่ยวกับการ ฆ่าบุพการี และนักโทษหนีหมายจับ แต่กรณีนี้เป็นการกระทำโดยประมาท

และยังบอกอีกว่า ส.ต.ต. นรวิชญ์ ได้ยื่นเอกสารขอลาบวชเพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับผู้เสียชีวิต และยังไม่ทราบกำหนดสึก 

• หลวงพี่น้ำฝน เผย เป็นการ ‘บวชอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้เสียชีวิต’

ขณะที่หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม นครปฐม ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ในรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ว่า กรณีแบบนี้มีเยอะ มีคนไปขับรถชนคนตายแล้วเกิดจิตตกจึงอยากบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้เสียชีวิต ส่วนเรื่องคดีก็ว่ากันไปตามคดี 

หลวงพี่น้ำฝน บอกว่า กรณีนี้เห็นว่ามีการขอผู้บังคับบัญชาเพื่อไปบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิต แต่จะบวชกี่วันก็แล้วแต่ตัวผู้บวชเอง 

ส่วนกรณีที่สังคมตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะเป็นการบวชเพื่อสร้างเงื่อนไขทางกฎหมายเพื่อขอบรรเทาโทษหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบว่าจะมีแบบนี้หรือไม่ แต่ที่ผ่านมาตนเจอบ่อยกับเหตุการณ์ที่ขับรถชนคนตายแล้วจิตตกจึงมาขอบวช และกฎมหาเถรสมาคม ไม่ได้ห้ามเพราะไม่ได้หนีคดี แต่ถ้าเป็นคดีฆ่าคนตายไม่สามารถบวชให้ได้ ส่วนการดำเนินคดี หากจะมีการเรียกมาสอบสวนเพิ่มเติม สามารถเรียกมาสอบทั้งผ้าเหลืองได้ 

สำหรับขั้นตอนการออกบวชนั้น ต้องขออนุญาตสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ จากนั้นต้องตรวจสอบประวัติอาชญากรรม กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และต้องตรวจโควิด-19

• วิษณุ ระบุ ‘บวชได้แต่อย่าหนีคดี’ 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามสื่อมวลชนที่ทำเนียบรัฐบาล ที่ถามว่าตอนนี้สังคมกำลังเกิดข้อสงสัยกรณีที่นายตำรวจที่ชนแล้วไปบวชจะสามารถบวชได้หรือไม่ เพราะเพิ่งจะทำความผิด นายวิษณุกล่าวว่า บวชได้ เมื่อถึงเวลาค่อยสึกมา

เมื่อถามย้ำว่าไม่ใช่ลักษณะของการบวชเพื่อหนีความผิดใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า จำไม่ได้หรือกรณีมีพิธีกรผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์มีเรื่องและไปบวช ไม่จำเป็นต้องให้คดีจบก่อน เพราะบวชไม่กี่วัน ไม่เป็นไร อย่าหนีก็แล้วกัน

แม้ว่าไม่มีกำหนดสึกก็ต้องสึกอยู่ดี เขาสามารถจับสึกเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าคดีมันชัดเจนสามารถจับสึกได้เลย แต่ว่าอย่าหนีก็แล้วกัน และความจริงบวชยิ่งหนียาก เพราะว่าที่อยู่ชัดเจน ส่วนการให้การในชั้นศาลสามารถทำได้ แม้อยู่ในสมณเพศ

• นักวิชาการศาสนา โพสต์ ‘บวชได้บวชไม่ได้รู้อยู่แก่ใจ’ 

นายจตุรงค์ จงอาษา นักวิชาการอิสระด้านพระพุทธศาสนา ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีดังกล่าวว่า #อุปัชฌาย์ดีศรีพระศาสนา??

บวชได้บวชไม่ได้รู้อยู่แก่ใจ พรรษาไม่ใช่น้อยๆ ข่าวก็ครึกโครม

1.ข้าราชการจะบวชต้องมีกำหนดชัด ไม่ใช่บวชไม่สึก แบบนี้เรียกว่าละทิ้งหน้าที่ราชการ

2.ข้าราชการจะบวชต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัด ว่าไม่ได้หนีราชการมาบวช

3.หากเป็นผู้ต้องหาที่คดีไม่เป็นที่สิ้นสุด ต้องมีกำหนดให้ชัดเจนว่าจะสึกเมื่อไร ไปขึ้นศาลจะไปในผ้าเหลืองก็ได้ แต่เมื่อคดีสิ้นสุด ศาลลงอาญาก็ต้องสึก

4.แบบนี้เข้าเกณฑ์มหาเถรสมาคม ข้อ1-2-3 พระสังฆาธิการที่บวชให้ควรรับการลงโทษตามจริยาพระสังฆาธิการ

สุดท้ายนี้ คงต้องรอดู เจ้าคณะปกครอง ทั้งเจ้าคณะกทม. เจ้าคณะภาคหนึ่ง และที่ขาดเสียไม่ได้ เจ้าประคุณสมเด็จเจ้าคณะใหญ่หนกลาง ที่จะแก้ไขเรื่องนี้ให้ถูกต้อง หรือจะนิ่งเงียบตีมึนกันไปวันๆ

• เปิดกฎมหาเถรสมาคมชี้ชัด ‘บวชไม่ได้’

นายสิปบวรณ์ แก้วงาม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวถึงประเด็นนี้กับ workpointTODAY ระบุว่า ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉ.17 (2536) หมวดที่ 3 ข้อ 14 (3) เป็นหลักที่ชัดเจนว่าไม่สามารถบวชได้ 

ทั้งนี้เนื้อหาของ กฎมหาเถรสมาคม ฉ.17 (2536) หมวดที่ 3 หน้าที่พระอุปัชฌาย์ 

ข้อ 14 พระอุปัชฌาย์ต้องงดเว้นการให้บรรพชาอุปสมบทแก่คนต้องห้ามเหล่านี้ 

(3) คนต้องหาในคดีอาญา 

นายสิปบวรณ์ กล่าวต่ออีกว่ากรณีนี้มีการขับรถชนคนตาย หากพระอุปัชฌาย์ รู้อยู่แล้วและยังบวชให้ เป็นอำนาจเจ้าคณะผู้ปกครองที่จะว่ากล่าวตักเตือนหรือกำหนดโทษ 

แต่หากคนที่มาบวช ต้องคดีอาญาแต่พระอุปัชฌาย์ไม่ทราบมาก่อน แล้วมาทราบภายหลัง ก็จะให้พระรูปนั้นลาสิกขา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า