SHARE

คัดลอกแล้ว

ปภ.รายงานอิทธิพล ‘พายุโนรู’ ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด และยังคงมีน้ำท่วม และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 8 จังหวัด ประสานพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานผลกระทบพายุโซนร้อนกำลังแรง “โนรู (NORU)” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางใต้เล็กน้อย เคลื่อนผ่านสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้ตอนกลาง พายุเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน เคลื่อนเข้าประเทศไทยบริเวณ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 18.00 น. 

ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ระหว่างวันที่ 28-30 กันยายน 2565 มีสถานการณ์อุทกภัย และวาตภัยในพื้นที่ 11 จังหวัด เพชรบูรณ์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร สระบุรี ชัยนาท และสระแก้ว รวม 35 อำเภอ 72 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,121 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 รายผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เนื่องจากสาเหตุลมพัดต้นไม้ลมทับรถยนต์ ดังนี้  

1. เพชรบูรณ์ เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

2. อำนาจเจริญ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และอำเภอลืออำนาจ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

3. ศรีสะเกษ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอยางชุมน้อย อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอน้ำเกลี้ยง และอำเภออุทุมพรพิสัย รวม 16 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,301 ครัวเรือน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย และเสียชีวิต 1 ราย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

4. ยโสธร เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอคำเขื่อนแก้ว รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง

5. อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอพิบูลมังสาหาร รวม 12 ตำบล 44 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,026 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 

6. มุกดาหาร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี และอำเภอดอนตาล รวม 8 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1 ครัวเรือน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

7. ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น รวม 5 ตำบล 5 หมูบ้าน ระดับน้ำลดลง

8. ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเนินสง่า อำเภอจัตุรัส อำเภอเกษตรสมบูรณ์ และอำเภอบ้านเขว้า รวม 9 ตำบล 20 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

9. สระบุรี เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งคอย และอำเภอวังม่วง รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

10. ชัยนาท เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ อำเภอมโนรมย์ อำเภอหันคา และอำเภอสรรพยา รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 750 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

11. สระแก้ว เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองหาด และอำเภอวังน้ำเย็น รวม 5 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

สำหรับสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ยังคงทำให้มีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และปราจีนบุรี รวม 5 อำเภอ 18 ตำบล 67 หมู่บ้าน ภาพรวมระดับน้ำลดลง

และสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี และสิงห์บุรี รวม 17 อำเภอ 132 ตำบล 685 หมู่บ้าน ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำทรงตัว 

สำหรับการให้ความช่วยเหลือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า