SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร่วมกับบริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด (โนโว นอร์ดิสค์) จัดงานเวทีนโยบายรับมือโรคอ้วนระหว่างเดนมาร์ก-ไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเชิญผู้กำหนดนโยบาย บุคลากรทางการแพทย์ และตัวแทนธุรกิจในวงการสาธารณสุขมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความท้าทายจากอัตราการเป็นโรคอ้วนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ โรคอ้วน – ความท้าทายด้านสุขภาพและเศรษฐกิจระดับชาติ ร่วมมือกันวันนี้เพื่ออนาคตของทุกคนภายในงานประกอบด้วยปาฐกถาจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ และการเสวนาบนเวทีจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายภาคส่วน

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงในประเทศไทยโรคอ้วนถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญ โดยมีประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน นอกจากนี้โรคอ้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังร้ายแรง อาทิ เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคไตเรื้อรัง โดยเกือบหนึ่งในสามของผู้ที่เป็นโรคอ้วนประสบกับภาวะเหล่านี้ นอกจากจะเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญแล้ว โรคอ้วนยังสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในรูปแบบของประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น และอุปสรรคระยะยาวต่อการพัฒนาของประเทศไทย มีการประมาณการเมื่อปีพ.ศ. 2562 ว่าโรคอ้วนส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าร้อยละ 1.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี (หรือราว 220,000 ล้านบาท) และคาดว่าตัวเลขนี้อาจสูงถึงร้อยละ 5 ของจีดีพี (หรือประมาณ 850,000 ล้านบาท) ภายในปี พ.ศ. 2603 หากไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า “กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการรับมือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เนื่องจากเป็นหนึ่งในความท้าทายของระบบสาธารณสุขไทยและการพัฒนาประเทศ โดยขณะนี้กระทรวงฯ กำลังดำเนินการบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาที่กำลังเพิ่มความรุนแรงขึ้นนี้”

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรีและประธานสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า “โรคอ้วนไม่ใช่แค่เรื่องของน้ำหนักตัวของแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อระบบสาธารณสุขของไทยและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การรับมือกับปัญหานี้ ภาครัฐจำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาคภาคเอกชนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน”

นพ.กฤช ลี่ทองอิน ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงผลกระทบจากปัญหาโรคอ้วนว่า “สุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ เราจำเป็นต้องหาจุดสมดุลระหว่างการดูแลให้ผู้ป่วยทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง ควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในระยะยาว”

รศ. พญ. ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ รพ. รามาธิบดี กล่าวถึงแนวทางการจัดการโรคอ้วนในมุมมองโภชนาการว่า “โรคอ้วนในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคนไทย 40% มีภาวะน้ำหนักเกิน และเกือบ 40% เป็นโรคอ้วนลงพุง ซึ่งโรคอ้วนถูกจัดเป็น “โรคเรื้อรัง” เช่นเดียวกับเบาหวาน ความดัน เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร่วม เช่น เบาหวาน หัวใจ หลอดเลือด กระดูกเสื่อม นอนกรน ภาวะซึมเศร้า ฯลฯ โดยแนวทางการรักษาควรเริ่มที่การปรับพฤติกรรมเรื่องอาหารและออกกำลังกายระยะยาว หากไม่สำเร็จ อาจใช้ยา เช่น ยาฉีด GLP-1 ลดได้เฉลี่ย 8-15% ส่วนทางเลือกสุดท้ายคือ “ผ่าตัดลดกระเพาะ” ซึ่งได้ผลดีที่สุด (ลดได้ 20-30%) แต่ต้องมีการติดตามผลและกินวิตามินตลอดชีวิต” พร้อมเน้นย้ำว่าการลดน้ำหนักแบบยั่งยืนคือลดไขมันแต่รักษากล้ามเนื้อไว้ ควรลดน้ำหนักเดือนละประมาณ 2 กก. อย่างปลอดภัย

ในฐานะเจ้าภาพของงานเสวนาครั้งนี้ ฯพณฯ แดนนี่ อันนัน เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนไม่ใช่เรื่องของประเทศใดประเทศหนึ่ง เดนมาร์กเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่โนโว

นอร์ดิสค์ ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการโรคอ้วน ความร่วมมือระหว่างบริษัทเดนมาร์กกับหน่วยงานของไทย รวมถึงสถาบันด้านสาธารณสุขในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างเดนมาร์กและไทย ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งในระดับองค์กรและระดับประชาชน”

ภายในงานยังมีการเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, รศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, รศ. นพ. เพชร รอดอารีย์ นายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย และนายเอ็นริโก้ คานัล บรูแลนด์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด

รศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและโรคหัวใจว่า “โรคอ้วนสัมพันธ์โดยตรงและโดยอ้อมกับโรคหัวใจ เช่น หัวใจวาย เส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งภาวะอักเสบในร่างกายจากความอ้วนทำให้หลอดเลือดเสื่อม เกิดคราบไขมันสะสม อีกทั้งความอ้วนยังเป็นปัจจัยที่ทำให้โรค NCD อื่นรุนแรงขึ้น เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน ภาวะอ้วนทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจกระทบสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศ” พร้อมเน้นย้ำว่า การลดน้ำหนักเพียง 5-10% ก็ลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้มาก ต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า “ความอ้วนไม่ใช่ความผิดของคนไข้” แต่ต้องให้การสนับสนุนทั้งจากระบบแพทย์และนโยบายสาธารณสุข

โดยการเสวนาเน้นทั้งนโยบายด้านโรคอ้วนในประเทศไทยและแนวทางจากต่างประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงความเร่งด่วนในการกำหนดนโยบายเพื่อรับมือกับอัตราการเป็นโรคอ้วนที่สูงโดยเฉพาะในเขตเมืองของประเทศไทย และเน้นย้ำถึงความจำเป็นของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืน

“เราเชื่อว่าการรับมือกับวิกฤตโรคอ้วนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ความร่วมมือระหว่างรัฐบาล บุคลากรทางการแพทย์ และตัวแทนธุรกิจในวงการสาธารณสุขจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันและจัดการกับโรคอ้วน” นายเอ็นริโก้ คานัล บรูแลนด์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “โนโว นอร์ดิสค์มุ่งมั่นที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนและผลกระทบของโรค พร้อมทั้งร่วมสนับสนุนการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างเต็มกำลัง”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า