SHARE

คัดลอกแล้ว

วานนี้ (22 มิ.ย. 2565) เวลา 13.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 4/2565 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย, นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาหลายกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานด้านพลังงานหลายเรื่อง คงไม่ใช่เรื่องเฉพาะราคาน้ำมันแพงหรือไม่แพงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องพลังงานในภาพรวมทั้งหมด ที่ต้องปรับรูปแบบของการใช้พลังงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์เพื่อใช้แหล่งพลังงานอื่นมาทดแทน เพราะค่าแก๊ส ค่าน้ำมันแพงขึ้น ซึ่งรัฐบาลพยายามหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติมเพื่อทดแทนแก้ปัญหาในอนาคตอย่างยั่งยืน คือ

1.จะต้องดูแลความมั่นคงเสถียรภาพพลังงานไม่ให้เกิดการขาดแคลน เพื่อให้การประกอบการธุรกิจเดินหน้าต่อไป

2.จะต้องดูแลราคาพลังงานไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนจนมากเกินไป โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชนในวงกว้าง

3.จะดูแลช่วยเหลือครอบครัวหรือกลุ่มเปราะบางผ่านมาตรการใดบ้าง

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อยืนยันว่าที่รัฐบาลทำในวันนี้แม้จะถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง แต่ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันฟิทช์ เรทติ้งส์ ที่ให้ไทยอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง BBB+ เช่นเดียวกับการเกิดก่อนโควิดและเกิดปัญหาพลังงานในขณะนี้ แสดงว่าเราดำเนินการมาได้ดีพอสมควร เรายืนยันตรงนี้ และพยายามจะทำให้ดีที่สุดในทุกๆ เรื่อง

  • ตัวเลขค่าการกลั่นต่างๆ

ขณะที่นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการหารือกับโรงกลั่นทั้ง 6 ในประเทศ เพื่อหาอัตราที่เหมาะสม รวมถึงรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าการกลั่นว่าในน้ำมันแต่ละประเภทมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อหาจุดสมดุลในการร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งพยายามเร่งให้เกิดข้อสรุปภายในเดือนสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ยอมรับว่าทุกฝ่ายมองถึงประเด็นความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก และอยู่ในขั้นตอนหารือเพื่อสรุปข้อตกลงกัน แต่หากยังไม่สามารถสรุปได้จึงค่อยเปลี่ยนไปใช้วิธีทางกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง หรือข้อบังคับอื่นๆ ต่อไป ซึ่งได้เตรียมการไว้เบื้องต้นแล้ว ส่วนเรื่องตัวเลขค่าการกลั่นต่างๆ ทางกระทรวงพลังงานก็มีผลสรุปออกมาแล้วว่าค่าเฉลี่ยช่วง 6 เดือนอยู่ที่ 3.27 บาทต่อลิตร ซึ่งกรณีที่มีอดีต รมว.การคลังยืนยันตัวเลขออกมาเช่นกันที่ 8.50 บาทต่อลิตรนั้น อาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจแตกต่างกัน ซึ่งทางกระทรวงก็ได้ถามไปถึงสมาคมกลุ่มโรงกลั่นฯ ว่าเมื่อเห็นตัวเลขนั้นแล้ว ก็อยากให้ไปวิเคราะห์ดูว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นมาอย่างไร

ที่ประชุมได้มีการพิจารณาและเห็นชอบในประเด็นสำคัญ ดังนี้

กพช. มีมติเห็นชอบการเลื่อนแผน การปลดเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแม่เมาะ เครื่องที่ 8 – 11 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากสถานการณ์ LNG มีราคาสูง ซึ่งจะสามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ รวมถึงสามารถบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การผลิตก๊าซธรรมชาติของแหล่งเอราวัณ (G1/61) ที่ลดลงในช่วงเปลี่ยนผ่านการให้สัมปทานก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งไม่กระทบต่อเป้าหมายการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของประเทศตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ภายในปี 2573 และมีความสอดคล้องกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดยที่ประชุมมอบหมายให้ กฟผ. และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

กพช. รับทราบผลการบริหารอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ (Ft) ช่วงปี 2563 – ปัจจุบัน ซึ่งมอบหมายให้ กฟผ. ช่วยรับภาระค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น โดยชะลอการนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงที่สูงขึ้นตั้งแต่งวดเดือนกันยายน 2564 – เดือนธันวาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน ที่เรียกเก็บกับประชาชนในระยะนี้ไว้ก่อน เพื่อช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 และวันที่ 29 มีนาคม 2565 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ ครม. รับทราบผลการดำเนินงานตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 และวันที่ 29 มีนาคม 2565 ต่อไป

กพช. ยังได้มีมติเห็นชอบหลักการการรับซื้อไฟฟ้าและอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ปริมาณ 100 เมกะวัตต์ ในอัตรา 6.08 บาทต่อหน่วย (ไม่ร่วมอัตรา FiT Premium) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ในปี 2569 โดยที่ประชุมมอบหมายให้ กกพ. ดำเนินการออกระเบียบและประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ FiT รวมถึงกำกับดูแลการคัดเลือกให้เป็นไปตามขั้นตอน ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องการมีการปรับปรุงเงื่อนไขต่างๆ (ยกเว้นอัตรารับซื้อ) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาต่อไป

ที่ประชุม กพช. ยังมีมติเห็นชอบโครงการและแผนงานของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งโดยสอดคล้องกับแผนปฏิรูปพลังงาน ได้รับการยกเว้นเงื่อนไขในการได้รับการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามหลักการแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า สำหรับแผนงานและโครงการ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า