SHARE

คัดลอกแล้ว

ที่มาที่ไป “ถ้ำยะลา” ประกาศกรมศิลปากร ลดพื้นที่โบราณสถาน เปิดทำเหมืองหินอุตสาหกรรม ยกเหตุขาดแคลนหินอุตกรรมก่อสร้าง ปัญหาความมั่นคง กระทบจิตใจชาวบ้าน

1.ในจังหวัดยะลา มีภูเขาหินปูน ความยาว 2.7 กิโลเมตรชื่อว่า “เขายะลา” ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เขายาลอ” ตั้งอยู่ในตำบลลิดล-ตำบลยะลา เขตอำเภอเมือง อยู่ระหว่าง อำเภอเมืองกับอำเภอยะหา

2. บนเขายะลา มีภาพเขียนสีโบราณ 2 แห่ง เป็นภาพยุคศรีวิชัยอายุประมาณ 1,200 – 1,500 ปี พบบริเวณด้านหลังสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา ภาพแรกเป็นรูปคน 3 คนยาวเกือบ 3 เมตร สันนิษฐานว่าเป็นภาพที่เกี่ยวกับพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และอีกภาพเป็น รอยขีดสีแดง

3. ภายในเขายะลา มีถ้ำสำรวจพบข้าวของเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคหิน

4. กรมทรัพยากรธรณีวิทยาเคยสำรวจเขายะลา เป็นพื้นที่อนุรักษ์แหล่งน้ำ เอ1 ตรงกับข้อสันนิษฐานของชาวบ้านว่า “ใต้เขายะลา” เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่

5. วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกรมศิลปากร เรื่องขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณ ภาพเขียนสีเขายะลา ตำบลลิดล – ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พื้นที่โบราณสถานประมาณ 887 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา ลงนามโดย นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น อธิบดีกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2544

6. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกรมศิลปากร เรื่องแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน  ภาพเขียนสีเขายะลา ตำบลลิดล – ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พื้นที่โบราณสถานประมาณ 887 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา ให้มีพื้นที่ 697 ไร่ 75 ตารางวา ลงนามโดย นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

7. จากการประกาศลดพื้นที่โบราณสถานภาพเขียนสีเขายะลาที่ประกาศเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่โบราณสถานหายไปราว 190 ไร่

8. กรมศิลปากร ให้เหตุผลลดพื้นที่โบราณสถานภาพเขียนสีเขายะลา ว่า เนื่องจากประสบปัญหาแหล่งหินอุตสาหกรรม จากสาเหตุที่แหล่งหินอุตสาหกรรมหลายแห่งตั้ง อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคง จึงทำให้จำเป็นต้องอาศัยแหล่งหินอุตสาหกรรมจากภูเขายะลา

“เพื่อเป็นการผ่อนคลายสภาวะขาดแคลนหินอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการก่อสร้าง และลดการก่อความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างสถานการณ์ของกลุ่มคนผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้”

9. มีการตั้งข้อสังเกตและเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ เพราะไม่มีการรับฟังความเห็นจากชาวบ้านในพื้นที่ ก่อนการลงนามแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานภาพเขียนสียะลา

10. การลงนามแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานภาพเขียนสียะลา เกิดขึ้นในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันที่ นายอนันต์ ชูโชติ จะเกษียณอายุราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร

11. ชาวบ้านไม่สบายใจและเชื่อว่าการระเบิดหิน จากการทำเหมืองกระทบกับภาพเขียนสีโบราณ เพราะตอนนี้ภาพเขียนสีรูปคน 3 คนยาวเกือบ 3 เมตรหายไปแล้ว เหลือแต่ภาพเขียนสี รอยสีขีดสีแดง

12. แหล่งข่าวในพื้นที่ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานเข้ามาขอให้ชาวบ้านในตำบลยะลายินยอมให้มีการทำเหมืองหิน แต่ชาวบ้านมองว่ามีการเอื้อกลุ่มนายทุน ส่วนเหตุผลเรื่องความมั่นคงนั้น ชาวบ้านมองว่ามีเขาลูกอื่นที่เดินทางเข้าไปได้ง่ายกว่าเขายะลา ซึ่งเป็นภูเขาหินปูน

13. วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2563 กลุ่มเครือข่ายประชาชนปกป้องเขายะลา นำโดยนายวรา จันทร์มณี นักวิชาการอิสระ อดีตเลขาส่วนตัวศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ขอให้ยกเลิกประกาศกรมศิลปากร ในการแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน ในขอบเขตที่ดินโบราณสถานภาพเขียนสีเขาจะลา ผ่านนายประสพ เรียงเงิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม และนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร

14. เบื้องต้นนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร ระบุว่า จะเร่งทำการตรวจสอบ ส่วนที่ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีการทำประชาพิจารณ์กับชาวบ้านในพื้นที่ก่อนมีการประกาศลดพื้นที่นั้น นายพนมบุตร ระบุว่า การทำประชาพิจารณ์เพื่อทำสัมปทานเป็นหน้าที่ของก ระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งต้องมีการพูดคุยเพิ่มเติมต่อไป

15. นายศรีสุวรรณ จรรยา ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จะเข้ายื่นร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการไต่สวน สอบสวนเอาผิดนายอนันต์ ชูโชติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ในวันที่ 6 มีนาคม เวลา 10.30 น.

(ภาพเขียนสี คน 3 คน สันนิษฐานเกี่ยวกับพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์)

(ภาพเขียนสี รอยขีดสีแดง)

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า