Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จริงอยู่ที่ไม่ว่าใครก็ตามสามารถติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนกลุ่มอื่น

 

แม้จะมีเคล็ดลับการดูแลและป้องกันตนเองสำหรับคนทุกวัย แต่ก็มีข้อพึงระวังบางอย่างสำหรับผู้สูงอายุในการป้องกันตนเอง

 

เว็บไซต์ซีเอ็นเอ็นได้พูดคุยกับนักเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และการสรุปแนวทางการป้องกันจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐฯ หรือ CDC เพื่อหาข้อสรุปว่าสิ่งที่ผู้สูงอายุควรรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 มีอะไรบ้าง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่กำลังจะกล่าวถึงนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากเจ้าหน้าที่มีข้อมูลเพิ่มเติม ดังนั้นเราจึงควรติดตามข่าวสารที่ถูกต้องเพิ่มเติมต่อไป

 

 

ระดับความเสี่ยงของผู้สูงอายุ

 

CDC ระบุว่า ผู้สูงอายุและผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมีโอกาสที่จะมีอาการป่วยรุนแรงจากโควิด-19 ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อให้คำนิยามของผู้สูงอายุว่ามีอายุ 60 ปีขึ้นไป ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

 

ดร. ซามีร์ ซินฮา นักเวชศาสตร์ผู้สูงอายุกล่าวว่า แม้กลุ่มเด็กหรือวัยรุ่นอาจติดเชื้อไวรัสได้ แต่ผู้สูงอายุอาจอันตรายมากกว่า เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยไปตามอายุขัย

 

ผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปีอาจต้องออกกำลังกายอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น รายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ JAMA ที่ทำการศึกษาผู้ป่วยโควิด-19 ชาวจีนมากกว่า 72,000 คน พบว่า อัตราการเสียชีวิตโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.3 แต่ในผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป จะเพิ่มสูงถึงร้อยละ 15 และหากเราอาศัยในชุมชนที่มีการระบาด เราอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ ดังนั้น สิ่งควรต้องปฏิบัติตามคือ

 

อะไรที่ควรต้องระมัดระวังในขณะนี้

 

ดร. คาร์ลา เปริสซิน็อตโต รองศาสตราจารย์แผนกเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-ซานฟรานซิสโก แนะนำให้ยกเลิกการนัดหมายกับแพทย์ที่ไม่จำเป็น:

 

-ไม่ว่าจะเป็นการตรวจร่างกายทั่วไป หรือการนัดหมายเพื่อติดตามผลของการอาการหรือการผ่าตัดเล็ก ถ้ารอได้ก็ควรรอ

 

-หากเรามีนัดหมายที่สำคัญในเร็วๆ นี้ เราอาจพูดคุยกับแพทย์ผ่านวิดีโอคอล หรือผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากนั้น บริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จะช่วยให้แพทย์ให้คำปรึกษากับผู้ป่วยที่อาจไม่สามารถออกจากบ้านได้

 

-บอกเพื่อน หรือบุคคลที่เรารัก เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนบ้าน หากเรากังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย อาจระบุให้หนึ่งในคนกลุ่มนี้เป็นบุคคลที่สามารถติดต่อได้ในยามฉุกเฉิน ที่เราสามารถโทรหาเพื่อขอความช่วยเหลือได้

 

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมสิ่งต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในช่วงของการระบาด เช่น ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ ครั้งละประมาณ 20 วินาที หรืออาจใช้เจลฆ่าเชื้อในกรณีที่ไม่มีสบู่หรือน้ำ

 

สิ่งที่เราควร “ตุน”

 

CDC แนะนำให้ตุนสิ่งของอุปโภคบริโภคต่างๆ ที่มีความจำเป็นอย่างเพียงพอต่อช่วงระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากไม่มีใครทราบว่าการระบาดจะกินเวลาไปอีกนานเท่าใด

 

-สิ่งที่ต้องตุนไว้ เช่น ยาสีฟัน ผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้า เครื่องกรองน้ำ และอื่นๆ

 

-ทำอาหารและนำไปแช่เข็งไว้ หากเรากังวลเรื่องอาหารการกิน

 

ดร. เปริสซิน็อตโตกล่าวว่า การตุนยารักษาโรคไว้ล่วงหน้าอาจไม่จำเป็นเสมอไป เราอาจเก็บไว้ให้เพียงพอต่อระยะเวลา 90 วัน แต่หากทำไม่ได้ CDC เสนอให้สั่งยาทางไปรษณีย์

 

เราควรเปลี่ยนกิจกรรมประจำวันอย่างไร

 

ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการแพร่ระบาดของโรค จำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ด้วยการ:

 

-หลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะที่มีผู้คนจำนวนมาก หรืออาคารที่มีระบบถ่ายเทอากาศไม่ดี ซึ่งอาจทำให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงขึ้น

 

-จำกัดเวลาหากต้องไปสถานที่สาธารณะ และจำกัดการเข้าไปสัมผัสผู้อื่นอย่างใกล้ชิด

 

-ควรออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้เหมาะสม เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ

 

และที่สำคัญที่สุดคือ การล้างมือทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากการเดินทางไปยังสถานที่สาธารณะ

 

เราจะจัดการการเดินทางอย่างไร

 

CDC แนะนำให้ผู้สูงอายหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยเครื่องบินหากไม่มีความจำเป็น หลายสายการบินได้ปรับลดเที่ยวบินลงแล้วสำหรับในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า นอกจากนั้น ยังควรหลีกเหลี่ยงการเดินทางไปกับเรือสำราญ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ผู้คนรวมตัวกันอย่างหนาแน่น ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือหากจองไปแล้ว เราควรยกเลิก

 

สิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการโดดเดี่ยวตนเอง

 

CDC แนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคติดต่อ ให้อยู่ที่บ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนผู้ที่เชื่อว่าตนเองป่วย ควรนำมาตรการโดดเดี่ยวตนเองมาใช้ อย่างไรก็ตาม การโดดเดี่ยวตนเองอาจก่อให้เกิดผลเสียได้เช่นกัน หากเราอาศัยเพียงลำพังและตัดขาดการติดต่อจากทุกคน

 

ดร. เปริสซิน็อตโต เห็นว่า การตัดขาดทางสังคมอย่างสิ้นเชิงไม่ใช่คำตอบที่ดี แม้การเว้นระยะห่างทางสังคมบางอย่างจำเป็นต้องทำอย่างรอบคอบ แต่เราต้องระมัดระวังไม่ให้ตนเองโดดเดี่ยวจนเกินไป เพราะนั่นอาจเป็นอันตรายได้

 

ดังนั้น หากจำเป็นต้องโดดเดี่ยวตนเอง สิ่งที่ควรปฏิบัติคือ:

 

-อย่าตัดขาดตนเองจากญาติพี่น้องหรือเพื่อน

 

-คอยอัปเดทชีวิตความเป็นอยู่และอาการกับคนเหล่านั้นอยู่เสมอ และหากิจกรรมทำเพื่อลดความเบื่อหน่าย

 

สิ่งที่สมาชิกในครอบครัวควรทำ

 

ดร. เปริสซิน็อตโต แนะนำว่า ครอบครัว เพื่อนฝูง หรือเพื่อนบ้านของผู้สูงอายุ ควรทำรายการสิ่งของที่ผู้สูงอายุจำเป็นต้องใช้ ในกรณีที่ต้องโดดเดี่ยวตนเอง ด้วยการ:

 

-ช่วยพวกเขาจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

 

-เตรียมแผนการอย่างรอบคอบในกรณีที่พวกเขาเกิดป่วยขึ้นมาอย่างกระทันหัน เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีคนคอยดูแลพวกเขา

 

-หากผู้สูงนัดพูดคุยกับแพทย์ผ่านบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเร็วๆ นี้ เราควรช่วยสอนแนะนำผู้สูงอายุถึงวิธีการใช้

 

การเตรียมพร้อมและการติดต่อกันอยู่เสมอ จะช่วยให้ครอบครัวสามารถติดต่อกับผู้สูงอายุที่ต้องโดดเดี่ยวตนเองได้ และที่สำคัญคือ สมาชิกในครอบครัวที่มีอาการป่วยไม่ควรไปเยี่ยม ควรใช้วิดีโคอลหรือการโทรศัพท์พูดคุย และหากพบว่าสมาชิกในครอบครัวที่มีอายุน้อยและมีสุขภาพดี บังเอิญเคยเข้าใกล้กับผู้ป่วยโควิด-19 ควรแนะนำให้พวกเขาโดดเดี่ยวตนเอง และห้ามเข้าใกล้สมาชิกในครอบครัวที่มีอายุมากกว่า ที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

 

สิ่งที่เราควรพิจารณาเกี่ยวกับบ้านพักคนชรา

 

ดร. ซามีร์ ซินฮา กล่าวว่า ครอบครัวอาจรู้สึกกังวลว่าพวกเขาอาจไม่ปลอดภัย เนื่องจากผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังเป็นกลุ่มที่เสี่ยงติดเชื้อได้สูง เนื่องจากอาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด อย่างไรก็ตาม พบว่าบ้านพักคนชราส่วนใหญ่มีการเตรียมพร้อมในระยะยาวอยู่แล้ว ในกรณีที่อาจเกิดการระบาดของโรคครั้งใหญ่

 

ส่วน CDC ได้เคยจัดการฝึกอบรมเพื่อรับมือกับการระบาดในระยะยาว แต่หากสมาชิกในครอบครัวยังรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือข้อปฏิบัติต่างๆ อาจสามารถพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้

 

เมื่อต้องไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ที่บ้านพักคนชรา เราควรทำอย่างไร

 

ภายใต้การประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติของสหรัฐฯ การเดินทางไปยังบ้านพักคนชราได้ถูกจำกัดไว้ด้วยข้อกำหนดต่างๆ นอกจากนั้นยังสั่งยกเลิกการรับประทานอาหารแบบกลุ่ม และกิจกรรมกลุ่ม นอกจากนั้น สิ่งที่ทำได้คือการหาวิธีการสื่อสารทางเลือกระหว่างผู้สูงอายุและครอบครัว เพื่อคอยติดตามชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพ

 

ทำอย่างไรหากเราป่วยเสียเอง

 

หากเราคิดว่าเราติดเชื้อไวรัส จงอยู่บ้านและโทรหาแพทย์ แต่หากต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ จำกัดการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและหลีกเลี่ยงระบบขนส่งสาธารณะ และสวมหน้ากากอนามัย

 

หากแพทย์ยังไม่สะดวก เราอาจโทรแจ้งสายด่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพูดคุยและให้เจ้าหน้าที่ได้สอบถามอาการ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่เหล่านี้ มีหน้าที่เพียงให้ข้อมูลเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการวินิจฉัยอาการโดยไม่ได้ทำการตรวจหาเชื้อ

 

หากพบว่าติดเชื้อไวรัส แต่มีอาการไม่รุนแรงนัก แพทย์อาจแนะนำให้อยู่บ้านจนกว่าจะหายดี หากอาการรุนแรง เราอาจต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์เฝ้าระวังอาการ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า