Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมวิทย์ฯ เผยกำลังเร่งพัฒนาน้ำยาตรวจหาเชื้อโอไมครอนโดยเฉพาะ คาด 2 สัปดาห์เสร็จ ต้องปรับเทคนิคหารตรวจหาเชื้อไปก่อน ยังยืนยัน RT-PCR สามารถตรวจพบโควิดสายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ ได้ 

วันที่ 29 พ.ย. 2564 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลง สถานการณ์โควิด-19ในประเทศไทย และโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ว่า 

ระบบการเฝ้าระวังในประเทศที่ผ่านมาทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเครือข่ายทั่วประเทศมีการตรวจรหัสพันธุกรรมมาโดยตลอด ข้อมูลตั้งแต่ไทยเปิดประเทศ 1 พ.ย. 2564 มีการส่งตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่ติดเชื้อโควิดไปแล้ว 75 ตัวอย่าง และตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว 45 ตัวอย่าง ยังพบเพียงสายพันธุ์เดลตาหรือสายพันธุ์ย่อยเดลตาเท่านั้น

หลังมีข่าวการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอไมครอน วันเสาร์ที่ผ่านมาทางกรมวิทย์ฯ จึงไปนำตัวอย่างของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทยในช่วงเวลาใกล้เคียง มาตรวจสอบ ยังไม่พบว่ามีสายพันธุ์โอไมครอนเช่นกัน 

จึงยืนยันว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อตรวจโควิดด้วยวิธี RT-PCR และ ATK ที่ได้รับการรับรองจาก อย. ยังสามารถใช้ตรวจโควิด-19 ได้ 

แต่หากจะมีการตรวจแบบจำแนกสายพันธุ์ ว่าเป็น อัลฟา เบตา เดลตา ต้องมีชุดน้ำยาตรวจของแต่ละสายพันธุ์ 

ปัจจุบันยังไม่มีชุดน้ำยาตรวจของสายพันธุ์โอไมครอน แต่พบว่าโอไมครอน  มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่ตรงกันกับ ทั้ง HV69-70deletion ในอัลฟา และ K417N ในเบตา หากมีการตรวจเบื้องต้นแล้วพบว่าบวกตรงกันทั้งคู่ให้สันนิษฐานว่าเป็นสายพันธุ์โอไมครอน โดยได้ประสานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้ง 15 ศูนย์ ให้ใช้เทคนิคการตรวจนี้ เพื่อค้นหาแยกเชื้อ ซึ่งการใช้เทคนิคนี้จะช่วยให้การตรวจยืนยันหาสายพันธุ์โอไมครอน มีความรวดเร็ว 

ขณะนี้กรมวิทย์ฯ เตรียมพัฒนาน้ำยาตรวจแยกสายพันธุ์โดยเฉพาะ คาดว่าอีกประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะสำเร็จ 

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า การระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนยังมีข้อมูลต่างๆ อย่างจำกัด จึงยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าการแพร่ระบาดจะรุนแรงมากกว่าเดลตาหรือไม่ หรือเชื้อไวรัสสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีเพียงใด

แต่เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโอไมครอนในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มี ทบทวนให้นักท่องเที่ยวต้องตรวจ RT-PCR  ทุกราย 

ส่วนคนไทยขอให้คงมาตรการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด รวมทั้งรักษามาตรการส่วนบุคคลอย่างเข้มข้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า