SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์จีโนมฯ เผยไทยพบผู้ป่วยไอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 ที่ระบาดในยุโรปแล้ว 49 ราย ด้าน โฆษกรัฐบาล ระบุ นายกฯ ขอกระทรวงสาธารณสุข วางแผนรับมือสถานการณ์ ที่จะยกเว้น Thailand Pass ชาวต่างชาติเข้าไทย เริ่ม 1 ก.ค. นี้

(ธนกร วังบุญคงชนะ / ภาพจาก : ทำเนียบรัฐบาล)

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบหมายกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าสังเกตสถานการณ์โควิด-19 ในยุโรป โดยขอให้วางแผนรับมือล่วงหน้า รองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามา จากที่ไทยจะมีประกาศยกเว้นการลงทะเบียน Thailand Pass ของคนต่างชาติ

หลังจากมีการพบ ไวรัสโควิด-19 โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 เพิ่มขึ้นในยุโรปอย่างมีนัยสำคัญ เช่น โปรตุเกส อังกฤษ ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน ซึ่งจากฐานข้อมูล (รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม) โควิดโลก “GISAID” ระบุว่าประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4, BA.5, และ BA.2.12.1 ไปแล้วจำนวน 23, 26, และ 18 ราย ซึ่งยังเป็นจำนวนที่ไม่น่ากังวล อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ โดยสถานการณ์โควิด-19 ในไทยอยู่ในระดับทรงตัวและมีแนวโน้มดีขึ้น เชื่อมั่นว่าถ้าทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ปฏิบัติตามมาตรการของทางสาธารณสุข เพื่อสร้างให้ไทยเป็นพื้นที่ปลอดภัยทั้งสำหรับคนไทยและชาวต่างประเทศที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยด้วย

เมื่อวานนี้ (21 มิ.ย. 65) ศ.เกียรติคุณ วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาเปิดเผยผลการติดตามสายพันธุ์โควิด-19 จากฐานข้อมูลโควิด-19 โลก หรือ GISAID มีรายงานจากประเทศแถบยุโรปและแอฟริกาใต้ พบเชื้อโอไมครอน (Omicron) สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5เพิ่มมากขึ้น

ภาพจาก : Center for Medical Genomics

สายพันธุ์ย่อย BA.5 พบการกลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิมอู่ฮั่นมากที่สุดเกือบ 90 ตำแหน่ง ส่วนสายพันธุ์ BA.4 ประมาณ 80 ตำแหน่ง การกลายพันธุ์มากขึ้น ก่อให้เกิดความสุ่มเสี่ยงที่จะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและอาจจะแพร่ระบาดไปทั่วโลกได้ในอนาคต แต่อาการจะรุนแรงมากหรือไม่ ยังต้องติดตามข้อมูลผู้ติดเชื้อที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลว่ามีอาการรุนแรงแค่ไหน

โดยขณะนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในโปรตุเกสที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ มากกว่าร้อยละ 80 รองลงมาคือ แอฟริกาใต้ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 ตามมาด้วยอังกฤษ ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม สเปน อิตาลี เดนมาร์ก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศแถบยุโรปเกือบทั้งหมดที่เริ่มเห็น ‘สัญญาณ’ ผู้ติดเชื้อรายใหม่เข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น

ศ.เกียรติคุณ วสันต์ ระบุว่า ที่น่ากังวลคือ ผลการทดลองในสัตว์ทดลองเบื้องต้น บ่งชี้ว่า BA.4 และ BA.5 เพิ่มจำนวนได้ดีใน ‘เซลล์ปอด’ อันอาจจะก่อให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบขึ้นได้ในมนุษย์ ซึ่งต่างไปจากโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.1 และ BA.2 ซึ่งเพิ่มจำนวนได้ดีใน ‘เซลล์ของเยื่อบุระบบทางเดินหายใจส่วนบน’ ไม่ลงมาแพร่ติดต่อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างที่ปอด อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามข้อมูลต่อ แต่ข้อมูลดังกล่าวก็บ่งชี้ได้ว่า เริ่มกลับมาระบาดแล้วในยุโรปและแอฟริกาใต้ แต่จะรุนแรงหรือไม่ยังต้องรอประเมินหน้างานจากผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้บางประเทศในยุโรปยกระดับการเตือนภัยแล้ว โดยเฉพาะโปรตุเกส รวมทั้งหน่วยควบคุมโรคของยุโรปได้ยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องระมัดระวัง แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่ได้ยกระดับให้ BA.4 และ BA.5 เป็นสายพันธุ์น่ากังวลใจ

หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับประเทศไทย จากฐานข้อมูล GISAID ที่สถาบันการแพทย์ต่างๆ ร่วมถอดรหัสพันธุกรรมและบันทึกข้อมูลเข้าไป พบมีผู้ติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 จำนวน 26 คน และ BA.4 จำนวน 23 คน ส่วน BA.2.12.1 จำนวน 18 คน โดยพบตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 จนถึงปัจจุบัน

“ทำนายไม่ได้แน่ชัดว่า ตัวใหม่จะมีอาการรุนแรงหรือลดน้อยถอยลง เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่สามารถฟันธงได้ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้ เรียนรู้ มีความตระหนัก แต่ไม่ตระหนก” ศ.เกียรติคุณ วสันต์ ระบุ และแนะนำว่า ประเทศไทยที่เริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ไม่ได้มีข้อห้ามมากมายเช่นที่ผ่านมา ประชาชนก็ต้องพิจารณาตัวเองว่า จะต้องป้องกันตนเอง ดูแลตนเองอย่างไร โดยเฉพาะการเข้าไปอยู่ในที่มีคนแออัด ชุมชน มีความใกล้ชิดกัน ก็ยังควรจะสวมหน้ากากอนามัย รวมถึงมาตรการวัคซีนก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะรับตามเกณฑ์กำหนด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า