Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.ยกระดับมาตรการคุมโควิดกลายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ ห้ามผู้ที่มาจาก 8 ประเทศจากทวีปแอฟริกาเดินทางเข้าไทย ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 64 ซึ่งเป็นรายชื่อเดียวกับที่สหรัฐฯ เพิ่งสั่งห้ามเข้าประเทศ

วันที่ 27 พ.ย. 2564 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ร่วมแถลงข่าว มาตรการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสกลายพันธุ์

หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้เชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ B.1.1.529 อยู่ในรายชื่อเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern) และตั้งชื่อเรียกตามลำดับตัวอักษรกรีกว่า โอไมครอน (Omicron) ซึ่ง WHO ได้รับรายงานถึงสายพันธุ์โอไมครอนครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยสรุปดังนี้

ขณะที่ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขีดเส้นใต้สองเส้น ด้วยระบบเฝ้าระวังที่เรามีอยู่ ที่เราตรวจ “รหัสพันธุกรรมทั้งตัว”  ที่เรียกว่า โฮสต์จีโนม เราตรวจของประเทศไทย และรายงานไปที่ gisiad กว่า 7,000 เคส ยังไม่มี B.1.1.529 แต่จะไม่ประมาทในการตรวจตราต่อไป

เหตุที่ B.1.1.529 น่าห่วงเพราะมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง ปกติไวรัสมีตำแหน่ง 30,000 ตำแหน่ง กลายพันธุ์ไปกว่า 50 ตำแหน่ง ที่สำคัญ 32 ตำแหน่งอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญ โปรตีนหนามที่จะมาจับกับเซลล์มนุษย์แล้วเข้าไปทำอันตราย เปรียบเทียบง่ายๆ ตอนสายพันธุ์เดลตา กลายพันธุ์ที่สไปค์โปรตีนแค่ 9 ตำแหน่ง แต่นี่ 32 ตำแหน่ง จึงต้องจับตากันต่อไปว่าที่กลายพันธุ์จะมีปัญหาหรือไม่ แต่ขณะนี้เป็นข้อสันนิษฐาน ส่วนในโลกความเป็นจริงว่าจะมีอิทธิฤทธิ์ยังมีข้อมูลไม่มากพอ

“บางส่วนน่าจะเพิ่มอำนาจการแพร่เชื้อได้มากขึ้น บางส่วนน่าจะหลบภูมิคุ้มกันได้พอสมควร… รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่การพบเชื้อ พบว่าการตรวจ CT ค่อนข้างต่ำ หมายความว่าเชื้อจะค่อนข้างเข็มข้นในแต่ละรายที่ตรวจพบ ไม่ได้หายาก… สะท้อนว่ามันอาจจะมีการแพร่หรือติดเชื้อได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น เป็นข้อสันนิษฐานที่ต้องติดตามกันต่อไป”

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า  จากการตรวจทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 400-500 ตัวอย่าง ยังพบว่าในบ้านเรา โควิดที่ระบาดหลักยังคงเป็นเดลตา ส่วนอัฟฟ่า เบตา เล็กน้อย โดยขณะนี้ WHO ขอความร่วมมือให้ทุกประเทศตรวจและส่งไปที่ gisaid เพื่อจะหาว่า สายพันธุ์ B.1.1.529 แพร่ไปแล้วแค่ไหน ซึ่งขณะนี้อย่างในสหรัฐอเมริกายังไม่พบ ยืนยัน เรากำลังประสานกับผู้ตรวจ (คู่สัญญารพ.เอกชน) ให้ส่งตัวอย่างที่เป็นบวกทุกตัวมาที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะได้ทราบว่า 100 กว่ารายที่เคยบวกตกลงมีสายพันธุ์นี้บ้างหรือไม่อย่างไร และจะเข้มงวดในการตรวจมากขึ้น

“โอไมครอน ไม่ใช่ลูกหลานของ variant of concern (VOC) เดิม ไม่ใช่ลูกหลานา อัลฟ่า แกรมมา บีตา อะไรทั้งสิ้น เป็นการกลายพันธุ์เป็นตัวใหม่ พ่อแม่จริงๆ มาตั้งแต่รุ่นอู่ฮั่น… ข้อห่วงกังวลคือของเดลตกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง โดยเฉพาะใน Spike Protien 32 ตำแหน่ง อาจจะมีปัญหาได้… และไวรัสนี้ตรวจพบได้ด้วยวิธี RT-PCR “

“จากประสบการณ์ช่องทางที่ระแวดระวังอย่างมากส่วนใหญ่ไม่ค่อยเป็นปัญหา เราจะมีมาตรการอย่างครบถ้วน แต่สิ่งที่กังวล คือช่องทางกว่า 4,000 กิโลเมตร ขอความกรุณาฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ขอให้มีความเข้มงวดกวดขันในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศ รวมถึงประชาชนเองก็ขอความกรุณาการที่จะข้ามไปข้ามาโดยไม่บอกให้รัฐทราบ ไม่ได้เกิดปัญหาเฉพาะตัวท่าน มันเกิดปัญหาในภาพรวมของประเทศ ขอความกรุณางดอย่างจริงจัง ประเทศรอบบ้านเรา เราก็ไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรรั่วมาจากตรงไหนฝากทุกท่านไว้ด้วย” นพ.ศุภกิจ ระบุ

ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลังการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับประเทศต่างๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงมีมาตรการ ดังนี้

ประเทศที่พบสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือที่เรียกว่า ‘โอไมครอน’ จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่

– แอฟริกาใต้ South Africa

– บอตสวานา Botswana

– ซิมบับเว Zimbabwe

– นามิเบีย Namibia

– เลโซโท Lesotho

– เอสวาตีนี Eswatini

– โมซัมบิก Mozambique

– มาลาวี Malawi

1. ไม่อนุญาตให้เข้าราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 64

2. ไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนเข้าราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. 64

3. ผู้ที่ได้รับอนุญาตแล้ว (ก่อนหน้านี้) สั่งกักตัว เป็นเวลา 14 วัน ตั้งแต่ 27 พ.ย. 64

ส่วนประเทศในทวีปแอฟริกา นอกเหนือจาก 8 ประเทศ

1. ไม่อนุญาตให้เข้าในรูปแบบ Test and Go (63 ประเทศ/พื้นที่ ที่ประกาศก่อนหน้านี้ไม่มีประเทศเหล่านี้)

2. ไม่อนุญาตให้เข้าในรูปแบบ Sandbox

3. สามารถเข้าราชอาณาจักรได้โดยการกักตัวในสถานกักกันที่ราชการกำหนดเท่านั้นและไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมนอกห้องพักเป็นเวลา 14 วัน ตรวจ 3 ครั้ง

ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน พบผู้ที่เดินทางมาจากประเทศแถบแอฟริกา ตอนใต้ ซึ่งเข้ากักตัวแบบ Sandbox ที่ จ.ภูเก็ต ทั้งหมด 12 ประเทศ มีผู้เดินทางเข้ามาทั้งหมด 1,007 คน “ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด”

“อย่างไรก็ตามมาตรการต่างๆ คงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด การกลายพันธุ์ของเชื่อมีตลอดเวลา แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้แถบแอฟริกาตอนใต้ จะมีการกลายพันธุ์ค่อนข้างมาก นอกจากเรื่องของการป้องกันแล้ว วัคซีนก็เป็นอีกประการที่สำคัญ อย่างที่เราทราบทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่ฉีดวัคซีนน้อยที่สุด เพราะฉะนั้นสิ่งที่พี่น้องประชาชนจะร่วมมือให้ประเทศไทยเราปลอดภัย มีความมั่นคงยิ่งขึ้น คือคนที่ยังไม่ฉีด ขออนุญาตถ้าท่านไม่มีข้อห้ามในการฉีดให้มาฉีด

อีกประการหนึ่งท่านที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 2 เข็ม 3 เข็ม บางท่านก็กังวลว่าภูมิจะตกหรือเปล่า จากข้อมูลที่เราได้ติดตามมาพบว่า คนที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้ระดับดีมากประมาณ 5-6 เดือน เพราะฉะนั้นท่านที่ฉีดวัคซีนไปแล้วไม่ว่าสูตรใดใด เดี๋ยวรอฟังประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งขณะนี้เราเตรียมวัคซีนฉีดบูสเตอร์โดสให้ท่านเรียบร้อยแล้วเพื่อให้แน่นใจว่าจะช่วยลดการติดเชื้อ ให้ภูมิคุ้มกันสูงขึ้น แต่ที่สำคัญคือลดการป่วยหนักและลดการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยยะสำคัญ” อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุ

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า