SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดข้อมูลล่าสุดโควิดสายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ แพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 2 –  5 เท่า ส่วนใหญ่อาการคล้ายไข้หวัด ยังไม่มีมีผู้เสียชีวิต 

วันที่ 6 ธ.ค. 2564  นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคโควิด-19 และสายพันธุ์โอไมครอนว่า การกลายพันธุ์ของโควิดเราพบตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือกลายพันธุ์แล้วทำให้แพร่เร็วขึ้น รุนแรงมากขึ้นดื้อต่อยารักษายาและวัคซีนประสิทธิภาพลดลงหรือไม่ 

ที่ผ่านมามีการกลายพันธุ์ที่สำคัญ 4 ตัว คือ อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา ซึ่งไทยเจอ 3 สายพันธุ์ ตอนนี้คือเดลตาเป็นสายพันธุ์หลัก ที่ระบาดเร็วอาการรุนแรงมากขึ้น วัคซีนลดประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแต่ยังป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิต 

ส่วนที่ประกาศล่าสุด คือ โอไมครอน ซึ่งเรียกได้ทั้ง โอมิครอน หรือ โอไมครอน ถือว่าผ่านไป 1 ปีเพิ่งมีสายพันธุ์ที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม

นพ.โอภาสกล่าวว่า ขณะนี้รูปแบบการระบาดของโควิดจะใกล้เคียงหวัดใหญ่ในอดีต ที่เมื่อระบาดเยอะๆ จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นความรุนแรงดูลดน้อยลง อย่างโอไมครอน เมื่อติดตามทั่วโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่ายังไม่มีเสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้แม้แต่รายเดียว ซึ่งตรงกับหลายหน่วยงานที่ระบุว่า ความรุนแรงของสายพันธุ์โอไมครอน น้อยกว่าเดลตามาก

สำหรับต้นกำเนิดโอไมครอนเกิดที่แถบแอฟริกาใต้ เมื่อปลาย ต.ค. – ต้น พ.ย. มีการพุ่งขึ้นของผู้ป่วย จึงไปดูรหัสพันธุกรรมพบมีการกลายพันธุ์ จึงรายงานองค์การอนามัยโลก เพื่อเตือนประชาชนทั่วโลกว่าพบสายพันธุ์ใหม่ มีการประกาศจับตาใกล้ชิด ซึ่ง 1 เดือนทั่วโลกมีการหาสายพันธุ์นี้ ขณะนี้พบ 46 ประเทศ แต่ต้องแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ติดเชื้อภายในประเทศ ตอนนี้มี 15 ประเทศ และพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศ 31 ประเทศ ล่าสุดเติมประเทศไทยเป็นประเทศที่ 47 

นพ.โอภาส กล่าวว่า เชื้อโควิดกลายพันธุ์โอไมครอน เป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดเร็ว 2 – 5 เท่า ส่วนใหญ่อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือไม่มีอาการ หรืออาการน้อย ลักษณะการติดเชื้อแยกยาก จากสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งเดลตา อัลฟา แกมมา แต่ที่มีรายงานจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและไม่มีรายงานการเสียชีวิต 

สิ่งสำคัญขณะนี้มาตรการที่องค์การอนามัยโลก และ CDC สหรัฐ แนะนำคือ ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด โดยประเทศไทยขณะนี้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 95 ล้านกว่าโดส โดยเฉพาะคนฉีดเข็ม 1 ในคนไทยครอบคลุมเกิน 75% แล้ว และเข็มที่ 2 เกิน 60กว่า% และขณะนี้กำลังบูสเตอร์โดสเข็ม 3  โดยขอให้รอฟังประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่า ครบ 2 เข็มเดือนไหน และจะให้ฉีดบูสเตอร์โดสเมื่อไหร่ คาดว่าเดือน ธ.ค.-ม.ค. จะมีการฉีดบูสเตอร์โดสมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลที่เข้มงวดต่อไป ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ยังเป็นมาตรการสำคัญ และมีการยกระดับการเฝ้าระวังทั้งช่องทางเข้าออกประเทศและสถานที่ท่องเที่ยว สุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยกลุ่มคลัสเตอร์ รวมถึงส่งตัวอย่างเชื้อในรายที่น่าสงสัยให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ตรวจหาสายพันธุ์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า