Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘อมก๋อย’ โด่งดังเป็นกระแสขึ้นมาอีกครั้งคลิปวีดีโอของยูทูปเบอร์สาว ‘พิมรีพาย’ workpointTODAY พามาดูปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ต้องเผชิญกัน

1.โครงการผันน้ำยวม 70,000 ล้าน โดยรัฐวิสาหกิจจีน

โครงการสร้างอุโมงค์ผันนี้ำจากแม่น้ำยวมไปยังเขื่อนภูมิพลเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าและชลประทาน ต้นทางคือบริเวณแม่น้ำสองสี “แม่น้ำเงา” และ “แม่น้ำยวม” สร้างอุโมงค์ยักษ์ตัดอมก๋อยที่ยังต้นน้ำที่จะไหลลงเขื่อนภูมิพลเพื่อนำน้ำมาเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าและบริการจัดการน้ำเพื่อทำการเกษตรใต้เขื่อน

อย่างไรก็ดี ระหว่างทางต้องขุดอุโมงค์ยาวตลอดตัดพื้นที่หลายหมู่บ้านในอ.อมก๋อย ทำให้ประชาชนในพื้นที่กังวลว่าที่ดินที่อยู่อาศัยยจะถูกเวนคืน กังวลว่าการขุดเปิดช่องออกมาเอาดินออกมากองจนทำการเกษตรไม่ได้ ไม่ไว้ใจเรื่องการบำรุงรักษาว่าถ้านานวันไปจะสร้างความเสียหายหรือไม่ ตลอดจนเรื่องการชดเชยหากต้องมีใครสละที่ดินไป

งบประมาณโครงการนี้ มีมูลค่าราว 70,000 ล้านบาท ตอนนี้บริษัทต้าถัง ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนประมูลได้ อัพเดทล่าสุดมีนาคมปีที่แล้วนายวีระกร คำประกอบ  กมธ. พิจารณาศึกษาแนวทางบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวบีบีซีว่า  อยู่ในขั้นตอนที่บริษัทจีนกำลังจะยื่นทีโออาร์ส่งให้รัฐบาลไทย ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย จีนจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งสองโครงการไม่เกิน 3 ปี

โครงการเหมืองถ่านหินกะเบอดิน

ที่หมู่บ้านกะเบอดิน มีการสร้างเหมืองถ่านหินซับบิทูมินัสเพื่อป้อนอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์  ทำให้ประชาชนกังวลว่าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนจากการเบี่ยงทางน้ำเพื่อเปิดทางให้ขุดเจาะ มีปัญหามลพิษทางน้ำและอากาศ ตามมาด้วยปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน

เรื่องนี้สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม รายงานว่า ชัยยุทธ สุขเสริม หัวหน้ากลุ่มกำกับดูแลผู้ประกอบการ สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต 3 เชียงใหม่ กล่าวเมื่อปี 2019 ว่าการทำเหมืองแร่ถ่านหินในพื้นที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นควันเพราะถ่านหินจากเหมืองอมก๋อยจะถูกเคลื่อนย้ายไปเผาที่ลำปางเพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์

อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาจากการดำเนินอุตสาหกรรมเหมืองในประเทศไทย ก็มีหลายตัวอย่างที่ทำให้ประชาชนกังวลเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะตัวอย่างที่ผ่านเมาเรื่องความโปร่งใสในการทำให้กระทบสิ่งแวดล้อมที่สุดและการชดเชย เยียวยา ฟื้นฟู ก็ยังมีหลายพื้นที่ที่เป็นปัญหาให้เห็น

นโยบายทวงคืนผืนป่าผลักกลุ่มชาติพันธ์ออกจากพื้นที่ทำกิน

ปี 2557 คสช.ออก “นโยบายทวงคืนผืนป่า” ตามคำสั่ง คสช. ที่ 64 และ 66/2557 ทำให้เกิดการยึดที่ดินทำกินในหลายพื้นที่ พื้นที่อมก๋อยก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งผลกระทบที่ตามมาก็คือคนที่อยู่ในป่าที่ไม่มีโฉนด โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธ์ที่ทำไร่ อยู่กินด้วยเศรษฐกิจรากฐานไม่มีที่ดินทำกิน ส่งผลให้เศรษฐกิจของพวกเขาเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการหางานรับจ้าง ส่งผลกระทบถึงวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาติพันธ์ุและเข้าสู่วงจรเศรษฐกิจแบบยากจน

โครงการทวงคืนผืนป่าเป็นโครงการที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามของแนวคิดการอนุรักษ์ป่า ในส่วนของแนวคิดเบื้องหลังนโยบายนี้มองว่าการอนุรักษ์ป่าคือการเอาคนออกมาทั้งหมด กั้นพื้นที่ป่าไว้ ป่าก็อยู่ส่วนป่า คนก็อยู่ส่วนคน แต่ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีเทรนการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ที่มองว่าป่ากับคนอยู่ด้วยกันได้ โดยชุมชนพื้นถิ่นที่ตั้งหลักปักฐานกับป่ามาเวลาเนิ่นนานนี่แหละจะเป็นผู้อนุรักษ์ป่าได้ดีที่สุด

คำถามที่ถามตรงกันจากทั้ง 3 โครงการคือการกำหนดนโยบายจากส่วนกลางมีความเป็นธรรม และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมเพียงใด เช่น โครงการการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบถึงสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แต่ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งเสียสละทรัพยากรกลับได้รับประโยชน์น้อยหรือได้รับแต่ผลเสีย จึงนำมาซึ่งการเรียกร้องในการฟังเสียงสิทธิชุมชน การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น เพื่อให้เจ้าของพื้นที่เป็นผู้ตัดสินใจใช้ทรัพยากรของตนเองเพื่อประโยชน์ของตนเอง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า