SHARE

คัดลอกแล้ว

5 ค่าย จะมีการประมูลความถี่กันภายในวันนี้ ซึ่งคาดว่า เอไอเอส และทรู สู้เดือดร่วมประมูลมากสุด 3 คลื่นช่วงชิงความเป็นเบอร์หนึ่งในการให้บริการ 5G ด้าน กสทช. คาดจะนำส่งเข้ารัฐ จำนวนกว่า 70,000 ล้านบาท

วันนี้ (16 ก.พ.63) ตั้งแต่เวลา 07.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 700, 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์

จากเดิมที่เปิดประมูล 4 คลื่นความถี่ ได้แก่ ย่าน 700, 1800, 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์ เนื่องจากย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีผู้ให้บริการ (โอเปอเรเตอร์) ยื่นคำขอรับใบอนุญาต จึงจัดการประมูลใน 3 ย่านความถี่ดังกล่าว โดยโอเปอเรเตอร์ที่เข้าร่วมการประมูล ได้แก่

1.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส

2.บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

3.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (ดีทีเอ็น) ในเครือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค

4.บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท

5.บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

สำหรับคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ มีโอเปอเรเตอร์เข้าประมูล 3 ราย ได้แก่ เอดับบลิวเอ็น, ทรู มูฟ เอช และแคท โดยคลื่นความถี่นำออกประมูล จำนวน 3 ชุด ชุดละ 5 เมกะเฮิรตซ์ รวม 15 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 440 ล้านบาท

ทั้งนี้ โอเปอเรเตอร์ 3 รายดังกล่าว ยังเข้าประมูลในคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ด้วย จำนวน 19 ชุด ชุดละ 10 เมกะเฮิรตซ์ รวม 190 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 93 ล้านบาท

ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ มีโอเปอเรเตอร์เข้าประมูล 4 ราย ได้แก่ เอดับบลิวเอ็น, ทรู มูฟ เอช, ดีทีเอ็น และทีโอที โดยคลื่นความถี่นำออกประมูล 27 ชุด ชุดละ 100 เมกะเฮิรตซ์ รวม 2700 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 22 ล้านบาท

สำหรับขั้นตอนการประมูล ได้เริ่มให้ผู้เข้าร่วมประมูลลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 07.30 น. เป็นต้นไป จากนั้นในเวลา 08.15 น. ผู้เข้าร่วมประมูลเตรียมตัวในจุดที่กำหนด ก่อนเริ่มพิธีเปิดในเวลา 08.20 น. โดยพล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ประธาน กสทช.) เป็นผู้จับฉลากรายชื่อผู้เข้าร่วมประมูลว่ารายใดจะได้ทำการจับฉลากเลือกเลขห้องประมูล และเลือกซองบรรจุ Username และรหัสผ่านตามลำดับ ก่อนเข้าห้องประมูลในเวลา 09.00 น.

ทั้งนี้ในเวลา  09.20 น. ผู้เข้าร่วมการประมูลจะทำการ Log in เข้าระบบ ก่อนเริ่มการประมูลในคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ เป็นลำดับแรกในเวลา 09.30 น. ตามด้วยคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ โดยในการประมูลรอบแรกของแต่ละย่านความถี่ ผู้เข้าร่วมประมูลต้องเสนอความต้องการชุดคลื่นความถี่ในย่านความถี่ที่ได้มีการวางหลักประกันไว้ หากไม่มีการเสนอความต้องการชุดคลื่นความถี่นั้นจะพ้นจากสถานะผู้เข้าร่วมการประมูล และถูกริบหลักประกันการประมูล

ทั้งนี้ ภายใต้กฎการประมูล กำหนดให้ทำการประมูลคลื่นความถี่เป็นรายย่าน โดยเรียงลำดับจากย่านความถี่ต่ำไปย่านความถี่สูง คือ ย่าน 700, 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์ ในรูปแบบการประมูลแบบคล็อกออกชั่น ซึ่งแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่

1.ขั้นตอนการจัดสรรชุดคลื่นความถี่ โดยรอบแรก ผู้เข้าประมูลจะต้องทำการประมูล หากไม่ดำเนินการจะถูกยึดหลักประกันการประมูลตามจำนวนเงินในแต่ละย่านความถี่ สำหรับรอบที่สอง ผู้เข้าประมูลมี 2 ทางเลือก คือ คงความต้องการชุดคลื่นความถี่ หรือลดความต้องการ โดยต้องระบุความต้องการและระดับราคาที่ประสงค์มีหน่วยเป็นล้านบาท ทั้งนี้ การประมูลในขั้นตอนนี้จะสิ้นสุดเมื่อความต้องการชุดคลื่นความถี่รวมน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนชุดคลื่นความถี่ที่เปิดประมูล

2.ขั้นตอนการกำหนดย่านความถี่ โดยผู้ชนะการประมูลจากขั้นตอนที่ 1 จะต้องเลือกย่านความถี่ ภายในเวลา 20 นาที โดยระบบการประมูลจะสร้างทางเลือกให้แก่ผู้เข้าประมูลแต่ละราย ซึ่งหลังจากประมูลครบทุกย่านแล้วจะมีการประชุมร่วมกันเพื่อตรวจสอบและรับรองผลการประมูล

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. (แฟ้มภาพ)

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เผยว่า คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ จะมีการแข่งขันดุเดือด ถัดมาคือคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ โดยการประมูลเป็นที่จับตาว่า เอไอเอส และทรู น่าจะต้องการช่วงชิงความเป็นเบอร์หนึ่งในการให้บริการ 5G และต้องการชำระเงินทันทีที่ได้รับใบอนุญาต เพราะต้องการเป็นเบอร์หนึ่งในตลาด จึงต้องลุ้นกันว่าโอเปอเรเตอร์รายใดจะเป็นผู้ลงทุน 5G ก่อนกัน

ส่วนดีแทค ซึ่งเข้าประมูลในคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ เพียงย่านเดียว เนื่องจากคลื่นความถี่ย่านดังกล่าวยังไม่พร้อมให้บริการ เพราะอุปกรณ์ยังไม่รองรับ ซึ่งอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าดีแทคในการเปิดให้บริการ 5G ไม่น้อย

https://www.facebook.com/ONBTC/videos/582275262363284/

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า