SHARE

คัดลอกแล้ว

Rug Pull หรือปรากฎการณ์ ‘ล้มทั้งยืน’ ศัพท์แสงวงการคริปโตเคอร์เรนซี มักเอาไว้เรียกเหตุการณ์ที่นักลงทุนถูกเจ้าของโปรเจคเทขายเหรียญใส่ก่อนเชิดเงินหนี หรือถูกเจ้าของแพลตฟอร์ม DeFi โกงเงินปิดแพลตฟอร์มหนี เป็นต้น

หนึ่งในปรากฎการณ์ Rug Pull ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเหรียญ Squid Game ที่ราคาเหรียญโดบเจ้ามือทุบจากระดับ 3,000 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 0 ดอลลาร์ภายในเสี้ยววินาทีเท่านั้น ด้วยมูลค่าความเสียหายราว 400 ล้านบาท

สำหรับที่มาที่ไปของคำว่า Rug Pull แปลตรงตัวได้ว่า “การดึงพรม” เพื่อเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่นักลงทุนล้มทั้งยืนอย่างรุนแรงภายหลังถูกดึงพรม (ซึ่งในที่นี้คือสภาพคล่อง) ออกไป

อย่างไรก็ตาม Rug Pull ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่พึ่งเกิดในวงการคริปโตฯ โดยหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์โลกอย่างการยกเลิกรับแลกเงินดอลลาร์กับทองคำในปี 1971 ก็ถือเป็นการ Rug Pull เช่นกัน เพราะส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าอย่างรุนแรงในปีดังกล่าว

Rug Pull ทำงานยังไงในโลกคริปโตฯ

วิธีการเบสิคใน Rug Pull นักลงทุนในโลกคริปโตฯ เริ่มต้นจากเจ้าของโปรเจ็กต์สร้างเหรียญๆ หนึ่งขึ้นมา ก่อนจะนำเหรียญดังกล่าวไปโฆษณาต่อเพื่อให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น เช่น การโฆษณาด้วยชื่อเสียงของผู้สร้างหรือบุคคลที่เป็นที่รู้จัก รวมถึงการโฆษณาชวนเชื่อถึงโอกาสการใช้งานและการสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต โดยเจ้าของโปรเจ็กต์บางรายอาจเพิ่มความเชื่อมั่นให้ผู้ลงทุนด้วยการผูกเหรียญที่สร้างขึ้นกับคริปโตฯ ที่มีมูลค่าในตลาดอยู่แล้ว เช่น บิตคอยน์ อีเธอเรียม หรือริปเปิ้ล เป็นต้น

ภายหลังนำเหรียญที่สร้างไปลิสต์ในศูนย์ซื้อขาย (Exchange) ซึ่งส่วนมากจะเลือกเป็นกระดานเทรดที่ไร้ตัวกลางควบคุม หรือ Decentralized Exchange (DEX) ก็รอเพียงจังหวะให้ราคาเหรียญพุ่งขึ้นตามที่โฆษณาเอาไว้ และเทขายเหรียญทั้งหมดออกมา

เมื่อถึงจุดที่เจ้าของโปรเจ็กต์ดึงสภาพคล่องทั้งหมดออกมาจากตลาด ก็ย่อมส่งผลให้ราคาเหรียญปรับลงอย่างรุนแรง เช่น ในกรณีของเหรียญ Squid Game ที่ราคาเหรียญดิ่งลงอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นโทเคนไร้ค่าภายในเสี้ยววินาที โดยผู้ซื้อที่มีเหรียญในมือก็ไม่สามารถนำเหรียญไปซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดได้ เพราะไม่มีนักลงทุนในตลาดรับซื้อเหรียญที่เจ้าของถอนทุนออกหมด นอกจากจะไม่มีอนาคตแล้วยังยากที่ราคาจะกลับมาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง

3 กลโกง Rug Pull ที่นักลงทุนควรรู้

สำหรับวิธีการ Rug Pull ที่ผู้สร้างเหรียญมักใช้หลอกนักลงทุน เบื้องต้นแบ่งได้ 3 วิธี ได้แก่

1. การดึงสภาพคล่องออกจากระบบ ซึ่งเป็นวิธีการคลาสสิกที่ได้กล่าวไปข้างต้น

2. การเขียนโค้ดเพื่อล็อกให้ผู้ลงทุนที่ซื้อเหรียญไม่สามารถขายเหรียญออกมาได้

3. การสแกมเงินในกระเป๋าเงิน (Wallet) ของผู้ลงทุน ซึ่งวิธีการสุดท้ายอาจมาจากการติดตั้ง Malware โดยไม่ได้ตั้งใจของผู้ลงทุนเอง ผ่านการเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ รวมถึงการเขียนโค้ดเพื่อแฮกกระเป๋าเงินผู้ลงทุน แต่ไม่ว่าจะถูก Rug Pull ด้วยวิธีการใด ก็ไม่สามารถตามติดตามเงินกลับคืนมาได้

8.5 หมื่นล้าน คือ มูลค่าการ Rug Pull ที่สูงสุดในโลก

Chainalysis สถาบันวิจัยบล็อกเชนที่ได้รับความเชื่อถือจากองค์กรชั้นนำ เปิดเผยสถิติ Rug Pull ในปี 2564 โดยพบว่า Rug Pull กลายเป็นวิธีการสแกมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปีที่ผ่านมา ภายหลังมูลค่าความเสียหายจาก Rug Pull พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 37% เทียบกับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสแกมทั้งหมดในตลาดคริปโตฯ จากปี 2563 อยู่ที่ 1% เท่านั้น โดยมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 9.2 หมื่นล้านบาท

สำหรับ 5 อันดับเหรียญที่สร้างความเสียหายสูงสุด ได้แก่

1) Thodex เว็บเทรดบิตคอยน์แห่งแรกของตุรกี โดยเว็บไซต์ดังกล่าวปิดตัวลงกระทันกันในเดือน เม.ย.2564 ก่อนจะมีรายงานข่าวว่าผู้ก่อตั้ง Faruk Fatih Özer ได้หอบเงินกว่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 8.5 หมื่นล้านบาท บินออกนอกประเทศไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แม้จะมีกระแสข่าวพบเห็นเขาในแอลเบเนียและไทยในเวลาต่อมา แต่ยังไม่มีใครยืนยันข้อมูลหรือตามตัวได้เป็นเวลากว่า 9 เดือนแล้ว

2) AnubisDAO แพลตฟอร์มระดมทุนโทเคนที่โอนเงินผู้ลงทุนออกจากแพลตฟอร์มหลังเปิดให้บริการเพียง 20 ชั่วโมง มูลค่าความเสียหาย 58.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 1.9 พันล้านบาท

3) Uranium Finance โปรเจค DeFi ที่ถูกแฮกข้อมูล มูลค่าความเสียหาย 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 1.6 พันล้านบาท

4) DeFi100 ระบบฟาร์มคริปโตฯ ที่เชิดเงินนักลงทุนไป 32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 1.05 พันล้านบาท

5) Meerkat Finance อีกหนึ่งโปรเจค DeFi ที่ปิดตัวลง มูลค่าความเสียหาย 31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 1.02 พันล้านบาท

แม้แต่ในไทยก็มี Rug Pull

ณ ปัจจุบันยังไม่มีเคส Rug Pull ในประเทศที่เจ้าของโปรเจคตั้งใจเทขายเหรียญหรือปิดแพลตฟอร์มทิ้งเพื่อโกงนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางปี 2564 เกิดเคสที่ผู้ลงทุนได้รับความเสียหายจากที่การลงทุนในโปรเจค DeFi โดยเป็นกรณีของเหรียญ Genesis แพลตฟอร์ม DeFi บน Binance Smart Chain ภายหลังราคาเหรียญปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว และทำให้นักลงทุนได้รับความเสียหาย โดยมีนักลงทุนบางรายตั้งข้อสังเกตว่าหนึ่งในผู้พัฒนาโปรเจคอาจเป็นผู้ที่เทขายเหรียญออกมา

ขณะที่ทีมพัฒนาแจ้งกับผู้ลงทุนในเวลาต่อมาว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมเปิดแบบฟอร์มให้ผู้ลงทุนกรอกข้อมูลแสดงความจำนงในการขอรับการเยียวยา ส่วนกลุ่มผู้ลงทุนที่ได้รับความเสียหายมีการรวมตัวกันเพื่อฟ้องร้อง แต่ปัจจุบันไม่มีความคืบหน้าใดๆ เพิ่มเติมจากทั้ง 2 ฝั่ง

7 เช็กลิสต์ป้องกันถูก Rug Pull

สำหรับเช็กลิสต์ที่ผู้ลงทุนสามารถสำรวจตัวเองง่ายๆ ก่อนเข้าลงทุน ได้แก่

  1. ความน่าเชื่อถือของผู้พัฒนา เช่น เจ้าของโปรเจคมีตัวตนหรือไม่ หากมีตัวตนแล้วเป็นใคร เคยทำอะไรมาบ้าง หรือเคยมีส่วนร่วมกับโปรเจคอื่นๆ หรือไม่
  2. ความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์ม หากเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือเป็นกระดานเทรดแบบ DEX ก็อาจเสี่ยงถูก Rug Pull ได้ง่ายขึ้น รวมถึงเหรียญที่เจ้าของโปรเจคกำหนดให้เทรดในตลาดใดตลาดหนึ่งเท่านั้น ก็อาจมีความเสี่ยง Rug Pull รออยู่ข้างหน้า
  3. ความน่าเชื่อถือของคอมมูนิตี้ ซึ่งต่อเนื่องจากความน่าเชื่อถือของทีมผู้พัฒนา โดยทำได้ง่ายๆ จากการสังเกตพฤติกรรมการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ลงทุนในกลุ่ม การโต้เถียงกันอย่างสร้างสรรค์ กล่าวคือ หากมีผู้ลงทุนที่ตั้งข้อสังเกตหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับโปรเจค เจ้าของโปรเจคสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ ซึ่งหากเป็น Rug Pull ผู้ลงทุนอาจถูกตอบกลับในวิธีที่ไม่สร้างสรรค์ ไปจนถึงการถูกบล็อก
  4. ความเหมาะสมของผลตอบแทน ในกรณีที่ลงทุนในแพลตฟอร์ม DeFi บางโปรเจคอาจเสนออัตราผลตอบแทนในระดับที่สูงเกินจริงเพื่อจูงใจให้นักลงทุนนำเงินเข้ามาใส่ในแพลตฟอร์ม เช่น อัตราผลตอบแทนต่อปี (APY) 100% ซึ่งในความเป็นจริงเป็นไปได้ยาก ผู้ลงทุนอาจตั้งข้อสังเกตและพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมก่อนลงทุน
  5. ความสมเหตุสมผลของราคาซื้อขาย ซึ่งคล้ายกับเช็กลิสต์ข้อที่ 4 แต่เป็นกรณีของเหรียญคริปโตฯ หากราคาพุ่งสูงเกินไปก็มีความเสี่ยงที่จะถูก Pump and Dump กล่าวคือ การที่เจ้าของโปรเจคอัดเงินเป็นจำนวนมากเพื่อปั่นราคาเหรียญให้สูงเพื่อดึงดูดผู้ลงทุน ก่อนจะเทขายเหรียญออกมาเมื่อราคาปรับขึ้นจากการเข้าเก็งกำไร
  6. สภาพคล่องในตลาด โดยโปรเจคที่ดีควรมีสภาพคล่องที่สูงระดับหนึ่ง รวมถึงมีการเปิดเผยข้อมูลสภาพคล่องของเหรียญหรือแพลตฟอร์มให้ผู้ลงทุนได้รับทราบ และมีการกำหนดระยะเวลาการถือครองของผู้พัฒนาโปรเจคเพื่อป้องกันไม่ให้ถอนสภาพคล่องออกจากระบบ
  7. ความน่าเชื่อถือของโค้ด ข้อสุดท้ายอาจเป็นข้อที่ยาก เพราะต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโค้ด ซึ่งผู้ลงทุนอาจใช้วิธีการเลือกลงทุนในเหรียญที่ได้รับการตรวจสอบโค้ด (Code Audit) จากบริษัทผู้ตรวจสอบ (Auditor) ที่น่าเชื่อถือ เช่น Certik, Inspex, ChainSecurity ฯลฯ อย่างไรก็ตาม บางครั้ง Auditor ก็มองไม่เห็นเทคนิคที่ผู้พัฒนาเหรียญสร้างไว้ Rug Pull ดั้งนั้น ผู้ลงทุนควรพิจารณาหลายๆ องค์ประกอบรวมกันก่อนตัดสินใจลงทุน

สุดท้ายนี้ การเงินแบบไร้ศูนย์กลาง (Decentralized Finance) เป็นเสน่ห์ของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล เพราะจุดประสงค์หนึ่งในการพัฒนาก็เพื่อลดต้นทุนตัวกลาง ลดการผูกขาดของผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด และเพิ่มอธิปไตยทางการเงินให้แก่ผู้ใช้บริการทุกคน จึงมีผู้ลงทุนไม่น้อยที่มองว่าการป้องกันตัวเองและการทำการบ้านก่อนลงทุนเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกัน Rug Pull อีกทั้งมองว่าการที่ผู้ลงทุนที่ได้รับความเสียหายรวมตัวกันร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท้ายที่สุดตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอาจถูกบีบให้มีผู้กำกับดูแลในอนาคต

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า