SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดมุมมองจากนักการตลาดด้านข้อมูล “ณัฐพล ม่วงทำ” เจ้าของแฟนเพจ “การตลาดวันละตอน” วิเคราะห์การขยับก้าวสำคัญของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB ที่ลงมาเล่นธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่ เปิดตัว Robinhood แพลตฟอร์มสัญชาติไทย ที่มีจุดแข็ง “ฟรี GP”

ณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของแฟนเพจ การตลาดวันละตอน วิเคราะห์แอปพลิเคชัน โรบินฮู้ด (Robinhood) แพลตฟอร์มฟู้ด เดลิเวอรี่ (food delivery) ใหม่ของ SCB ว่า เป็นการขยับที่ดี เพราะตลาดได้เรียนรู้การใช้แล้ว ผู้บริโภคพร้อมและคุ้นเคยกับ แพลตฟอร์มฟู้ด เดลิเวอรี่ คือถ้ามาเมื่อ 3-4 ปีก่อนคงยังไม่ดี แต่มาวันนี้ทุกคนพร้อม

และยังมาพร้อมกับจังหวะที่หลายคนเริ่มบ่น เรื่องค่าอัตรากำไรขั้นต่ำ (GP) ที่สูงมาก จากบรรดาเจ้าเก่า ถึงขนาดเป็นหัวข้อในเว็บไซต์ change.org ที่ให้คนไปลงชื่อโหวต ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้ SCB อยากจะลงมาทำ เพราะเท่าที่ดู เขาไม่ได้ตั้งเป้าว่าต้องเป็นยูนิคอร์น หรือบริษัทสตาร์ทอัพ (Startup) แต่เขาอยากทำให้คนไทยมีทางเลือกมาขึ้น

แม้ SCB เข้ามาจับแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่โดยไม่ได้หวังเรื่องกำไรเป็นหลัก แต่ด้วยความเป็นเจ้าใหญ่ เป็นธนาคารเอง แถมมีไฟแนซ์เชียลหนุนหลัง สามารถนำสิ่งที่จะได้ คือ “ข้อมูล” ไปต่อยอดสู่การทำธุรกิจโดยเฉพาะ “สินเชื่อ” ใหม่ๆ ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่เป็นเจ้าของร้านอาหาร หรือแม้แต่ผู้บริโภคเอง ลูกค้าของธนาคารก็ได้ข้อมูลใหม่ๆ ว่า ไลฟ์สไตล์ การกินของคนเป็นอย่างไร ทำเงินอื่นๆ ต่อได้อีกมาก

ส่วนรายได้ SCB ก็ต้องได้อยู่แล้ว แต่ไม่ถึงกับว่าต้องมีกำไรมาก ไม่เหมือนเจ้าอื่นที่ทำธุรกิจโดยต้องแย่งชิงลูกค้าเพื่อให้ได้กำไรกลับมา โดยดูจากเงินลงทุนปีแรกของ SCB กับ Robinhood นั้น อยู่ที่ 100 ล้านบาท ทำให้พออยู่ได้ก็พอแล้ว

การเกิดขึ้นของโรบินฮู้ดส่งผลดีกับบรรดาผู้ประกอบการรายย่อยโดยตรง

แน่นอนว่าเจ้าของร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม จะมี Robinhood เป็นอีกหนึ่งช่องทางเลือก ซึ่งถ้าเป็นตนเองก็จะใช้ทุกแพลตฟอร์ม แต่สุดท้ายจะพยายามให้ “คนสั่ง” ไปสั่งผ่านอะไรที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งการให้ฟรี GP ทำให้  SCB ไม่ต้องทำโฆษณาเองด้วยซ้ำ

เพราะปัจจุบันตลาดธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ค่อนข้างถูกจำกัดว่า GP ต้องอยู่ระหว่าง 25 – 35 % (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %) เหมือนเจ้าใหญ่ๆ ทุกคนเห็นพ้องตรงกันตรงนี้ แต่พอมีเจ้าหนึ่งลงมาแล้วบอกว่า “ฟรี” เชื่อว่าทุกเจ้าเดิมในวันนี้ประชุมกันอย่างหนัก ว่าจะปรับตัวอย่างไร เพราะไม่สามารถควบคุมตลาดได้เหมือนเดิมแล้ว

ธนาคารคู่แข่งของ SCB น่าจะขยับอะไรเร็วขึ้น

ในส่วนของธนาคารคู่แข่ง มองว่าน่าจะมีหลายธนาคารเริ่มเห็นแล้วว่า ตัวเขาเองสามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้ แต่ด้วยการที่เป็นธนาคาร องค์กรใหญ่ ติดกฎระเบียบ ข้อบังคับ สถาบันเก่าแก่ ทำให้ขยับยาก น่าจะจุดประกายให้ธนาคารอื่นเห็นเป็นกรณีศึกษาว่า “มัวทำอะไรอยู่” แผนก Innovation ที่มีสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่จริงๆ หรือยัง เพราะว่าโรบินฮูดก็เกิดภายใต้ SCB 10X (หน่วยงานใหม่ภายใต้ SCB ที่ตั้งขึ้นมาโดยคุณอาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอของ SCB) ซึ่งเป็น

เป็นวิธีการสร้างบริษัทที่จะทำให้เกิดการขยับธุรกิจได้จริงๆ  คือต้องแยกตัวออกมา เพราะถ้ามัวไปสร้างจากในองค์กรใหญ่ จากการศึกษามาหลายที่ไม่เคยเห็นเกิดสักที่ สุดท้ายก็โดนวัฒนธรรมเดิมครอบงำ แต่พอเป็นบริษัทใหม่ SCB 10X ที่มีวัฒนธรรมใหม่ เขาเร็วได้อย่างใจ อย่างที่สตาร์อัพ ควรจะเป็นจริงๆ หลายๆ ดังนั้นหลายธนาคารน่าจะได้เรียนรู้แล้วว่า แผนก innovation ที่มี สร้างได้เร็วพอที่ใช้คำว่า innovation หรือยัง

โดยมองว่า มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารอื่นอาจจะสนใจแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ แต่ยังไม่ใจว่าจะเปิดตัวเอง ที่แน่ๆ คือคงจะเห็นการขยับเร็วขึ้น เพราะการลงทุนในการส่วนของสายส่ง เช่น หารถมอเตอร์ไซค์มาวิ่งรับ-ส่งอาหาร ก็เป็นปัญหาใหญ่ จะเห็นว่า SCB ก็ร่วมมือกับ skootar ผู้ให้บริการแมสเซ็นเจอร์ด่วนให้มาช่วยดำเนินการ

นักการตลาดมองเห็นสิ่งท้าท้ายของ SCB ที่โดดมาสู่แพลตฟอร์ม ฟู้ดเดลิเวอรี่

ต้องรอดูว่าเมื่อผ่านช่วงเปิดตัวเข้าสู่การใช้งาน SCB จะไปเกณฑ์ร้านค้าให้มาใช้แพลตฟอร์มนี้ได้เยอะมากพอจนให้คนรู้สึกว่าเข้าแอปฯ นี้สะดวกกว่าแอปอื่นได้อย่างไรหรือไม่ และอีกส่วนสำคัญคือ “โปรโมชั่น ธุรกิจนี้เป็นการเผาเงิน คือเอาเงินมาเผาเพื่อแย่งลูกค้า ดังนั้น SCB จะทำอย่างไร ให้สั่งได้ถูกกว่า คุ้มกว่า จะบริหารจัดการอย่างไรให้อยู่รอด

นักการตลาดยุค 5G X  กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ จากที่ศึกษาหลายๆ แห่ง พบว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ไม่ได้โตขึ้นมาก และเริ่มชะลอตัว แต่คนได้เรียนรู้และมีการสั่งมากขึ้น โดยพบว่า 1 ในเมนูที่คนสั่งด้วยแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่มาก คือ ชานมไข่มุก ซึ่งก็จะเป็นโจทย์กับผู้เล่นทุกรายในตลาดนี้ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เผาเงินตัวเองเพื่อให้ได้ลูกค้า เพราะไม่ว่าจะลดค่า GP ให้มีโปรโมชั่นมากเท่าใด สุดท้ายก็ต้องมีคนจ่าย ไม่คนใดก็คนหนึ่งที่ต้องเฉือนเนื้อตัวเอง

ในที่สุดแล้ว Robinhood  จะได้รับความนิยมติดตลาดเหมือนเจ้าเดิมหรือไม่ ยังต้องตามการใช้งานเต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม แต่ที่แน่ๆ แอปฯ ที่ใช้ชื่อเดียวกับ “โรบินฮู้ด” วีรบุรุษนอกกฎหมายในคติชนอังกฤษ “ปล้นเงินคนรวยมาให้คนจน” น่าเป็น CSR  ที่ชาญฉลาด ในจังหวะที่รายได้กิจการธนาคารลดลงต่อเนื่องทุกปี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า