SHARE

คัดลอกแล้ว

นับเป็นปีที่สามของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ซึ่งเด็กและเยาวชนต้องใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์และเรียนผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เด็กหลายคนถูกปล่อยให้อยู่บนโลกออนไลน์โดยไม่มีการกำกับดูแลจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่อาจต้องทำงานนอกบ้านหรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่จะช่วยดูแลเด็ก ๆ

เมื่อเทคโนโลยีเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เล่นผ่อนคลาย ภัยคุกคามต่อเด็ก ๆ ก็มักจะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมาเพียงปีเดียว พบว่ามีเด็กในประเทศไทยประมาณ 400,000 คน ประสบปัญหาการถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศและล่วงละเมิดทางเพศผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเป็นตัวเลขประมาณการจากรายงานผลการศึกษาวิจัยโครงการ Disrupting Harm หรือ โครงการหยุดยั้งอันตราย ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การเอ็คแพท องค์การตำรวจสากล (หรืออินเตอร์โพล) และศูนย์วิจัยอินโนเซนติขององค์การยูนิเซฟ

รายงานฉบับใหม่นี้เผยให้เห็นถึงความจริงที่น่ากังวลของโลกปัจจุบันที่ว่า ร้อยละ 10 ของเด็ก ๆ อายุ 12-17 ปี ในประเทศไทยเคยนัดพบกับบุคคลแปลกหน้าที่รู้จักกันครั้งแรกผ่านโลกออนไลน์ และร้อยละ 29 ของเด็ก ๆ เคยพบเห็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศบนโลกออนไลน์โดยบังเอิญ ซึ่งอาชญากรรมทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในขณะที่เด็กใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือจากการนัดเจอกับบุคคลที่รู้จักกันผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งการถูกแบล็กเมล การถูกบังคับให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ หรือการที่ภาพที่ส่อไปในทางเพศของตัวเด็กถูกเผยแพร่ออกไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกระทำโดยบุคคลที่เด็กเคยรู้จักมาก่อน

ร้อยละ 10 ของเด็ก ๆ อายุ 12-17 ปี ในประเทศไทยเคยนัดพบกับบุคคลแปลกหน้าที่รู้จักกันครั้งแรกผ่านโลกออนไลน์ และร้อยละ 29 ของเด็ก ๆ เคยพบเห็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศบนโลกออนไลน์โดยบังเอิญ

ในฐานะที่ดิฉันเป็นแม่คนหนึ่งที่มีลูกวัยรุ่น ดิฉันเชื่อว่าเราต้องใช้ทุกโอกาสเพื่อส่งเสริมและนำทางเด็กทุกคนที่ต่างมีความเปราะบางแห่งวัยเยาว์เฉกเช่นเดียวกัน ให้พวกเขาเท่าทันกับวิถีชีวิตยุคใหม่ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านและอยู่กับหน้าจอ ด้วยการทำความเข้าใจกับความเสี่ยงบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่พวกเขาใช้งานอยู่ อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ติ๊กต๊อก หรืออินสตาแกรม และพูดคุยกันอย่างเปิดใจเกี่ยวกับกิจกรรมบนโลกออนไลน์ของเด็ก ๆ การใช้คำถามง่าย ๆ อย่าง “ลูกมีอะไรในใจไหม”  และจากนั้น รับฟังสิ่งที่เด็กๆ บอกเล่าอย่างอย่างตั้งใจ จะทำให้เป็นบทสนทนาที่เกิดขึ้นสามารถเข้าถึงจิตใจของเด็ก ๆ ซึ่งข้อค้นพบจากการวิจัย ย้ำเตือนอย่างหนักแน่นว่าเด็ก ๆ ทุกคนจำเป็นต้องมีทักษะทางดิจิทัลและสามารถใช้งานอย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย และรู้สึกไว้วางใจว่าพ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถเป็นที่พึ่งเมื่อพวกเขาต้องการขอความช่วยเหลือได้

โรงเรียนจำเป็นต้องมีนโยบายปกป้องคุ้มครองเด็กที่สะท้อนถึงข้อท้าทายและความเสี่ยงใหม่ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเรียนบนออนไลน์ คุณครูสามารถปลูกฝังการใช้งานโลกออนไลน์ที่ดี และส่งเสริมให้นักเรียน สามารถเข้าหาช่องทางปรึกษาได้ รวมทั้งไวต่อสัญญานความกลัดกลุ้มขุ่นข้องหมองใจที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานออนไลน์ของเด็ก ผลการสำรวจพบว่า มีเด็กเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ขอความช่วยเหลือจากสายด่วนหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราในฐานะพ่อแม่ คุณครู และผู้ปกครอง ที่ต้องปัดเป่าความรู้สึกอับอายและการกล่าวโทษเด็กผู้เสียหาย และต้องตระหนักรู้ว่ามีช่องทางการร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือจากที่ไหน และมีบริการสนับสนุนช่วยเหลืออย่างไรบ้าง

รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความมั่นใจว่ากฎหมายและนโยบายต่าง ๆ สามารถจัดการกับข้อท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่นี้ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ และนักสังคมสงเคราะห์ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งในการป้องกัน การตรวจจับ และการช่วยเหลือเด็กผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์และการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ แม้ว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยจะสามารถดำเนินการได้อย่างดี ทั้งการรับมือกับผู้กระทำผิดได้อย่างรวดเร็ว แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็ก ๆ และผู้ปกครองควรรู้เท่าทันความเสี่ยง รู้สิทธิของตน และได้รับการสนับสนุนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

สิ่งสำคัญอีกประการ คือ ภาคธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรต้องดำเนินการเชิงรุกที่มากกว่าการสร้างความตระหนักรู้ ด้วยการตรวจจับการกระทำผิด ทำงานร่วมกับผู้บังคับใช้กฎหมาย และนำเนื้อหาสื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศและล่วงละเมิดทางเพศเด็กออกจากระบบของตนโดยเร็ว ถึงเวลาแล้วที่ผู้ให้บริการและแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งหลาย ต้องนำเครื่องมือซึ่งเป็นนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อออกแบบบริการที่สร้างความปลอดภัยให้กับเด็กผู้ใช้งานออนไลน์ เสมือนกับการออกแบบเข็มขัดนิรภัยในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ช่วยปกป้องและรักษาชีวิตผู้คนหลายพันคนบนท้องถนนในแต่ละวัน

ยูนิเซฟ ได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนบนโลกดิจิทัลในประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อทำให้มั่นใจว่าระบบคุ้มครองเด็กครอบคลุมไปถึงความปลอดภัยของเด็กบนโลกออนไลน์อย่างเพียงพอ จากรายงานฉบับใหม่นี้ ได้แสดงข้อมูลสำคัญและแนวทางเสนอแนะ ที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐ การบังคับใช้กฎหมาย ระบบบริการทางสังคม ภาคธุรกิจ โรงเรียน และชุมชน ให้ร่วมผนึกกำลังกันและลงมือทำได้ทันที

ทุกภาคส่วนของสังคม ควรทำงานร่วมกันเพื่อประกันว่าเด็กทุกคนสามารถเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองดิจิทัลที่เชื่อมั่นว่าพวกเขาสามารถมีส่วนร่วมเชิงบวก คิดเชิงวิพากษ์ และปลอดภัยจากการใช้ชีวิตบนโลกที่กำลังมุ่งไปสู่ความเป็นดิจิทัลทุกขณะ  อาจจะกล่าวได้ว่า การดูแลเด็ก ๆ ในยุคดิจิทัลนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือกันของชุมชนดิจิทัล

อ่านรายงานหยุดยั้งอันตรายฉบับเต็มที่นี่

ภาพ: ยูนิเซฟ/Srikanth Kolari

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า