Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลตรวจคุณภาพน้ำส้มคั้นสดและน้ำส้ม 100% จาก 30 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้างกว่า 60% และยังพบสารกันบูดอีก 4 ตัวอย่าง  

วันที่ 15 พ.ย. 2562 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดเผยผลการทดสอบคุณภาพของน้ำส้มคั้น และน้ำส้มแท้ 100% จากจำนวนกว่า 30 ตัวอย่าง จากในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 24 ตัวอย่าง, เชียงใหม่ 1 ตัวอย่าง และน้ำส้มบรรจุกล่องผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ที่ระบุบนฉลากว่าน้ำส้ม 100 เปอร์เซ็นต อีกจำนวน 5 ตัวอย่าง ซึ่งผลตรวจสอบพบสารเคมีตกค้างสูงในน้ำส้ม 18 ตัวอย่าง คิดเป็น 60% และไม่พบสารตกค้างในน้ำส้ม 12 ตัวอย่าง คิดเป็น 40%

โดยสารเคมีที่ตกค้างมีจำนวน 13 ชนิด ได้แก่ Imazalil พบในน้ำส้ม 8 ยี่ห้อ, Imidacloprid พบในน้ำส้ม 8 ยี่ห้อ, Ethion พบในน้ำส้ม 5 ยี่ห้อ, Carbofuran พบในน้ำส้ม 4 ยี่ห้อ, Carbendazim พบในน้ำส้ม 3 ยี่ห้อ, Acetamiprid พบในน้ำส้ม 3 ยี่ห้อ, Carbofuran-3-hydroxy พบในน้ำส้ม 3 ยี่ห้อ, Profenofos พบในน้ำส้ม 2 ยี่ห้อ, Chlorpyrifos พบในน้ำส้ม 1 ยี่ห้อ, Methomyl พบในน้ำส้ม 1 ยี่ห้อ, Azoxystrobin พบในน้ำส้ม 1 ยี่ห้อ, Fenobucarb พบในน้ำส้ม 1 ยี่ห้อ และ Prothiofosพบในน้ำส้ม 1 ยี่ห้อ

ขณะที่ผลการทดสอบวัตถุกันเสีย พบในน้ำส้มเพียง 4 ตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐาน ซึ่งในน้ำส้ม 3 ตัวอย่าง มีกรดเบนโซ และกรดซอร์บิกพบในน้ำส้ม 2 ตัวอย่าง พบใน ซึ่งปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข คือ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนปริมาณน้ำตาลพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.84 กรัม/100 มิลลิลิตร ด้านผลทดสอบยาปฏิชีวนะทั้ง 4 ชนิด ไม่พบการตกค้างในทุกตัวอย่าง แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ

นางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) เปิดเผยว่า ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรใน ‘น้ำส้มคั้นสดและน้ำส้ม 100%’ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หรือประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 3635) พ.ศ. 2549 กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม้น้ำส้ม มาตรฐานเลขที่ มอก. 99 – 2549 ซึ่งหมายความว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ยอมรับให้มีการตกค้างของสารเคมีในน้ำส้มคั้นสดและน้ำส้ม 100%

ตัวอย่างที่พบสารเคมีตกค้างเป็นตัวอย่างที่มาจากการคั้นสดแล้วบรรจุขวดขายโดยตรงแก่ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์บรรจุในขวดปิดสนิทที่ได้รับเครื่องหมาย อย. และรวมทั้งผลิตภัณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม จึงเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในน้ำส้มและผลิตภัณฑ์น้ำผักผลไม้ต่อเนื่องเป็นระยะจนมั่นใจว่าไม่มีการตรวจพบสารตกค้าง และประกาศให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลทุกครั้ง อีกทั้งต้องการเสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการผลิตพืชอาหารอย่างเข้มงวดเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตั้งแต่ต้นทางของการผลิตอาหาร

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ผลการทดสอบไม่พบยาปฏิชีวนะทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี เห็นพัฒนาการที่น่าพอใจ เพราะเคยมีรายงานในปี 2560 พบการตกค้างของยาปฏิชีวนะในน้ำส้ม แม้จะมีปริมาณไม่มาก อย่างไรก็ดี การไม่พบอาจยังไม่ได้ยืนยันว่าไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะจากงานวิจัยปีล่าสุดพบว่า สวนส้มมีการใช้ยาปฏิชีวนะมากถึง 95% เรื่องนี้คงต้องศึกษาถึงการใช้และการตกค้างของเชื้อดื้อยาและ/หรือ ยีนส์เชื้อดื้อยา ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะในการปลูกส้มอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนงาน หากตกค้างย่อมส่งผลต่อผู้บริโภคและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน ที่ต่อเนื่องถึงคุณภาพดินและแหล่งน้ำ

ทุกวันนี้เรามีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค ทำให้เรามีโอกาสที่จะได้รับยาดังกล่าวอยู่แล้ว และหากเรารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนบ่อยๆ ก็อาจทำเราได้รับยาปฏิชีวนะในปริมาณที่มากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งการได้รับยาดังกล่าวบ่อยครั้งจะส่งผลให้เกิดอาการแพ้ยา และรวมถึงเกิดเชื้อดื้อยา ส่งผลให้จำเป็นต้องใช้ยาที่แรงขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายอาจไม่มีตัวยาใดมารักษาได้เลย อีกทั้งยังคาดหวังว่ารัฐบาลจะกำกับให้มีนโยบายที่ชัดเจนในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในทางการเกษตรและยกเลิกการใช้ในท้ายที่สุด รวมถึงมีกลไกสนับสนุนในการทำเกษตรอินทรีย์

ภาพจาก :: Photo by Pixabay from Pexels

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า