SHARE

คัดลอกแล้ว

ฟาร์มการเกษตรแบบออร์แกนิคที่ จ.ฉะเชิงเทรา

ผลวิจัยล่าสุดที่วิเคราะห์การปลูกพืชและเลี้ยงปศุสัตว์ในสหราชอาณาจักร พบว่าวิถีเกษตรแบบออร์แกนิค สร้างก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการปลูกพืชแบบอุตสาหกรรม โดยสาเหตุหลักมาจากการต้องใช้พื้นที่ที่มากกว่า

งานวิจัยชิ้นใหม่ เกี่ยวกับผลกระทบของการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์แบบออร์แกนิคต่อภาวะโลกร้อน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communication  พบว่าจากการเก็บข้อมูลในสหราชอาณาจักร โดยรวมแล้วการทำการเกษตรแบบออร์แกนิค สร้างก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการทำการเกษตรแบบอุตสาหกรรม โดยสาเหตุหลักเกิดจากการที่การเกษตรแบบออร์แกนิคนั้นให้ผลผลิตต่อพื้นที่น้อยกว่าการผลิตแบบอุตสาหกรรมมาก

งานวิจัยชิ้นดังกล่าวพบว่า สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์แล้ว การผลิตแบบออร์แกนิคสร้างมลภาวะต่อหนึ่งหน่วยผลผลิตน้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม 5%  ในขณะที่การปลูกพืชแบบออร์แกนิคช่วยลดการปล่อยมลภาวะต่อหนึ่งหน่วยผลลิตลงถึง 20%  แต่ปัญหาก็คือ วิถีแบบออร์แกนิคนั้นให้ผลผลิตต่อไร่น้อยกว่าการการเกษตรแบบอุตสาหกรรมถึง 40%

นั่นหมายความว่า หากเกษตรกรอยากจะผลิตผลผลิตให้ได้เท่าเดิม ก็จำต้องใช้พื้นที่มากขึ้น  ซึ่งการถางเปิดพื้นที่เพิ่มเติมจากทุ่งหญ้าหรือป่า (ที่เก็บคาร์บอนจำนวนมากไว้) ให้กลายเป็นพื้นที่การเกษตร หมายถึงการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เก็บกักอยู่ในทุ่งหญ้าหรือป่านั้นออกสู่ชั้นบรรยากาศด้วย งานวิจัยชิ้นนี้ได้คำนวณออกมาว่า หากพื้นที่ที่ต้องการเพิ่มขึ้นครึ่งหนึ่งต้องมาจากการถางทุ่งหญ้าเพิ่มเติมนั้น แค่นี้การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็เพิ่มขึ้นกว่า 21% แล้ว

งานวิจัยชิ้นก่อนหน้านี้ก็เคยพบผลลัพธ์ในทิศทางเดียวกันมาแล้ว โดยงานศึกษาชิ้นหนึ่งในปี 2012 พบว่า การเกษตรแบบออร์แกนิคให้ผลผลิตต่อไร่น้อยกว่าการเกษตรแบบอุตสาหกรรม 5-34% แล้วแต่ประเภทของสินค้าเกษตร  และการศึกษาอีกชิ้นในปี 2017 ได้ประเมินว่า การเปลี่ยนไปสู่การเกษตรแบบออร์แกนิคจะทำให้ต้องใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น 16-33%

สำหรับการทำการเกษตรแบบออร์แกนิคนั้น หมายถึงการไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่ใช้พืชพันธุ์ที่มีการปรับแต่งพันธุกรรม ฯลฯ  ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ทั้งสิ้น  สุดท้ายแล้ววิถีเกษตรแบบออร์แกนิคจึงเลี่ยงการลดลงของผลผลิตไม่ได้ และทำให้ต้องใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น

งานวิจัยดังกล่าวนี้ยังได้ระบุด้วยว่า หากสหราชอาณาจักรอยากจะเปลี่ยนวิถีการเกษตรไปเป็นแบบออร์แกนิคทั้งหมด ก็จะต้องใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นมากถึง 1.5 เท่า

แน่นอนว่าเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อน เราคงจะต้องหาทางทำให้การสร้างก๊าซเรือนกระจกจากการเกษตรลดลง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ใช่วิถีทางที่ใช้ที่ดินเพิ่มขึ้น และไม่ทำให้ผลผลิตลดลงจนกระทบกับปากท้องผู้บริโภคด้วย ฉะนั้นเมื่อมองอย่างรอบด้านกว่าเดิมแล้ว วิถีการเพาะปลูกแบบออร์แกนิคจึงอาจจะยังไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาโลกร้อนในปัจจุบัน

ที่มา MIT Technology Review

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า