Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ศาลสั่ง ‘โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์’ ล้มละลาย ให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ปิดตำนานอดีตคู่แข่งการบินไทย ยุคผูกขาดทางการบิน 

วันที่​ 5 มกราคม 2564 เว็บไซต์​ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จํากัด สืบเนื่องจากบริษัท แอร์โร่ พาร์ท อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (Aero Parts International LLC) ได้ยื่นฟ้องต่อ​ศาล​ล้มละลายกลาง​ให้ ‘บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จํากัด’ ​ล้มละลาย​ ซึ่ง​ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด​ เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา

ดังนั้น นับแต่วันที่ศาลได้มีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอํานาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 บุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

ตามมาตรา 24/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งผู้ใดมีหน้าที่ตามมาตรา 24/1 แล้วไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท ตามมาตรา 173/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

อนึ่ง เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชําระหนี้ในคดีนี้จะเป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ฝ่ายคําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรม กรมบังคับคดี หรือ สํานักงานบังคับคดี ซึ่งจําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ ภายในกําหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่โฆษณาคําสั่งนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กําหนดวันลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 5 มกราคม 2564 ซึ่งตรวจได้จากเว็บไซต์ของกลุ่มงานราชกิจจานุเบกษาที่ www.ratchakitcha.soc.go.th

ปิดตำนานยาวนานกว่า 24 ปีของสายการบินคู่แข่งการบินไทยในยุคที่น่านฟ้าไทยยังไม่เปิดเสรีทางการบิน

ทั้งนี้ ‘โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์’ (Orient Thai Airlines) เปิดให้บริการเมื่อปี 2538 ภายใต้ชื่อ โอเรียนท์ เอ็กซ์เพรส แอร์ โดยนายอุดม ตันติประสงค์ชัย นักธุรกิจเล็กๆ จากไต้หวัน-ฮ่องกงที่สร้างตัวมาทำธุรกิจสายการบิน โดย ‘โอเรียนท์ ไทย’ เปิดให้บริการเที่ยวบินเส้นทางภายในประเทศระหว่างภูมิภาค ด้วยเครื่องบินแบบโบอิง 727 จำนวน 2 ลำ บินจากเชียงใหม่ไปยังอุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น ฯลฯ

ก่อนช่วงปลายปี 2539 จะเปลี่ยนชื่อเป็น ‘โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์’ และได้นำเข้าเครื่องบินแบบล็อกฮีต แอล-1011 ไทรสตาร์ จำนวน 2 ลำ บินจากกรุงเทพมหานครไปเชียงใหม่และภูเก็ต โดยแวะพักที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ด้วยสาเหตุไทยยังไม่เปิดเสรีการบิน น่านฟ้าถูกผูกขาดโดยการบินไทย สายการบินจึงงดให้บริการเที่ยวบินเส้นทางภายในประเทศชั่วคราว และหันไปเปิดให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำร่วมกับสายการบิน กัมพูเชีย แอร์ไลน์ บริษัทในเครือ

ก่อนปี 2544 เมื่อประเทศไทยเปิดเสรีการบินยุติการผูกขาดน่านฟ้า โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จึงได้นำเข้าเครื่องบินแบบโบอิง 747 คลาสสิก จำนวน 2 ลำ เปิดเส้นทางไปยังฮ่องกง และในเดือน เม.ย. ปีเดียวกัน ได้เปิดเส้นทางไปยังโซล ก่อนปี 2545 ได้นำเข้าเครื่องบินแบบ โบอิง 747 คลาสสิก และล็อกฮีต แอล-1011 ไทรสตาร์ มาประจำการเพิ่มเติมและได้เปิดเส้นทางเพิ่มเติมไปยังกัวลาลัมเปอร์ โดยแวะพักที่สิงคโปร์

หลังจากนั้นในปี 2546 จึงได้ก่อตั้ง วัน-ทู-โก โดย สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินราคาประหยัดสายการบินแรกของประเทศไทย แต่หลังการเปิดน่านฟ้าเสรีเปิดให้ต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนตั้งสายการบินในไทย มีสายการบินในไทยมากขึ้น ทำให้สายการบินประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก มีการจอดเครื่องทิ้งหลายลำ นายอุดม ตันติประสงค์ชัยจึงได้ตัดสินใจขายกิจการให้กลุ่มทุนจากจีน

ก่อนสายการบินยุติการบริการเที่ยวบินทั้งหมดอย่างถาวรในปี 2561 เนื่องจากถูกสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) สั่งพักใบอนุญาตทำการบินแบบไม่มีกำหนด สืบเนื่องมาจากปัญหาด้านภาระหนี้สินที่สายการบินค้างจ่ายกับหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงค่าเช่าที่จอดเครื่องบินของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และค่าใช้บริการจราจรทางอากาศของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย

สุดท้ายวันที่ 4 ก.ย. 2562 ศาลกรุงปารีส ฝรั่งเศส อ่านคำพิพากษาตัดสินลงโทษจำคุกนายอุดม ตันติประสงค์ชัย อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จากเหตุการณ์ที่เครื่องบินโดยสารสายการบิน วัน-ทู-โก เที่ยวบิน โอจี 269 เกิดอุบัติเหตุลื่นไถลออกนอกรันเวย์ที่สนามบินภูเก็ต เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2550 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 90 ราย ผู้โดยสาร 2 ใน 3 เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ศาลฝรั่งเศสมีคำตัดสินว่า นายอุดม ตันติประสงค์ชัย มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ให้ลงโทษจำคุกเป็นเวลา 4 ปี และ ปรับเป็นเงิน 2,517,000 บาทโดยในการอ่านคำตัดสิน

โดยผู้พิพากษากล่าวว่า พบหลักฐานข้อผิดพลาดมากมายของสายการบิน และ เหตุการณ์นี้เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์แต่ผลสอบก็พบเช่นกันว่า นักบินทำงานเกินชั่วโมงบินต่อสัปดาห์ และ มีความเครียดสะสมจากความเหนื่อยล้าและพักผ่อนไม่พอจึงทำให้การตอบสนองต่อ แต่ที่ผ่านมานายอุดมไม่เคยถูกจับกุมและไม่ไปปรากฎตัวตามหมายเรียกของศาลฝรั่งเศส

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า