SHARE

คัดลอกแล้ว

การมอบรางวัลออสการ์ในปีนี้ จัดขึ้นเร็วกว่าปกติ เพื่อหวังกอบกู้เรตติ้งที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีนี้ผ่านมา ขณะที่การมอบรางวัลด้านภาพยนตร์หลายรายการที่จัดขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ถูกมองว่าทำให้การมอบรางวัลออสการ์ดูไม่น่าสนใจมากนัก แม้ออสการ์จะถือเป็นรายการปิดท้ายของเทศกาลการมอบรางวัลก็ตาม 

เว็บไซต์ บีบีซี ได้เสนอข้อมูลการวิเคราะห์ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านออสการ์ เพื่อหาข้อสรุปว่าปีนี้ใครจะสามารถคว้ารางวัลไปได้บ้าง 

1. ปีทองของสการ์เล็ต โจฮานส์สัน

เธอเป็นนักแสดงคนที่ 12 ในประวัติศาสตร์ของออสการ์ ที่ได้รับการเสนอชื่อใน 2 สาขาในปีเดียวกัน ทั้งจากสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก “แมร์ริเอจ สตอรี่” (Marriage Story) และสาขานักแสดงสมทบหญิงจาก “โจโจ้ แรบบิต” (Jojo Rabbit)

ส่วนนักแสดงรายอื่นๆ ที่เคยได้รับการเสนอชื่อในสาขาการแสดง 2 ครั้งในปีเดียว เช่น “ซิเกอร์นีย์ วีเวอร์” (1989), อัล ปาชิโน (1993), เอมม่า ธอมป์สัน (1994), เจมี่ ฟ็อกซ์ (2005) และเคต แบลนเช็ตต์ (2008)

2. ผ่านไป 15 ปีแล้ว ก็ยังไม่มีหนังเรื่องใดที่ได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในปีเดียวกัน

หนังเรื่องสุดท้ายที่สามารถคว้า 2 รางวัลนี้มาได้ก็คือ “มิลเลียน ดอลลาร์ เบบี้” (Million Dollar Baby) และ “ฮิลลารี่ สแวงก์” สำหรับปีนี้ แม้ “เรเน่ เซลวีเกอร์” จะเป็นตัวเก็งที่แทบไม่มีใครโค่นได้ ขณะที่หนังเรื่อง “จูดี้” ไม่ได้รับการเสนอชื่อให้ชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

3. “ซินเธีย เอริโว” อาจกลายเป็นผู้คว้า 4 รางวัลใหญ่ในอุตสาหกรรมบันเทิงของสหรัฐฯ 

หาก “เอริโว” สามารถคว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก “แฮร์เรียต” (Harriet) มาได้ เธอจะกลายเป็นผู้คว้า 4 รางวัลใหญ่ในอุตสาหกรรมบันเทิงของสหรัฐ ที่เรียกกันว่า “อีก็อต” (EGOT) ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ “อีก็อต” ประกอบด้วยรางวัล เอ็มมี่ แกรมมี่ ออสการ์ และโทนี่ โดยในปีนี้ นอกจากได้รับการเสนอชื่อในสาขาการแสดงแล้ว เอริโว ยังได้เข้าชิงในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอีกด้วย จากผลงานการประพันธ์ร่วมในเพลง “สแตนด์ อัป” 

4. หากแซม เมนเดส ชนะในสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นี่จะถือเป็นระยะเวลาที่มากที่สุดระหว่างการชนะในสาขาการกำกับฯ 2 ครั้งในประวัติศาสตร์ของออสการ์

แซม เมนเดส คว้ารางวัลครั้งแรกจาก “อเมริกัน บิวตี้” (American Beauty) เมื่อปี 2000 และอาจจะชนะอีกครั้งจากภาพยนตร์เรื่อง “1917” หนังอิงประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยผู้กำกับที่ครองสถิติอยู่คือ “บิลลี่ ไวล์เดอร์” ที่คว้ารางวัลผู้กำกับฯ ยอดเยี่ยมจาก “เดอะ ลอสต์ วีคเอนด์” (The Lost Weekend) เมื่อปี 1945 และ “ดิ อพาร์ทเมนต์” (The Apartment) เมื่ปี 1960 หรือห่างกัน 15 ปี

5. เมื่อคู่รักต้องมาแข่งขันกันเองในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

เกรต้า เกอร์วิก และโนอาห์ บอมบาค เริ่มคบหากันเมื่อปี 2011 และมีลูกด้วยกัน และในปีนี้ ทั้งสองต้องมาแข่งขันกันเอง หลัง “ลิตเติล วีเมน” ของเกอร์วิก และ “แมร์ริเอจ สตอรี่” ของบอมบาค ได้เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

เหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้ เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2009 เมื่อ “อวาทาร์” ของเจมส์ คาเมรอน และ “เดอะ เฮิร์ต ล็อคเกอร์” ของ “แคธรีน บิเกโลว์” เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม อย่างไรก็ตาม ทั้งสองได้หย่าร้างมาแล้วกว่า 18 ปี ก่อนหน้านี้

6. “ลิตเติล วีเมน” และ “แมร์ริเอจ สตอรี่” อาจไม่มีโอกาสคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะ ตามปกติแล้ว หนังที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจะได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขาผู้กำกับฯ ด้วย ซึ่งในกรณีนี้ ทั้งสองเรื่องไม่ได้เข้าชิง

อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สามารถตัดความเป็นไปไม่ได้ออก เพราะเมื่อปีที่แล้ว “กรีน บุ๊ก” (Green Book) คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยที่ “ปีเตอร์ ฟาร์เรลลี่” ไม่มีชื่อเข้าชิงในสาขาการกำกับฯ เช่นเดียวกับ “อาร์โก” (Argo) เมื่อปี 2013 ที่หนังชนะรางวัลสูงสุด แต่ไม่มีชื่อ “เบน แอฟเฟล็ก” เข้าชิงในสาขาผู้กำกับฯ

7. “ทอย สตอรี่ 4” อาจสร้างประวัติศาสตร์ให้หนังการ์ตูนภาคต่อ “ทอย สตอรี่”

นับตั้งแต่เริ่มมีการมอบรางวัลในสาขาภาพยนตร์แอนิมเชั่นยอดเยี่ยม เมื่อปี 2001 หนังชุด “ทอย สตอรี่” เพียงเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัลคือ “ทอย สตอรี่ 3” และหากทอย สตอรี่ 4 สามารถคว้ารางวัลไปได้ จะทำให้ภาพยนตร์การ์ตูนชุดทอย สตอรี่ มีหนังที่คว้ารางวัลนี้ไปถึง 2 เรื่องเป็นเรื่องแรก

8. “พาราไซต์” (Parasite) อาจสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่

“พาราไซต์” ถือเป็นภาพยนตร์จากเกาหลีใต้เรื่องแรกที่เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และเป็นเรื่องที่ 6 ที่เข้าชิงทั้งในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม ต่อจาก “โรม่า” (Roma) เมื่อปีที่แล้ว, “อามูร์” (Amour) เมื่อปี 2012 และ “เคราชิ่ง ไทเกอร์, ฮิดเดน ดรากอน” (Crouching Tiger, Hidden Dragon) เมื่อปี 2000

9. โจนาธาน ไพรซ์ กับการรับบทบาทสำคัญ

 ไพรซ์ จากภาพยนตร์เรื่อง “เดอะ ทู โป๊ปส์” (The Two Popes) เป็นผู้เข้าชิงในสาขานักแสดงนำชายเพียงคนเดียว ที่รับบทบาทเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง นั่นก็คือ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

ขณะที่ในสาขาดารานำหญิง มีผู้ที่รับบทบาทเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงถึง 3 คน ได้แก่ “เรเน่ เซลวีเกอร์” รับบทเป็น “จูดี้ การ์แลนด์,” “ซินเธีย เอริโว” รับบทเป็นนักเคลื่อนไหวต่อต้านการค้าทาส “แฮร์เรียต ทับแมน,” และ “ชาร์ลีซ เธรอน” รับบทเป็น “เมกิน เคลลี่” ผู้ประกาศข่าวช่องฟ็อกซ์

10. บทความในนิตยสารกลายเป็นแหล่งไอเดียในการสร้างหนัง

มีหนัง 2 เรื่องในปีนี้ ที่สร้างมาจากบทความที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสาร เรื่องแรกคือ “อะ บิวตี้ฟูล เดย์ อิน เดอะ เนเบอร์ฮู้ด” (A Beautiful Day in the Neighborhood) ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารเอสไควร์ เมื่อปี 1998 ของ “ทอม จูน็อด” ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ของพิธีกรรายการเด็กชื่อดัง “เฟรด โรเจอร์ส”

เรื่องที่สองคือ “ฮัสเลอร์ส” (Hustlers) ที่ใช้ข้อมูลจากบทความการสืบสวนที่ตีพิมพ์ในนิตยสารนิวยอร์ก โดย เจสสิกา เพรสเลอร์ เมื่อปี 2015 

อย่างไรก็ตาม มีเพียงเรื่องแรกที่ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ ในสาขาดาราสมทบชายยอดเยี่ยมจาก “ทอม แฮงส์” ขณะที่ “เจนนิเฟอร์ โลเปซ” ซึ่งรับบทเด่นในเรื่องที่สอง อาจต้องรอผลงานเรื่องต่อๆ ไปของเธอในอนาคต แม้จะได้เสียงตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์

11. อายุเฉลี่ยผู้เข้าชิงสาขานักแสดงสมทบชาย คือ 71 ปี

ตัวเลขนี้นับว่าสูงกว่าอายุเฉลี่ยของผู้ชนะในสาขานี้ ซึ่งอยู่ที่ 49 ปี โดยในปีนี้ ผู้เข้าชิงที่อายุน้อยที่สุดคือ “แบรด พิตต์” (56 ปี) ส่วนคนอื่นๆ ได้แก่ “ทอม แฮงส์” (63 ปี) “โจ เปสซี่” (76 ปี) “อัล ปาชิโน” (79 ปี) และ “แอนโธนี่ ฮอปกินส์” (82 ปี)

ที่ผ่านมา ทั้ง 5 คน เคยได้รับรางวัลออสการ์มาแล้ว โดยพิตต์ เคยได้รับรางวัลในสาขาผู้อำนวยการสร้าง จาก “ทเวลฟ์ เยียร์ส อะ สเลฟ” (12 Years A Slave) ส่วนอีก 4 คนที่เหลือเคยได้รับในสาขาการแสดง

12. 1917 อาจตามรอย “เบิร์ดแมน”

ผู้เชี่ยวชาญด้านรางวัลออสการ์ ต่างจับตาว่าหนังเรื่องไหนจะได้รางวัลในสาขาตัดต่อยอดเยี่ยมทุกๆ ปี เนื่องจากการถูกเสนอชื่อในสาขาตัดต่อยอดเยี่ยม มักมีส่วนสัมพันธ์อย่างมากที่หนังจะชนะรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

หนังอย่าง “1917” ยังคงเป็นหนึ่งในตัวเก็งสำคัญ แม้ไม่มีชื่อเข้าชิงในสาขาการตัดต่อ และมีหนังเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น นับตั้งแต่ยุค 1980 ที่ชนะรางวัลสูงสุดโดยไม่ได้เข้าชิงในสาขาตัดต่อ นั่นก็คือ “เบิร์ดแมน” (Birdman) เมื่อปี 2014

ทั้ง “เบิร์ดแมน” และ 1917 ต่างก็มีบางอย่างที่คล้ายกัน นั่นคือเป็นหนังที่มีการถ่ายทำแบบลองเทคเหมือนกัน ซึ่งนั่นอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยทักษะในการตัดต่อมากนัก

13. “ฟอร์ด เวอร์ซัส เฟอร์รารี่” (Ford v Ferrari) เป็นหนังแข่งรถเรื่องแรกที่เข้าชิงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 

แม้จะดูไม่ใช่สิ่งที่น่าสนใจมากนัก แต่ก็มีหนังที่เกี่ยวกับการแข่งรถอีกหลายเรื่องที่ไม่ได้เข้าชิงในสาขานี้ เช่น “รัช” (Rush) “กรังปรีซ์” (Grand Prix) และ เดย์ส ออฟ ธันเดอร์” (Days of Thunder)

อย่างไรก็ตาม แม้ “ฟอร์ด เวอร์ซัส เฟอร์รารี่” จะได้รับการเสนอชื่อ แต่โอกาสที่จะชนะรางวัลนี้ก็แทบไม่มีเลย แต่คริสโตเฟอร์ สมิธ นักเขียนจากเว็บไซต์รถแข่ง “มอเตอร์วัน” บอกว่า แม้หนังจะเจอคู่แข่งที่ยาก แต่การต่อสู้ในสังเวียนที่ยาก ก็คือสิ่งที่หนังเรื่องนี้ต้องการจะบอก

14. เน็ตฟลิกซ์มีโอกาสคว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยม

เน็ตฟลิกซ์ได้ตั้งความหวัง รวมถึงทุ่มเงินจำนวนมหาศาลไปกับการโปรโมท “โรม่า” เมื่อปีที่แล้ว ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ส่วนในปีนี้ เน็ตฟลิกซ์มีหนังถึงสองเรื่องที่ได้เข้าชิงหนังยอดเยี่ยม ได้แก่ “ดิ ไอริชแมน” (The Irishman) และ “แมร์ริเอจ สตอรี่”

อย่างไรก็ตาม ยังคงดูเหมือนว่าออสการ์ยังคงไม่พร้อมที่จะมอบรางวัลนี้ในแก่ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งอย่างเน็ตฟลิกซ์ และหากมีโอกาสชนะ หนังเรื่องนั้นก็คือ “ดิ ไอริชแมน” ของผู้กำกับในตำนานอย่าง มาร์ติน สกอร์เซซี่

15. หนังชิงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 2 เรื่อง ไม่มีชื่อเข้าชิงในสาขาการแสดง

เรื่องแรกคือ “พาราไซต์” ที่ถูกมองว่าเป็นหนังที่ขายทีมนักแสดง โดยนักแสดงทุกคนในเรื่อง ไม่มีใครถูกชี้ชัดได้ว่าใครได้รับบทเด่นกว่าใคร ขณะที่ “1917” อาจถูกมองว่าน่าประหลาดใจมากกว่า เนื่องจาก “จอร์จ แมคเคย์” ซึ่งปรากฏตัวตลอดทั้งเรื่อง ไม่มีในรายชื่อผู้เข้าชิง

16. “ไดแอน วอร์เรน” นักแต่งเพลงชื่อดัง เข้าชิงออสการ์เป็นครั้งที่ 11

ปีนี้ วอร์เรนเข้าชิงจากเพลง “แอม สแตนดิ้ง วิธ ยู”  (I’m Standing With You) จากหนังเรื่อง “เบรกทรู” (Breakthrough) ส่วนเพลงดังๆ ที่เธอเคยได้เข้าชิงยังรวมถึง “ฮาว ดู ไอ ลีฟ” (How Do I Live) จาก “คอนแอร์”  และ “ไอ ดอนท์ วอนต์ ทู มิส อะ ธิง” (I Don’t Want to Miss a Thing) จาก “อาร์มาเก็ดดอน” (Armageddon) และทั้งหมดนี้ เคยไม่เคยคว้ารางวัลได้เลย 

นั่นทำให้เธอกลายเป็นผู้หญิงที่ได้รับการเสนอชื่อชิงออสการ์โดยไม่ได้รับรางวัลมากที่สุด ถึง 11 ครั้ง

17. จูดี้ การ์แลนด์ ไม่เคยชนะรางวัลออสการ์ แต่ปีนี้ผู้สวมบทบาทของเธออาจคว้ามาได้

การ์แลนด์ได้รับการคาดหมายว่าจะคว้ารางวัลสาขาดารานำหญิงได้จาก “อะ สตาร์ อีส บอร์น” (A Star is Born) เมื่อปี 1954 แม้กระทั่งมีการเซ็ตกล้องบริเวณโดยรอบเตียงของเธอในโรงพยาบาล หลังจากที่เธอเพิ่งคลอดบุตร เพื่อให้เธอกล่าวหลังรับรางวัล

อย่างไรก็ตาม “เกรซ เคลลี่” กลับคว้ารางวัลไปได้จาก “เดอะ คันทรี่ เกิร์ล” ซึ่งเป็นหนึ่งในรางวัลที่สร้างความหงุดหงิดใจมากที่สุดในประวัติศาสตร์ออสการ์ หลังการประกาศผล บรรดาตากล้องก็เก็บอุปกรณ์กลับในทันที

ดังนั้น หาเรเน่ เซลวีเกอร์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงไปได้ อย่างน้อยที่สุด นี่จะเป็นการแสดงความยกย่องต่อการ์แลนด์ในทางอ้อม หลังจากเธอเสียเสียชีวิตไปเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า