SHARE

คัดลอกแล้ว

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การมอบรางวัลออสการ์ เต็มไปด้วยเรื่องวุ่นๆ และแผนการที่ไม่เคยนำไปใช้ได้จริง เช่นการเสนอมอบรางวัลภาพยนตร์ยอดนิยม หรือการเสนอให้มีการมอบรางวัลบางสาขาในช่วงพักเบรกโฆษณา ซึ่งนั่นเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้เรตติ้งในช่วงการถ่ายทอดสดลดต่ำลงเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม แผนการเปลี่ยนแปลงบางอย่างแบบสุดขั้ว เช่นการเพิ่มจำนวนภาพยนตร์ที่มีชื่อเข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเดิม 5 เรื่อง เป็น 10 เรื่อง ก็ดูเหมือนจะส่งผลดีมากกว่าผลเสีย

นิวยอร์กไทม์สพาย้อนกลับไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2009 นายซิด กานิส ประธานสถาบันศิลปะและวิทยาการทางภาพยนตร์ในขณะนั้น ได้ประกาศเพิ่มจำนวนภาพยนตร์ที่เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เป็น 10 เรื่อง ทำให้บรรดาผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่างแสดงความกังวลว่าการเพิ่มจำนวน อาจทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของการมอบรางวัล ขณะที่บรรดาสื่อและโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ที่เคยได้รับรางวัล ต่างรู้สึกกังวลใจอยู่ไม่น้อย

ที่ผ่านมา หนังที่เข้าข่ายได้รับการเสนอชื่อ มีกเป็น “หนังสูตร” จากค่ายมิราแม็กซ์ เช่น “ชอคโกแลต” (Chocolat) “ฟายดิ้ง เนเวอร์แลนด์” (Finding Neverland) และ “เดอะ ไซเดอร์ เฮาส์ รูลส์” (The Cider House Rules) จนแทบไม่มีหนังที่น่าสนใจอื่นๆ โดยในปี 2009 ภาพยนตร์ที่เข้าชิงออสการ์ในสาขาต่างๆ มีชื่อของหนังทำเงิน เช่น “เดอะ ดาร์ก ไนต์” (The Dark Knight) และ “วอลล์-อี” (Wall-E) หนังดราม่า เช่น “ฟรอสต์/นิกสัน” (Frost/Nixon) และ “เดอะ รีดเดอร์” (The Reader)

นี่จึงทำให้ปี 2010 เป็นปีที่รายชื่อหนังที่เข้าชิงมีความน่าตื่นเต้นและหลากหลายมากที่สุดเท่าที่ออสการ์เคยมีมา เช่น “อวาทาร์” (Avatar), “ดิสทริกต์ ไนน์” (District 9), “อินกลอเรียส บัสเติร์ดส” (Inglourious Basterds), “อัพ อิน ดิ แอร์” (Up in the Air), “อัพ” (Up), “เดอะ ไบลด์ ไซด์” (The Blind Side) และ “อะ ซีเรียส แมน” (A Serious Man)

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปีนั้น ก็ไม่มีปีใดที่ภาพยนตร์ที่เข้าชิง เป็นผลงานการกำกับของผู้กำกับหญิงเกินหนึ่งเรื่อง ยกเว้นปี 2010 ที่มีถึง 2 เรื่อง คือ “แอน เอดูเคชั่น” (An Education) ผลงานการกำกับของ “โลเนอ เชอร์ฟิก” ผู้กำกับหญิงชาวเดนมาร์ก และ “เดอะ เฮิร์ต ล็อคเกอร์” (The Hurt Locker) ของ “แคธรีน บิเกโลว์” ที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมไปครอง และปี 2011 จากเรื่อง “เดอะ คิดส์ อาร์ ออลไรต์” (The Kids Are All Right) และ “วินเทอร์ส โบน” (Winter’s Bone) และในปีนั้นเองยังเป็นปีแรกที่ภาพยนตร์ของผู้กำกับผิวสี ได้เข้าชิงในสาขานี้ คือ “พรีเชียส” (Precious) ของ “ลี แดเนียลส์”

นับตั้งแต่ปี 2012 ผู้สร้างภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่เข้มงวดยิ่งขึ้นเพื่อรับการเสนอชื่อ ซึ่งที่สุดแล้วรายชื่อภาพยนตร์ที่เข้าชิง อาจมีจำนวนไม่ถึง 10 เรื่อง ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ลงคะแนน ซึ่งดูเหมือนจุดประสงค์เริ่มแรกของการเพิ่มจำนวนภาพยนตร์ที่เข้าชิง ที่ระบุว่า จะไม่มีปีใดที่มีภาพยนตร์ที่เข้าชิงต่ำกว่า 10 เรื่อง โดยไม่สนใจว่าจำนวนผู้ลงคะแนนจะมีมากน้อยเพียงใด ได้ถูกตีความผิดไป

เกณฑ์ภาพยนตร์ 10 เรื่อง ยังช่วยกระตุ้นให้คณะกรรมการและผู้ชมทั่วไป ได้ดูหนังที่มีความหลากหลาย และนำไปสู่การถกเถียงในวงกว้าง เช่น “เดอะ แฟร์เวล” (The Farewell) “ไนฟ์ เอาต์” (Knives Out) และ “อันคัต เจ็มส์” (Uncut Gems) ซึ่งทั้งหมดไม่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงในปีนี้ นอกจากนั้น เมื่อประเด็นความหลากหลายเป็นสิ่งที่ถูกเอ่ยถึงเมื่อพูดถึงรางวัลออสการ์ เกณฑ์ภาพยนตร์ 10 เรื่อง ยังอาจเป็นเหตุผลเดียวที่ทำให้รางวัลออสการ์ยังคงได้รับความนิยมต่อไป

หากเราลดจำนวนผู้เข้าชิงรางวัลนี้เหลือ 5 เรื่อง โดยคัดเฉพาะภาพยนตร์ที่ได้เข้าชิงในสาขาผู้กำกับ จะพบว่าหนังที่มีนักแสดงผิวสี จะหายไปจากสาขานี้ เช่น “แบล็ก แพนเธอร์” (Black Panther) “เซลม่า” (Selma) “ฮิดเดน ฟิกเกอร์ส” (Hidden Figures) หรือ “เฟนเซส” (Fences) และหนังที่มีนักแสดงนำเป็นผู้หญิงก็อาจหายไปเช่นกัน เช่น “ลิตเติล วีแมน” (Little Women) “บรูคลิน” (Brooklyn) และ “ซีโร่ ดาร์ก เธอร์ตี้” (Zero Dark Thirty) ยังไม่นับรวมหนังในประเภทอื่นๆ เช่นหนังไซ-ไฟ หนังเพศทางเลือก และอื่นๆ เช่น “คอล มี บาย ยัวร์ เนม” (Call Me by Your Name) “เฮอร์” (Her) “แมร์ริเอจ สตอรี่” (Marriage Story) หรือ “อินเซปชั่น” (Inception)

บรรดาหนังที่กล่าวมานี้ ช่วยทำให้หนังที่เข้าชิงออสการ์เป็นมากกว่าหนังดราม่าย้อนยุคจากฝั่งอังกฤษ หรือหนังสงครามหนักๆ และหากไม่มีหนังเหล่านี้ ออสการ์ก็อาจเป็นรางวัลที่ไร้สีสัน และปราศจากความหลากหลายยิ่งกว่าเดิม

แม้รายชื่อผู้เข้าชิงในปีนี้อาจจะดูไม่น่าตื่นเต้นมากนัก แต่หนังอย่าง “โจ๊กเกอร์” (Joker) ก็เข้าชิงมากที่สุด ขณะที่ “เกรต้า เกอร์วิก” จาก “ลิตเติล วีแมน” ก็กลายเป็นผู้กำกับหญิงคนที่สองในประวัติศาสตร์ ที่มีหนังเข้าชิงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมากกว่าหนึ่งเรื่อง

และที่มากไปกว่านั้น ปีนี้อาจเป็นปีที่หนังต่างประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษอย่าง “พาราไซต์” (Parasite) สามารถคว้ารางวัลสูงสุดไปครองได้สำเร็จก็เป็นได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า