SHARE

คัดลอกแล้ว

การเติบโตของเศรษฐกิจเพื่อนบ้านไทยอย่างเวียดนามยังอยู่ในช่วงขาขึ้นเรื่อยๆ ในด้านดีเศรษฐกิจเวียดนามกำลังส่งอานิสงส์ให้ไทยเราได้รับโอกาสในหลายอุตสาหกรรมไปด้วย เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค

โดยเฉพาะกับธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซที่ในเวียดนามมีปัจจัยการขยายตัวทั้งจากผู้บริโภคในเวียดนามที่ใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ดูได้จาก 9 เดือนของปีนี้ คนเวียดนามช้อปปิ้งเฉลี่ยเดือนละ 1 พันล้านดอลลาร์หรือราวๆ 3.6 หมื่นล้านบาท และติดท็อป 10 ตลาดอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเร็วที่สุดของโลก

กระแสความนิยมและการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในเวียดนามส่งให้ธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยมีช่องทางหารายได้เพิ่มขึ้น อย่างกรณีของ ‘บริษัท  ไปรษณีย์ไทย จำกัด’ อาศัยจังหวะเศรษฐกิจอีคอมเมิร์ซและการค้าระหว่างประเทศจากไทยสู่เวียดนาม เปิดให้บริการส่งของผ่าน 3 เส้นทาง คือ เส้นทางอากาศ เส้นทางภาคพื้น และทางราง 

โดยร่วมมือกับไปรษณีย์เวียดนามพัฒนาบริการไปรษณีย์ภายใต้กรอบความร่วมมือของการไปรษณีย์อาเซียน (ASEANPOST) เดินหน้ายกระดับอีคอมเมิร์ซของทั้ง 2 ประเทศ เตรียมนำสินค้าเมดอินไทยแลนด์และเวียดนาม จัดจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์ม และขนส่งอย่างครบวงจร 

‘ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เผยว่า จากการเติบโตที่เกิดขึ้นไปรษณีย์ไทยอยากจะขยายโอกาสให้ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการไทย ภาคการค้าระหว่างประเทศ มีแผนใช้ความโดดเด่นจากโครงข่ายทั้งที่เป็น Physical และ Digital เชื่อมภาคเศรษฐกิจไทย – เวียดนาม และการสร้างประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอื่น ๆ รอบด้าน 

พร้อมทั้งได้ร่วมมือกับการไปรษณีย์เวียดนามพัฒนาบริการไปรษณีย์ภายใต้กรอบความร่วมมือของการไปรษณีย์อาเซียน (ASEANPOST) ในหลายๆ ด้าน รวมถึงการใช้อัตราค่านำจ่ายพิเศษระหว่างกัน สำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ พัสดุไปรษณีย์ EMS และ ePacket ซึ่งได้วางเส้นทางและแนวทางที่ไปรษณีย์ไทยและการไปรษณีย์เวียดนามจะเชื่อมต่อถึงกันได้ ดังนี้

        • การขนส่งไปรษณีย์ทางอากาศระหว่างไทยไปเวียดนาม ยัง 2 เมืองปลายทาง ได้แก่ ฮานอย และโฮจิมินห์ ผ่านเที่ยวบินของการบินไทย โดยเส้นทางนี้ถือว่ามีความรวดเร็วที่สุด มีความแน่นอนในด้านเวลา ปลอดภัย และสามารถดำเนินงานด้านเอกสารต่างๆ ได้อย่างสะดวก
        • การใช้ระบบขนส่งทางภาคพื้น เดิมไปรษณีย์ไทยทำการแลกพัสดุภาคพื้นข้ามพรมแดนระหว่างไทย-เวียดนาม โดยใช้เส้นทาง ไปรษณีย์อรัญประเทศ–พนมเปญ–โฮจิมินห์ 
        • การขนส่งทางราง ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประสานกับรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาว การไปรษณีย์เวียดนาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาและพิจารณาความเป็นไปได้ในการผลักดันการขนส่งทางรางเส้นทางไทย-ลาว-เวียดนาม ในอนาคต โดยมีเส้นทางสำคัญอย่าง R12 ที่เริ่มต้นตั้งแต่จังหวัดนครพนมไปจนถึงโครงการเศรษฐกิจหวุงอ่าง (Vung Ang) ในเวียดนาม และเส้นทางนี้ยังสามารถขนส่งสินค้าต่อไปยังมณฑลกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านเครือข่ายถนนในเวียดนามได้อีกด้วย 

[ ส่งสินค้าจากไทยตีตลาดไปเวียดนาม อินโด ผ่านบริการครบวงจร ]

‘ดร.ดนันท์’ ยังบอกอีกว่า เพื่อให้เกิดความแน่นแฟ้นในเชิงพันธมิตร และเชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียนให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น ในปีนี้ไปรษณีย์ไทย การไปรษณีย์เวียดนาม การไปรษณีย์อินโดนีเซีย ใน 4 ด้าน 

ด้านพันธมิตรอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนที่จะมีการเชื่อมโยงระบบการค้าออนไลน์และออฟไลน์ การพัฒนาโมเดลโลจิสติกส์ให้มีรูปแบบเดียวกัน การพัฒนา QR code เพื่อให้สะดวกต่อการทำธุรกรรม 

ด้านการขยายตลาดอีคอมเมิร์ซของอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางและไปสู่ตลาดโลก โดยไปรษณีย์ไทยมีแผนผลักดันสินค้าเมดอินไทยแลนด์ – เวียดนาม ให้ไปสู่ตลาดโลกโดยมีความร่วมมือกับการไปรษณีย์เวียดนามในรูปแบบของ RAPA shop ซึ่งเป็นโครงการที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ นำสินค้ายอดนิยมมาจำหน่ายบนแพลตฟอร์มที่จะพัฒนาขึ้น และมีการจัดส่งถึงผู้สั่งซื้อแบบครบวงจรด้วยบริการของเครือข่ายไปรษณีย์ ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับการไปรษณีย์ของทั้ง 2 ประเทศ

ซึ่งสินค้าไทยที่มีศักยภาพเจาะตลาดเวียดนาม เช่น กาแฟ กลุ่มสินค้าจากด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง ฯลฯ

ด้านการพัฒนาพันธมิตรด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานรูปแบบใหม่ เช่น การเชื่อมโยงระบบคลังสินค้า การใช้เทคโนโลยีขนส่งขั้นสูงตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางเพื่อให้การขนส่งมีความรวดเร็วขึ้น และ ด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง 3 ประเทศ ทั้งด้วยแนวการเพิ่มผลกำไร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และด้านความยั่งยืน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า