Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่าง “พาราควอต” ถูกพูดถึงมาตลอดหลายปีนี้ และนำมาสู่การพิจารณายกเลิก โดยมีมติจากกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปี 2559 ที่ให้พิจารณายกเลิกการใช้ ผลิต และนำเข้าภายใน 2 ปี แม้จะมีงานวิจัยที่รองรับว่าพาราควอตมีอันตรายจริง แต่ในขั้นตอนการพิจารณายกเลิกยังยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากหากมีการยกเลิกจริง อาจจะต้องหาสารที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียง และไม่ส่งผลอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมมาใช้แทน

กลุ่มที่เดินหน้าเรียกร้องให้มีการเลิกใช้พาราควอตมาโดยตลอดอย่าง มูลนิธิชีววิถี หรือ BIOTHAI ออกมาให้ข้อมูลถึงอันตรายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสุ่มตรวจผัก ผลไม้ ดิน น้ำ เพื่อหาสารพิษที่ตกค้าง มาสนับสนุนการยกเลิกใช้

ขณะที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลอีกด้านผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Jessada Denduangboripant และ เพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

ทั้งนี้ สำหรับข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องพาราควอต จากทั้งฝั่งมูลนิธิชีววิถี และฝั่ง รศ.ดร.เจษฎา สามารถสรุปได้ย่อๆ ดังนี้

ด้านประสิทธิภาพของพาราควอต

รศ.ดร.เจษฎา ระบุว่า พาราควอตเป็นยาฆ่าหญ้าที่มีประสิทธิภาพดีมาก ทำให้ต้นหญ้าหรือพืชใบเขียวไหม้ตายได้ มีราคาประหยัดมาก และการสลายตัวในสิ่งแวดล้อมก็ค่อนข้างดี

ด้าน มูลนิธิชีววิถี แย้งว่า ข้อมูลของ อ.เจษฎา ไม่เป็นความจริง เพราะการวัดประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ได้วัดจากการฉีดพ่นแล้ววัชพืชแห้งตายไปโดยเร็ว แต่ในทางวิชาการนั้นวัดจากปริมาณของวัชพืชที่แห้งตาย (Dry weight) เปรียบเทียบกับช่วงเวลาการฉีดพ่น (WAT- weeks after the treatment) ซึ่งพาราควอตอาจทำให้วัชพืชแห้งตายภายในสัปดาห์แรกมากกว่า แต่ประสิทธิภาพลดลงในสัปดาห์ถัดไป ดังนั้นประสิทธิภาพของพาราควอตจึงไม่ดีเท่าสารอื่นๆ อีกหลายชนิดเมื่อวัดจากระยะเวลาการฉีดพ่นที่ทิ้งระยะยาวนานกว่า

การตกค้างของพาราควอตในสิ่งแวดล้อม

รศ.ดร.เจษฎา ระบุว่าการที่บอกว่าตรวจพบพาราควอตตกค้าอยู่ใบพืชผัก เช่น กะเพรา คะน้า ชะอม เป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากพาราควอตเป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดเผาไหม้ ไม่มีใครใช้ฉีดใบ เพราะจะทำให้ใบพืชเหี่ยวแห้งตาย ซึ่งกรณีนี้ มูลนิธิชีววิถี ไม่ได้โต้แย้ง โดยระบุว่าเป็นความจริงที่ไม่ได้นำพาราควอตไปฉีดพ่นใบ แต่พืชก็รับสารพาราควอตเข้าไปในใบได้อยู่ โดยผ่านการดูดซึมจากราก

มูลนิธิชีววิถี อธิบายว่า เกษตรกรจะใช้พาราควอตก่อนที่จะเตรียมแปลง เวลาพื้นที่มีหญ้าขึ้นรกจะฉีดพาราควอตให้หญ้าตาย พอหญ้าตายก็จะไถพรวนดินเพื่อเตรียมขึ้นแปลงปลูก ซึ่งพาราควอตจะจับยึดกับดินแน่นมาก การจะทำให้พาราควอตหลุดออกจากดินก็ยาก ต้องใช้กรดเข้มข้นสูงและต้มนานมาก แต่บางครั้งมีการฉีดพาราควอตต่อเนื่อง ทำให้สารพาราควอตในดินอิ่มตัว และหลุดออกมาซึมสู่รากพืชได้ ส่วน รศ.ดร.เจษฎา ชี้แจงว่า สารพาราควอตสามารถจับดินได้ดีจริง ไม่หลุดออกจากดินโดยวิธีทางธรรมชาติแน่นอน ดังนั้นผักและผลไม้จึงไม่น่ามีพาราควอตตกค้างได้

สำหรับการสลายของพาราควอต  มูลนิธิชีววิถี ระบุว่า พาราควอตมีค่าครึ่งชีวิตในการสลายตัวค่อนข้างนาน อยู่ที่ประมาณ 1,000 วัน หมายความว่าถ้าเราฉีดพาราควอตไป 10 หน่วย ผ่านไป 1,000 วัน มันจะลดเหลือ 5 หน่วย แต่เวลาปลูกพืชอายุสั้น จะใช้เวลาแค่ 60-70 วัน และเมื่อเตรียมแปลงใหม่ อาจจะฉีดพาราควอตเพิ่มอีก พอดินอิ่มตัวกับพาราควอต มันจะจับพาราควอตไว้ไม่ไหว ก็ทำให้สารพาราควอตบางส่วนคลายออกมา แล้วพาราควอตเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี ถ้าพื้นที่นั้นอิ่มตัวกับพาราควอตมากๆ เวลารดน้ำหรือดินมีความชื้นมาก พาราควอตก็จะถูกดูดซึมผ่านรากต้นไม้ขึ้นมาได้ ดังนั้นแม้พาราควอตไม่ได้ไปสัมผัสใบส่วนที่เป็นสีเขียวโดยตรง แต่สารจะสะสมอยู่ในต้น ที่สำคัญมาตรฐานสารตกค้างในอาหารมีการกำหนดปริมาณการตกค้างของพาราควอตในผักเอาไว้ด้วย ซึ่งกำหนดไว้ค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น โอกาสที่จะเจอพาราควอตกค้างไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ไม่ได้เกินความคาดหมาย

ทางด้าน รศ.ดร.เจษฎา นำข้อมูลอีกชุดมาชี้แจงว่า โดยระบุว่าค่าครึ่งชีวิต 1,000 วัน เป็นผลการศึกษาจากประเทศในเขตหนาว ซึ่งมีแสงแดดน้อย ขณะที่ในสภาพธรรมชาติพาราควอตจะสลายตัวโดยแสงและถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน โดยผลการศึกษาในประเทศไทยพบว่าจริงๆ แล้ว พาราควอตจะมีค่าครึ่งชีวิต (DT50) ในสภาพสิ่งแวดล้อมแบบของประเทศไทย อยู่ที่ 36-40 วัน เท่านั้น

พิษต่อร่างกายของพาราควอต

มูลนิธิชีววิถี ระบุว่า พาราควอต มีพิษเฉียบพลันสูง โดยอ้างอิงคำเตือนจาก EPA สหรัฐอเมริกา ว่าแค่จิบเดียวก็ตายได้ ซึ่งพบว่ามีพิษร้ายแรงกว่าคาร์โบฟูรานถึง 43 เท่า ซึ่งไทยยกเลิกใช้ไปแล้ว ที่สำคัญผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษนี้จากการฉีดพ่นหรือโดยอุบัติเหตุ มีโอกาสเสียชีวิต 8-15 % งานวิจัยจาก ม.มหิดล ยังพบว่าสารพาราควอตตกค้างในขี้เทาเด็กทารกแรกเกิดด้วย

ขณะที่ รศ.ดร.เจษฎา ระบุว่า พาราควอตดูดซึมผ่านผิวหนังได้น้อย ยกเว้นกรณีมีแผล และอาจจะซึมเข้าสู่กระแสเลือดจนเกิดอันตรายได้ พาราควอตมีฤทธิ์กัดผิวหนังเนื้อเยื้อจนเกิดแผลได้ และปัญหาใหญ่คือคนนำมากินฆ่าตัวตาย

สำหรับการใช้อย่างปลอดภัย อ.เจษฎา ระบุว่าผู้ใช้ต้องรู้จักป้องกันตัวเอง โดยการสวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างถูกต้อง แต่ มูลนิธิชีววิถี มองว่า แม้ใส่อุปกรณ์ป้องกัน แต่หากใช้เครื่องพ่นสะพายหลังก็ยังมีโอกาสสัมผัสสารได้

สาเหตุที่ 53 ประเทศเลิกใช้สารพาราควอต

ศ.ดร.เจษฎา ระบุว่า ประเทศที่เลิกใช้ มักยกเรื่องกลัวคนนำไปฆ่าตัวตาย เป็นข้ออ้างในการแบน
ขณะที่ มูลนิธิชีววิถี มีข้อมูลมายืนยันว่าประเทศที่ยกเลิกใช้พาราควอต ร้อยละ 48 เห็นว่าเป็นพิษสูงและกระทบสุขภาพ, ร้อยละ 30 เพราะทำให้เกิดโรคพากินสัน, ร้อยละ 16 ตกค้างในสิ่งแวดล้อม และมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ป้องกันการใช้ฆ่าตัวตาย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า