SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 31 พ.ค. 62 เครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมกันเดินทางเข้ายื่นเสนอความเห็น ต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี ที่ได้ดำเนินการร่าง พ.ร.บ.สารเคมี ฉบับใหม่ ที่จะนำมาบังคับใช้แทน พ.ร.บ.วัตถุอันตราย หวังช่วยระงับการใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืช ที่มีความเสี่ยงสูง

โดยมีข้อเสนอหลักๆ ว่าหลักการของกฎหมายควรประกอบด้วยหลักการพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่
1) หลักการป้องกันไว้ก่อน ซึ่งหมายรวมถึงการระบุว่าสารเคมีที่มีจำหน่ายในประเทศไทยจะต้องมีการจำหน่ายในประเทศเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้วย และการมุ่งลดการใช้สารเคมีที่มีอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
2) หลักการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนและการปลอดจากการมีส่วนได้เสีย
3) หลักการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะอย่างโปร่งใส
4) หลักการเพิ่มขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ผลิต

นอกจากนี้ เครือข่ายฯ ได้เสนอให้มีการปรับแก้เรื่องคณะกรรมการนโยบายสารเคมีแห่งชาติ เกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการ โดยเสนอให้มีการเพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ นอกจากรัฐมนตรีและข้าราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยให้มีผู้แทนจากท้องถิ่น และผู้แทนจากองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ไม่แสวงหากำไร และขอให้ลดสัดส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจาก 14 คน เหลือ 12 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง จากบุคคลผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ โดยต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
สำหรับการพัฒนากฎหมายสารเคมีขึ้นใหม่นี้จะนำไปสู่การยกเลิกพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 และ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และจะเปลี่ยนชื่อกฎหมายเป็น “พระราชบัญญัติสารเคมี พ.ศ. ….” โดยจะเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศที่จะครอบคลุมการจัดการสารเคมีอย่างครบวงจรทั้งการผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่าน นำกลับเข้ามา ส่งกลับออกไป มีไว้ในครอบครอง ขาย ขนส่ง ใช้ บำบัด กำจัดทำลาย และนำกลับมาใช้อีก รวมถึงการรับคืนซากภาชนะหรือหีบห่อบรรจุภัณฑ์สารเคมีเพื่อนำไปบำบัด กำจัดทำลาย หรือนำกลับมาใช้อีก

นางสาวปรกชล อู่ทรัพย์ คณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ตัวแทนเครือภาคประชาสังคมฯ ผู้ประสานงานมูลนิธิ ชีววิถี ที่ผ่านมา พ.ร.บ.วัตถุอันตรายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันรวมถึงกฎหมายย่อยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนได้ เชื่อว่า การพัฒนากฎหมายสารเคมีฉบับนี้จึงเป็นทิศทางสำคัญที่เชื่อว่าหากผลักดันสำเร็จและมีผลบังคับใช้ในอนาคต ประเทศไทยจะมีกฎหมายการจัดการสารเคมีที่ดีที่สามารถปกป้องสุขภาพประชาชน คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีอันตรายลงได้ มีความโปร่งใสในการจัดการสารเคมีมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศปลอดภัยและยั่งยืน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า