SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่มีใครที่จะล่วงรู้ได้หรอกว่าวันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องพบเจอกับเรื่องดีหรือเรื่องร้าย แต่สิ่งหนึ่งที่เราทำได้คือเมื่อวันนั้นมาถึงเราจะมีวิธีการรับมือกับมันยังไง ‘พาย’ ภาริอร วัชรศิริ เจ้าของผลงาน How I love My Mother, How I Live My Life และ How Lucky I am เธอได้ถอดเรื่องราวจริงที่เธอต้องเผชิญในวัย 16 ปี เมื่อแม่ผู้เป็นเสาหลักของบ้าน ต้องมาล้มป่วยอย่างฉับพลัน จากอาการเส้นเลือดในสมองแตก ส่งผลให้แม่ต้องกลายเป็นผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีก

จากสาวน้อยอายุ 16 ที่ถูกแม่เลี้ยงดูอย่างทะนุถนอมในทุกย่างก้าวของชีวิต กลับต้องลุกขึ้นทำหน้าที่ดูแลแทนเป็นระยะเวลากว่า 11 ปี และเธอสามารถก้าวช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตได้อย่างไร พาย ภาริอร จะมาถ่ายทอดเรื่องราวผ่านรายการ Workpoint Today เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ตรงให้ได้ฟังกัน

“แม่ป่วย” จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในชีวิตของเด็กสาววัย 16 ปี

ตอนอายุ 16 ตอนเรียนอยู่มัธยมปลาย พายอยู่กับแม่สองคน แม่เป็นซิงเกิ้ลมัม แล้วก็พายเป็นลูกคนเดียว จากที่แม่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักของครอบครัว วันหนึ่งเขาก็เส้นเลือดในสมองแตก แล้วก็เป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีก จากที่เวิร์คกิ้งวูแมนทำทุกอย่างกระฉับกระเฉง เลี้ยงลูกตัวคนเดียวอ่ะเนอะ หาเงินเก่ง ทำอะไรเก่ง เขากลายเป็นคนที่ป่วยติดเตียง เลเวลที่ต้องใช้แพมเพิส ต้องป้อนข้าวป้อนน้ำ เรียกว่าเขายกแก้วน้ำขึ้นดื่มเองลำบาก กลายเป็นวิถีชีวิตทุกอย่างทั้ง สองคน คือพายกับแม่เปลี่ยนไปเลย

จากพายที่เป็นเด็กที่ถูกแม่สปอยล์มาตลอด เรียกว่า สบายในเลเวลที่ว่าถุงเท้ากางเกงในก็ไม่ต้องเตรียมเองอ่ะค่ะ แม่ทำให้ทุกอย่าง ก็กลายเป็นคนที่ต้องดูแลตัวเองให้ได้ รับผิดชอบตัวเอง แล้วก็รับผิดชอบแม่ให้ได้ด้วย ช่วงนั้นก็ต้องปรับตัวแล้วก็จูนวิธีคิดหลายๆ อย่าง เพราะมันเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือไปเลย ของทั้งสองคนมันพลิกโลกเราไปเลย

แม่เครียดถึงขั้นอยากตายเพราะกินข้าวแล้วหก – เปลี่ยนได้ด้วยวิธีคิด

พายสังเกตในทุกๆ วันว่าคนป่วยแบบแม่ต้องการอะไร ในยุคที่แม่พายป่วยเมื่อ 11-12 ปี ที่แล้วเว็บไซต์ข้อมูลดูแลคนป่วยยังไม่แพร่หลาย ไม่ได้มีคอมมูนิตี้เรื่องนี้ขนาดนั้น มันไม่คนมาอธิบายว่าเวลาเอาคนป่วยมาที่บ้านอุปกรณ์ที่ต้องซื้อคืออะไร, วิธีคิด, สิ่งที่เราต้องสร้าง-ซื้อเพิ่มคืออะไร ยุคนั้นมันไม่ได้มีบอกขนาดนั้น พายจึงพยายามสังเกตจากชีวิตประจำวันว่าคนป่วยแบบแม่ต้องการอะไร

ยกตัวอย่างเช่น เรื่องที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนป่วยอย่างไม่น่าเชื่อ แม่พายเคยอยากตาย ด้วยเหตุผลที่ว่าเขากินข้าวแล้วเขาคุมข้าวที่มุมปากไม่ได้ แล้วข้าวมันไหลออกมา แม่บอกว่า แม่ไม่เคยคิดเลยว่าชีวิตนี้เกิดมาแม่จะเป็นภาระได้ขนาดนี้แค่กินข้าวมันยังหกเลอะเทอะเลย เราเป็นคนปกติเรารู้สึกว่า เออกินข้าวหกมันหงุดหงิดนะ แต่มันไม่น่าเป็นสาเหตุให้คนอยากตายได้

เราก็พยายามจะหาวิธีแก้ปัญหา เพราะว่าแค่การที่เราบอกแม่ว่า ไม่เป็นไร กินหกไม่เป็นไร บางทีมันอาจจะไม่พอ เพราะเขาจะคิดโทษตัวเอง ว่าเขาทำให้คนอื่นลำบาก เราก็ต้องหาวิธีอื่นๆ ซึ่งพายแก้ด้วยวิธีนิดเดียว จากปกติเวลาคนส่วนใหญ่กินข้าวเราจะใช้โต๊ะทาน พายเลยเปลี่ยนให้แม่ใช้ช้อนขนมในการทานอาหาร พอจำนวนอาหารที่เข้าไปในปากมันเล็ก แม่ก็ควบคุมอาหารในปากได้ แล้วมันก็ไม่หกอีก แม่เลิกเลิกอยากตายเพราะช้อนขนมช้อนนั้น

หอมและกอดแม่ พลังใจในชีวิต

ด้วยความที่เขาเป็นคนป่วยติดเตียง เขาก็จะให้ได้ในแบบของเขา เขาจะให้ได้เป็นคำสั้นๆ ด้วยซ้ำไป มีอยู่วันหนึ่ง ทำงานกลับมาบ้านแล้วเหนื่อยมาก แล้วไปนั่งเกาะขอบเตียงคนป่วยเขาที่อยู่ที่บ้านแล้วก็น้ำตาซึม แล้วเขาก็ยื่นมือข้างที่ใช้ได้มาแตะๆ แล้วบอกว่าค่อยๆ ทำไป จริงๆ

เอาจริงๆ ตอนที่แม่ยังปกติดีออกจะรำคาญปนเซ็งๆ แม่เหมือนที่วัยรุ่นเขาเป็นกัน ว่าแบบแม่ไม่เข้าใจเราเลย แม่ขี้บ่นอะไรอย่างนี้ แต่ว่าพอแม่ป่วยเหมือนเห็นคุณค่าในความสัมพันธ์มากขึ้น ตอนนั้นเป็นโรคเสพติดการกอด การหอมแม่มาก ก็รู้สึกว่ามันเติมเต็มดี ตอนนี้พอแม่เขาไม่อยู่แล้ว เขาเสียแล้ว ทุกครั้งจะเหมือนมีพลังงานเป็นขุมทรัพย์ลับ ถ้าเกิดว่านึกย้อนกลับไป จะสามารถนึกความรู้สึกตอนตัวเองไปกอดไปหอมเขาได้ แล้วก็จะรู้สึกว่าเออไม่เป็นไรวันนี้เดี๋ยวก็ผ่านไป

คนเราชอบโบยตีตัวเองอยู่เสมอ

คนเราติดนิสัยชอบโบยตีตัวเอง เราใจดีกับคนอื่นมากแต่เราโบยตีตัวเองเก่ง แบบว่าทำไมฉันไม่เข้มแข็งเลย ทำไมฉันอ่อนแอทำไมเรื่องแค่นี้ฉันทำไม่ได้ ไม่เห็นเป็นไรใครๆ ก็ทำไม่ได้แต่แค่ไม่ได้บอกคุณ ทำไม่ได้บ้างก็ไม่เป็นไร ก็ค่อยๆ อยู่กับมันไปวันนหนึ่งจะมองเห็นมุมที่สามารถเข้าชาร์จได้ สามารถเปลี่ยนได้แล้วถึงตอนนั้นค่อยเปลี่ยนก็ไม่เป็นไร ไม่เป็นไรที่จะช้าสุดท้ายจะทำได้ อย่ากดดันตัวเองจนเกินไป เพราะการกดดันตัวเองจะทำให้หมดกำลังใจ และสุดท้ายจะไปไม่ถึงปลายทางด้วยซ้ำ แล้วก็จะหมดกำลังใจไปแล้วก็จะรู้สึกว่าฉันชี้แพ้ เหลือเกิน ทั้งที่จริงๆ คุณอาจจะเป็นคนที่เจ๋งๆ คนหนึ่งแค่ต้องใช้เวลามากขึ้นเท่านั้นเอง

พายเองก็มีช่วงที่ต้องปรับตัว ช่วงแรกเป็นการปรับตัวเรื่องไลฟ์สไตล์ ที่เราจะไม่มีอิสระเหมือนคนอื่น ช่วงหลังเป็นเรื่องของการตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าแล้วเรื่องนี้มันจะจบลงเมื่อไหร่นะ แล้วฉันจะต้องอยู่ในสภาพนี้ไปอีกนานแค่ไหน หรือช่วงหลังพอเริ่มชินแล้ว แม่เป็นโรคแทรกซ้อน ตัวเองเริ่มปวดหลังเพราะยกแม่บ่อย คือมันจะมีหลายช่วงที่ผ่านเข้ามา แล้วเราก็จะพยายามพลักดันตัวเองตลอดเวลาว่าเราต้องผ่านไปให้ได้ๆ แต่บางทีการที่เราค่อยๆ ใช้เวลาผ่านมันไปอย่างช้าๆ ก็ไม่ได้ผิดจนเกินไปนัก

11 ปีที่ต้องดูแลแม่อย่างใกล้ชิด สร้างมุมมองทางความคิดอะไรบ้าง

จริงๆ มันมาจากการที่ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ มากกว่า เหมือนมันตกตะกอนขึ้นมาเองเรื่อยๆ 11 ปี มันเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมากจริงๆ แล้วมันก็สะท้อนมุมต่างๆ ให้ได้คิดทุกวัน คือการดูแลคนป่วยมัน เราอยู่กับคนป่วยเยอะนะ แต่เราอยู่กับตัวเองเยอะกว่า เราอยู่กับความคิดของตัวเองแม้กระทั้งตอนเราเข้าห้องน้ำหรืออะไรก็ตาม เราก็แบบต้องรีบเข้าทุกอย่างต้องรวดเร็ว คือมันจดจ่อกับตัวเองมาก เพราะฉะนั้นมันก็เลยได้สิ่งเหล่านี้เยอะ ข้อควรระวังอย่างหนึ่งของคนที่ต้องดูแลผู้ป่วยก็คือ บางทีเขาต้องแบกรับความกดดันมาก ทั้งจากภายในก็คือสิ่งที่ตัวเองต้องดูแล และจากคนภายนอก เช่นอย่างเมื่อกี้ก็คือเมื่อไหร่จะหาย ทำไมไม่หายสักที ดูแลไม่ดีหรือป่าว หรือความไม่เข้าใจจากคนรอบๆ ข้าง เพราะฉะนั้นเนี่ยก็ต้องเข้มแข็งนิดหนึ่ง แล้วก็รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ ก็อาจจะช่วยเรื่องนี้ได้มากขึ้น

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก : Pariorn Watcharasiri

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า