Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาฯ เห็นชอบ ตั้งกมธ.ศึกษาการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ‘พิธา’ อภิปราย ‘นิรโทษกรรม’ ไม่ควรผูกขาดแค่คณะรัฐประหาร 

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (1 ก.พ. 67) ซึ่งมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พิจารณาญัตติด่วนขอให้สภาตั้ง คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยน.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอญัตติ

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายโดยสรุปได้ว่า การนิรโทษกรรมไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย จากเอกสารประกอบการพิจารณาของทางสภาฯ ที่เตรียมไว้ ประเทศไทยเคยนิรโทษกรรมมาแล้ว 22 ครั้ง และถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจน เพื่อลดความขัดแย้งในสังคม เพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับการเมือง เพื่อทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ เพื่อจะคืนพ่อให้กับลูกสาวที่ยังเล็กได้ เพื่อให้คนที่อยู่ต่างประเทศที่มีความเห็นทางการเมืองขัดแย้งกับรัฐได้กลับสู่มาตุภูมิ ตนก็คิดว่าการนิรโทษกรรมไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัวเสมอไป

“โอกาสในการรับนิรโทษกรรม ไม่ควรจะถูกผูกขาดกับคณะรัฐประหาร หรือคนจะคิดที่จะล้มล้างการปกครองเพียงอย่างเดียว ไม่ควรที่จะผูกขาดกับคนที่ต้องการจะบ่อนเซาะ คนที่ต้องการจะทำลายระบบประชาธิปไตย ในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว” นายพิธา กล่าว

นายพิธา อธิบายว่า ที่พูดเช่นนี้เพราะอ้างอิงจากเอกสารของสภาฯ ตั้งแต่ปี 2475 มาถึงปี 2557 ไม่ม่าจะครั้งไหน เห็นจะมีปี 2521 เพียงครั้งเดียว สมัย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ที่เป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิด เนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนั้น นิรโทษกรรมผู้ทำการปฏิวัติ ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ความผิดต่อความมั่นคงต่อราชอาณาจักรในฐานะกบฏ

นายพิธา กล่าวอีกว่า เรื่องการนิรโทษกรรมไม่ใช่แค่การให้พ้นผิดทางกฎหมาย คิดว่าประเทศไทยต้องก้าวผ่านเรื่องแค่พ้นผิด เราควรจะมีการป้องกันไม่ให้การกระทำแบบนี้เกิดขึ้นอีก สร้างความโปร่งใส ทำให้เกิดการเสาะหาข้อเท็จจริง จนกระทั่งมีการแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ทั้งหมดจะทำให้ความสมานฉันท์ ความปรองดองเกินขึ้นในชาติได้จริง การนิรโทษกรรมครั้งนี้ เราไม่ควรจะคิดแค่คนทำรัฐประหาร แต่เราควรคิดที่เหยื่อที่โดนทำรัฐประหาร เราต้องคิดถึงคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายจากรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากรัฐประหาร ไม่ใช่เฉพาะคนที่ออกมาเรียกร้องทางการเมือง แต่คนทวงคืนผืนป่า ประมง IUU คดีเหมือง และย้ำว่า ไม่ใช่แค่ยุติคดีทางอาญา แต่คือการเยียวยา ไม่ให้เกิดวัฒนธรรม “ผิดลอยนวล”

นายพิธา ยังเสนอให้ ฝ่ายบริหาร คือทางนายกรัฐมนตรี สั่งตำรวจชะลอคดี ระหว่างที่มีกระบวนการแบบนี้เกิดขึ้นในรัฐสภา การตีตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม กำลังจะเกิดขึ้น ในฝ่ายอัยการ ศาล ต้องวินิจฉัยคดีด้วยความรัดกุม รอบคอบ บนฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริงเท่านั้นไม่ใช่อารมณ์หรือเอาอย่างอื่นมาตัดสินด้วย และในฝ่ายรัฐสภา สามารถจะเข้าสู่การอภิปรายความแตกต่างของร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ไม่ว่าจะเสนอจากพรรคไหน และรวมถึง ข้อคิดเห็นของประชาชนด้วย 3 เสาหลักของประเทศ สามารถสร้างบรรยากาศที่ดี สมานฉันท์ เพื่อให้ประเทศเดินต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม หลังจากเปิดให้สมาชิก ทั้ง สส.ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน อภิปรายแล้ว สภาฯ ได้เห็นชอบ ตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาการออกกฎหมายนิรโทษกรรม จำนวน 35 คน ระยะเวลา 60 วัน อาทิ

– พิชัย นิลทองคํา

– รศ.ยุทธพร อิสรชัย

– อังคณา นีละไพจิตร

– ผศ. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง

– เอกชัย ไชยนุวัติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่ายฯ ยื่นสริเริ่มเสนอร่าง นิรโทษกรรมประชาชน ต่อสภาฯ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า