SHARE

คัดลอกแล้ว
สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและอุ้มหาย วาระ 1 โดยไม่มีผู้คัดค้าน ใช้ร่างรัฐบาลเป็นหลักกำหนดเวลาแปรญัตติ 7 วัน
 
วันที่ 16 กันยายน 2564 สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างพรบ.ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและบังคับสูญหาย พ.ศ. … ด้วยเสียง 363 เสียง จากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 365 เสียง ไม่มีผู้ไม่เห็นด้วย มีผู้งดออกเสียง 1 รายและไม่ลงคะแนนเสียง 1 ราย เป็นการผ่านร่างกฎหมายในวาระ 1 ของร่างกฎหมายที่มีประวัติการผลักดันในประเทศไทยอย่างยาวนาน
 
วานนี้ระหว่างอภิปรายร่างกฎหมายดังกล่าว รังสิมันต์ โรมกล่าวแสดงคารวะถึงเหยื่อบังคับสูญหาย อิทธิพล สุขแป้น, วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ, สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, ชัชชาญ บุปผาวัลย์,ไกรเดช ลือเลิศ, ชูชีพ ชีวะสุทธิ์, สยาม ธีรวุฒิ, กฤษณะ ทัพไทย และ เด่น คำแหล้ เป็นต้น
 
ขณะที่ พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ทายาทหะยีสุหลง เหยื่อการบังคับสูญหายเล่าผลกระทบของญาติและผลกระทบทางจิตของผู้ถูกซ้อมทรมานและผู้เกี่ยวข้อง กล่าวถึง ความจำเป็นที่ต้องเลือกร่างของกมธ.ที่เสนอโดย นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เนื่องจากความคุ้มครองที่กว้างกว่า
 
ทั้งนี้ กรรมาธิการที่จะพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ประกอบด้วยนักสิทธิมนุษยชน เช่น สมบัติ บุญงามอนงค์, พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ, สมชาย หอมละออ และอังคณา นีละไพจิต ภรรยาสมชาย นีละไพจิต ซึ่งถูกบังคับสูญหาย นอกจากอังคณาแล้ว ผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับสูญหายคนอื่นที่อยู้ในกมธ.นี้ ได้แก่ แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ทายาทหะยีสุหลง ผู้นำมุสลิมซึ่งถูกบังคับสูญหาย
 
กรรมาธิการรายอื่นๆ ได้แก่ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ, ว่าที่ร้อยตรีธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์, จรวยพร พงศาวสีกุล, สุทัศน์ เงินหมื่น, ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา, นายชวลิต วิชยสุทธิ์, ทศพร เสรีรักษ์, ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ, เอกชัย ไชยนุวัติ, กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ, วีระกร คำประกอบ, สิระ เจนจาคะ, อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ, สมบัติ อำนาคะ, กองตรี อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ, ศุภชัย ใจสมุทร, พลโท กฤษณะ บวรรัตนารักษ์, รังสิมันต์ โรม, ศิริภา อินทวิเชียร และ สัมพันธ์ แป้นพัฒน์
 
ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ มีการเสนอ 4 ร่างด้วยกัน ได้แก่
1.ร่างของกระทรวงยุติธรรม
2.ร่างกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
3.ร่างพรรคประชาชาติ
4.ร่างพรรคประชาธิปัตย์
 
หลังลงคะแนนเสียงรับร่างทั้งหมดในวาระ 1 ประธานหารือว่า ร่างใดจะเป็นร่างหลัก อรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.พลังประชารัฐ เสนอใช้ร่างรัฐบาลเป็นหลัก ก่อนที่ ณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.พรรคก้าวไกล เสนอใช้ร่างกรรมาธิการการกฎหมาย ต่อมามีการเจรจากัน และตกลงใช้ร่างรัฐบาลเป็นร่างหลัก โดย ณัฐวุฒิ บัวประทุม เชื่อว่า สามารถแก้ไขนำรายละเอียดอื่นเข้าไปได้ สภามีมติกำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 7 วัน
 
ประเทศไทยมีพันธะผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้สาบสูญ ซึ่งผูกพันให้ต้องออกฎหมายออกมารองรับ นำมาสู่การร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและบังคับสูญหาย ฉบับแรกในสมัยสนช. ก่อนที่จะเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติและไม่มีความเคลื่อนไหว
 
หลังการเลือกตั้งปี 2561 ภาคประชาสังคมได้ยื่นร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร อีกครั้งผ่านทางกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เป็นที่มาของร่างกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาชาติได้ยื่นร่างของพรรคตนเพิ่มเข้ามา จวบจนปลายปี 2563 กระทรวงยุติธรรมจึงชงร่างกฎหมายตัวเดียวกันนี้ผ่านทางครม.และส่งมายังรัฐสภา กระทั่งถูกบรรจุในวาระด่วน 8 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา และได้รับการพิจารณาในวาระแรก 15 กันยายน 2564
รายงานผลการดำเนินการตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯและการดำเนินการด้านข่าวปลอมประจำวันที่ 16 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2564
 
แอมเนสตี้แถลงหลังสภาผู้แทนฯ รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหาย ย้ำ กม. ต้องให้ความยุติธรรมต่อผู้เสียหาย

เอ็มเมอร์ลีน จิล รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายวิจัย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลแสดงความคิดเห็นว่าเห็นถึงพัฒนาการที่เกิดขึ้นต่อกฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดอาญาดังกล่าวที่เดินหน้ามาถึงจุดนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องคุ้มครองบุคคลให้รอดพ้นและปลอดภัยจากการละเมิดที่ร้ายแรง รวมทั้งคืนความยุติธรรมให้กับผู้เสียหายและครอบครัว ซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรมมาเป็นเวลานาน

“ในบัดนี้ทางการต้องเร่งดำเนินการขั้นต่อไปและประกันว่าร่างกฎหมายฉบับปัจจุบันต้องสอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทยอย่างเต็มที่ และประกาศใช้เป็นกฎหมายอย่างรวดเร็ว”

เธอระบุว่าความล่าช้าของรัฐบาลในการกำหนดให้การทรมานและการบังคับบุคลให้สูญหายเป็นความผิดอาญา ส่งผลให้ผู้เสียหายไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรม และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายคนอื่นไม่กล้าออกมาร้องเรียน ทั้งยังส่งสัญญาณต่อเจ้าพนักงานว่า พวกเขาไม่อาจกระทำการละเมิดเช่นนี้ได้อีกโดยไม่ต้องรับโทษ

“ผู้เสียหายจากการทรมานและญาติของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ทั้งกรณีของทนายสมชาย นีละไพจิตร และนักกิจกรรมอย่างนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกอุ้มหาย ยังคงยืนหยัดในการรณรงคให้มีการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว เพื่อเปิดทางให้พวกเขาได้รับความยุติธรรม เข้าถึงความจริง และการเยียวยาสำหรับครอบครัว ร่างกฎหมายนี้ภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติม อาจเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยพวกเขาในเรื่องนี้ได้”

นอกจากนี้ องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศดังกล่าวยังระบุว่าการลงคะแนนเสียงเห็นชอบร่างกฎหมายนี้นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญ แต่ยังไม่เพียงพอ รายงานข่าวล่าสุดเกี่ยวกับการทรมานโดยตำรวจ เน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่รัฐบาลไทยต้องหาทางแก้ไขปัญหาการทรมานและการใช้อำนาจอย่างมิชอบของเจ้าพนักงานบางคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องทางการไทยให้ประกาศใช้กฎหมาย โดยให้ใช้นิยามของการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายที่สอดคล้อง่ตามเนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเต็มที่ กำหนดความรับผิดชอบทางกฎหมายต่อเจ้าพนักงานในทุกระดับของสายการบังคับบัญชา และให้เคารพหลักการไม่ส่งกลับ (ไปยังสถานที่ที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง) ตามกฎหมาย”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า