SHARE

คัดลอกแล้ว

สิ้นสุดการรอคอย ตั้งแต่เริ่มโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ในเดือนกรกฎาคมปี 2551 แต่เนื่องจากเกิดปัญหาการส่งมอบพื้นที่และปรับรายละเอียดแบบก่อสร้างทำให้โครงการเลื่อนออกไป คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ปลายปีนี้

โดยทุกวันพุธและพฤหัสบดี จะมีการประชุมสภาฯ แต่ 31 กรกฎาคม และ 1 สิงหาคมมีประกาศงดประชุม เพื่อขนย้ายอุปกรณ์จากห้องประชุมชั่วคราว สำนักงานใหญ่ทีโอที แจ้งวัฒนะ ไปใช้ “สัปปายะสภาสถาน” รัฐสภาแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ในย่านเกียกกาย เขตดุสิต นายสรศักดิ์ เพียรเวร เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระบุ จะเริ่มใช้ห้องประชุมจันทรา ภายในสัปปายะสถานเป็นสถานที่ประชุมเป็นครั้งแรกในเดือนนี้

(ภาพถ่ายจากมุมสูง ทำให้เห็นลักษณะการจัดวางผัง – master plan ที่ได้แนวความคิดมาจากไตรภูมิ ซึ่งมีเขาพระสุเมรุอยู่ตรงกลาง)

การจัดวางผังในรูปแบบสมมาตรในแบบคติไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุอยุ่ตรงกลางนั้น จะเป็นที่ตั้งของเครื่องยอด ที่มีพระสยามเทวาธิราชสถิดอยู่ และด้านล่างจะออกแบบเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติไทย และ Archive
ด้านซ้ายเป็นห้องประชุมสุริยัน (สส.)
ด้านขวาเป็นห้องประชุมจันทรา (สว.)
เป็นการจัดวางผังที่ได้ความหมายเรื่องการถ่วงดุลในระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย และตอบโจทย์เรื่องการใช้งานได้เป็นอย่างดี

อาคารพื้นที่ 424,000 ตร.ม. สูง 11 ชั้น ยาว 500 เมตร บนที่ดินเกือบ 120 ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

แสงพระอาทิตย์ยามเย็นอาบเข้าที่เปลือกอาคาร แม้ว่าจะยังก่อสร้างไม่เสร็จ แต่ก็สัมผัสได้ถึงความงดงามที่น่าจะสมบูรณ์แบบ หากเปลือกอาคารติดตั้งแล้วเสร็จ

เครื่องยอดสูงสุดของอาคาร 81 เมตร ที่จะเป็นที่ประดิษฐานของพระสยามเทวาธิราช – ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในบริเวณชั้นบนสุดนี้ ทีมงานสถาปนิกออกแบบไว้ให้สามารถเข้าถึงได้โดยประชาชนทั่วไป

เครื่องยอดทางสถาปัตยกรรม -หยดน้ำค้าง-

โถงพิพิธภัณฑ์ชาติไทย – โถงสูง 7 ชั้น อยู่ตรงกลาง main hall ในบริเวณชั้น Ground นี้ ทีมงานสถาปนิกออกแบบไว้ให้สามารถเข้าถึงได้โดยประชาชนทั่วไป

ห้องประชุมจันทรา รองรับการประชุมของส.ว.ได้ 250 คน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 36 เมตร สูงประมาณ 30 เมตร เปลือกภายในของห้องประชุมถูกปิดผิวด้วยแผ่นอคูสติกไม้สักทำสีฟ้าซีด พร้อมซ่อนไฟด้านหลัง ทำให้เรืองแสงออกมาได้อย่างอลังการ /photo by -Kwan-

ภายในห้องประชุมจันทรา แผ่น acoustic ไม้สักแต่ละแผ่นถูกจัดเรียงเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีขนาดไม่เท่ากัน โดยจะค่อยๆ ลดหลั่นลงมาจากยอดโดม เพื่อให้สอดคล้องกับสันฐานทรงกลม 3 มิติ งาน HANDMADE CRAFT
เส้นกลมเวียนขวาตามเข็มนาฬิกาในแต่ละแผ่นนั้น แรงบันดาลใจมากจากขดก้นหอยบนเศียรพระพุทธรูป

ห้องประชุมสุริยัน รองรับการประชุมของ ส.ส. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เมตร ถูกออกแบบให้โดดเด่นแตกต่างจากห้องประชุมจันทรา โดยจะปิดผิวด้วยแผ่นอะคูสติก ไม้สักโชว์ลวดลายตามธรรมชาติ / photo by -kwan-

วัสดุปิดผิวจะแสดงผิวลวดลายไม้สักตามธรรมชาติ ซึ่งให้มิติที่แตกต่างจากห้องประชุมจันทรา

พื้นที่อาคารจำนวนมากจะถูกเจาะให้เป็นช่องเปิด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานออกมาสัมผัสบรรยากาศสวนภายนอก นำแสงธรรมชาติเข้าไปใช้ภายในอาคาร และยังลดพื้นที่ปรับอากาศ ช่วยประหยัดพลังงาน / photo by -kwan-

เสาไม้สักขนาด 8 นิ้ว ยาว 4.6 เมตร อายุไม่น้อยกว่า 25 ปี ผ่านการอบแห้งและมีความชื้นไม่เกิน 16%
ไม้สักเหล่านี้ได้มาจากการบริหารจัดการเป็นอย่างดี จากป่าปลูกโดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ /photo by -kwan-

 

ที่มาFBBoonchai Tienwang

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า