SHARE

คัดลอกแล้ว

‘วิโรจน์’ อัดงบการศึกษา ยุครัฐมนตรี ‘เพิ่มพูน’ แต่ผลสัมฤทธิ์การศึกษา ‘ถดถอย’ พร้อมยกปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กวิกฤติหนัก

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปราย ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระแรก วันสุดท้าย ในวันนี้ (5 ม.ค. 67) โดยสรุปกล่าวถึง ผลคะแนน PISA และว่า PISA ไม่ใช่การสอบแข่งขันหรือชิงรางวัล แต่เป็นดัชนีวัดคุณภาพคน ประเมินคุณภาพของประเทศ ผลคะแนน PISA ที่ประกาศออกมาล่าสุด ประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่มรั้งท้ายเหมือนเดิม แต่ที่น่าตกใจ คือ ไทยได้คะแนนต่ำสุดในรอบ 20 ปี หนำซ้ำผลต่างคะแนนในกลุ่มประเทศ OECD หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว นับวันประเทศไทยยิ่งทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆ เหมือนเข้าสอบไปอย่างนั้นเข้าสอบโดยไม่อ่านหนังสือ ไม่เคยเอาผลการสอบครั้งที่แล้วมาปรับปรุงระบบการศึกษาอะไรเลย รู้อยู่แล้วว่า สิ่งที่เราทำมันล้มเหลวล้าหลัง ก็ยังจะทำเหมือน นับจากปี 2000 ถึง ปี 2024 ผ่านมา 24 ปี จมปลักกับปัญหาเดิมๆ

จนวันนี้รัฐบาลมองปัญหากลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว หลอนว่าระบบการศึกษาแบบนี้คืออัตลักษณ์ของประเทศ นี่แหละคือวิกฤติของระบบการศึกษาไทย ยิ่งพอฟังการให้สัมภาษณ์ของ รมว.ศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 66 ตนตกใจ ยิ่งยืนยันว่า นี่เราอยู่ในสภาวะวิกฤติจริงๆ ประเด็นที่รัฐมนตรีพูดว่า “คงไม่เทียบมาตรฐานกับประเทศอื่นดีกว่าครับของเราเป็นตัวของเราเอง” นี่ยิ่งเป็นปัญหา คนระดับรัฐมนตรีมองปัญหาไม่เป็นปัญหาแต่มันเป็น “สไตล์” จึงไม่แปลกใจเลยที่งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ ปี 67 จึงเป็นงบประมาณที่ทำงานแบบเดิมๆ คาดหวังการเปลี่ยนแปลงอะไรก็คงจะยาก ทุกวันนี้การศึกษาไทย ไม่ใช่แค่เดินตามหลังประเทศอื่น แต่เรากำลังเดินหลงทางอยู่ เดินตามหลังไม่ใช่แย่หนัก เพราะมองไปข้างหน้ายังเจอคน อาจถึงช้าเข้าหลังเพื่อนแต่ยังก็ไปถึงจุดหมาย แต่ที่ รมว.ศึกษาธิการ บอกว่า ของเราเป็นตัวของเราเอง นี่คืออาการ มองไปข้างหน้าก็ไม่เจอใคร มองไปข้างหลังก็ไม่เจอคน มองซ้ายเจอฮวงซุ้ย มองขวาเจอป่าช้า แต่ก็ยังจะเดินหน้าต่อไป และยิ่งเดินต่อเสบียงยิ่งร่อยหรอ เหมือนกับงบประมาณถูกใช้ไปเรื่อยๆ แต่ไม่สามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้

“ตอนนี้เราอยู่ในยุคที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ชื่อว่า เพิ่มพูน ครับแต่การศึกษาไทยเรามีแต่ถดถอย ล้าหลัง” นายวิโรจน์ กล่าว

นายวิโรจน์ กล่าวถึงปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก หรือโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 120 คน โดยตามข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระบุว่า ปีการศึกษา 2566 มีจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กทั้งสิ้น 14,996 แห่ง จากโรงเรียนทั้งหมด 29,312 แห่ง คิดเป็น 51.2% หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งไปแล้ว และยังมีโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 121 – 200 คน อยู่อีกประมาณ 7,000 แห่ง ที่กำลังจะกลายเป็นโรงเรียนขนาดเล็กในอนาคตอันใกล้ จากอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนขนาดเล็กได้รับงบประมาณน้อยกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ แม้ว่าจะมีการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวให้กับนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กก็ตาม แต่เมื่อกระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบโดยคิดจากรายหัวนักเรียนเป็นหลัก หัวละ 500 บาทต่อคนต่อปี ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กประสบกับปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ ขาดแคลนสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพ อาคารสถานที่ ตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ ขาดการบำรุงรักษาจนส่งผลต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักเรียน

นอกจากนี้ ในการจัดสรรอัตรากำลังครูผู้สอน สพฐ. ยังใช้หลักเกณฑ์สัดส่วนครูต่อจำนวนนักเรียน ยิ่งจำนวนนักเรียนมีน้อยครูก็ยิ่งมีน้อยตาม บางโรงเรียนมีปัญหาครูไม่ครบชั้น ครูหนึ่งคนต้องสอนหลายชั้นหลายวิชา ทำให้ยากต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับหลักสูตรการเรียนการสอนของประเทศไทยกำหนดให้นักเรียนต้องเรียนหลายวิชา ทั้งมีการบ้านและการสอบที่มากเกินไป

ที่ผ่านมาจนถึงปีงบประมาณปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการไม่เคยคิดที่จะแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างจริงจัง การควบรวมโรงเรียนที่ผ่านมาไม่เคยประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย แถมยังมีแนวโน้มควบรวมได้น้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งถ้าจะแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง งบประมาณเพียงปีละ 2 ร้อยกว่าล้านบาทย่อมแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นปัญหาระดับวิกฤติไม่ได้ การจัดสรรงบประมาณเพียงเท่านี้ ก็สะท้อนได้ว่ารัฐบาลไม่ได้มองปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กว่าเป็นปัญหาระดับวิกฤติเลย

นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า นอกจากจะควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้ตามเป้าหมายแล้ว การควบรวมโรงเรียนอย่างไร้ยุทธศาสตร์ที่ผ่านมาของกระทรวงศึกษาธิการยังก่อให้เกิดปัญหาข้อพิพาทกับชุมชน อย่างรุนแรง ส่วนเงินชดเชยค่าพาหนะในการเดินทางไป-กลับบ้านโรงเรียนก็จ่ายในอัตราที่ถูกอย่างไม่สมเหตุสมผล กระทรวงศึกษาธิการก็รู้อยู่แก่ใจว่าทางออกของเรื่องนี้ไม่ใช่การจ่ายชดเชยค่าพาหนะ แต่ต้องเป็นการจัดรถโรงเรียนเพื่อให้เด็กทุกคนในจังหวัดสามารถเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนที่ตอบโจทย์ศักยภาพของตัวเองและอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนักได้

และสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปด้วย ก็คือการถ่ายโอนโรงเรียนที่ถูกควบรวมให้กับท้องถิ่น พร้อมงบอุดหนุนเฉพาะกิจ เช่น แห่งละ 1 ล้านบาท เพื่อให้ท้องถิ่นนำงบส่วนนี้ไปใช้ปรับปรุงอาคารสถานที่ และนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นที่เกิดประโยชน์กับชุมชน

มีการศึกษาว่าโรงเรียนขนาดเล็กมีต้นทุนในการบริหารจัดการสูงกว่าโรงเรียนขนาดกลางอยู่ 13,600 บาทต่อคนต่อปี ดังนั้นหากแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนรวมกัน 954,756 คน ก็จะทำให้ประหยัดงบประมาณได้ถึงปีละ 12,985 ล้านบาท เมื่อรวมกับการปรับลดงบดำเนินงานและงบรายจ่ายอื่นจากโครงการที่มีภารกิจซ้ำซ้อนแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจะมีงบประมาณที่นำไปจัดสรรใหม่ได้ถึงปีละ 15,102 ล้านบาท

โดยงบประมาณกว่า 1.5 หมื่นล้านบาทนี้ สามารถจัดสรรเป็นงบอุดหนุนเฉพาะกิจ 4,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. นำไปใช้บริหารจัดการรถโรงเรียนภายในจังหวัด และให้เด็กทุกคนสามารถขึ้นรถโรงเรียน ไป-กลับโรงเรียนได้อีก 6,600 ล้านบาทต่อปี นำไปจัดสรรงบประมาณเพิ่มให้กับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ให้เด็กยากจนพิเศษ 1.3 ล้านคน ได้รับทุนเสมอภาคเพิ่มจาก 3,000 เป็น 4,200 บาทต่อคนต่อปีทันที และยังเหลืองบประมาณอีก 4,502 ล้านบาท ที่สามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาอื่นๆ ได้อีก

“ที่ผ่านมารัฐบาลบอกกับประชาชนอยู่ตลอดว่าประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ แต่เหตุใดจัดงบประมาณออกมาเป็นรูทีนแบบนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะนำเอาสิ่งเหล่านี้ไปปรับลดงบประมาณ และให้รัฐบาลนำเอางบประมาณที่ปรับลดได้ไปปรับปรุงงบประมาณมาเสียใหม่ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติทางการศึกษา ไม่ใช่งบประมาณเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ประจำวันแบบนี้” นายวิโรจน์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า