Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

บ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าวต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ด้ามขวานของไทย โดยเฉพาะเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงเวลายาวนานสิบกว่าปีที่ผ่านมา นานพอจะได้ทำผู้คนทั่วไปมองว่าเหตุการณ์ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ และไม่รู้ว่าปัญหานี้จะแก้ที่ตรงไหน แม้จะมีการพูดคุยและมีความพยายามในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาหลายครั้งแต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไปเสียทีเดียว จนคนนอกพื้นที่อาจเริ่มรู้สึกชินชาแต่บาดแผลของความขัดแย้ง ความอยุติธรรมและความสูญเสียกลับไม่เคยถูกลบไปจากหัวใจของคนสามจังหวัด ขณะเดียวกันเริ่มมีความหวังจากคนรุ่นใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งพวกเขาพยายามสร้างอัตลักษณ์บอกเล่าวิถีชีวิตของตัวเองผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อถอดรื้อมายาคติด้วยศิลปะ

เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และผู้ก่อตั้งปัตตานี  อาร์ตสเปซ (Patani Artspace) อาร์ตสเปซ แห่งแรกใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาเล่าถึงสถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความตั้งใจถ่ายทอด”ความจริง”ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ผ่านงานศิลปะโดยมุมมองของคนในพื้นที่เอง

พื้นที่ด้านในปัตตานี  อาร์ตสเปซ (Patani Artspace)

  • สถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ช่วงโควิด-19เป็นอย่างไร?

ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา แน่นอนว่าผู้คนส่วนใหญ่ไปให้ความสนใจเรื่องโรคระบาด จนไม่ค่อยได้ยินข่าวความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้เท่าไรนัก ช่วงนั้นปัตตานี อาร์ตสเปซ (Patani Artspace) ก็ปิดให้บริการเช่นเดียวกัน กิจกรรมต่างๆก็ถูกงด พื้นที่สามจังหวัดจึงค่อนข้างเงียบเหงาไม่ต่างไปจากพื้นที่อื่นๆ ช่วงแรกของการแพร่ระบาดย้อนกลับไปตอนนั้น มีผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มาจากประเทศมาเลเซีย คือกลุ่มที่เดินทางไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาในต่างประเทศ (กลุ่มดะวะฮ์) คนกลุ่มนี้เขามองว่าโรคระบาดที่เกิดขึ้นเป็นบททดสอบจากพระเจ้า

ในช่วงแรกผู้คนในพื้นที่ยังไม่ตระหนักมากนัก ทำให้เกิดการแพร่ระบาดออกไปกว้างมากขึ้น แต่หลังจากนั้นเริ่มมีการวิพากษ์กันเองในพื้นที่ ทำให้คนกลุ่มนี้มีความตระหนักและระมัดระวังมากขึ้น สำหรับคนในพื้นที่แล้ว การที่คนต่างศาสนาวิพากษ์ยังไม่ส่งผลเท่ากับคนในศาสนาเดียวกันวิพากษ์กันเอง เนื่องจากคนในพื้นที่มองว่า หากเป็นกรณีใดก็ตามที่ถูกวิพากษ์โดยบุคคลภายนอก คนในพื้นที่ลึกๆอาจจะรู้สึกว่าเกิดจากการมี “อคติ” เพราะที่ผ่านมาการวิจารณ์หลายๆครั้งไม่ได้มาจากเหตุผลทำให้คนในพื้นที่รู้สึกปิดกั้น ดังนั้นการวิพากษ์วิจารณ์กันเองในพื้นที่จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งคนในพื้นที่เองก็มีหลายกลุ่ม กลุ่มศาสนา นักวิชาการ กลุ่มปัญญาชน ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่ากลุ่มไหนเป็นแกนนำความคิดหลักของสังคม เพราะแต่ละกลุ่มจะมีแกนนำความคิดของกลุ่มตัวเอง โดยหลักๆแล้วในพื้นที่จะถกเถียงกันเรื่องศาสนาเป็นเรื่องหลัก ตามมาด้วยการเมืองการปกครองและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่

ปัตตานี  อาร์ตสเปซ (Patani Artspace)

จุดเริ่มต้นนิทรรศการผ่านการเล่าเรื่องของผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมโดยใช้ศิลปะเยียวยาจิตใจ

จุดเริ่มต้นของงานมาจากกลุ่มนักกิจกรรมภาคประชาสังคมมีการจัดงานสัมนาขึ้นและเชิญผู้ที่ถูกซ้อมทรมานมาร่วม รวมทั้งนักวิชาการจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่กระบวนการยุติธรรม จึงเกิดการใช้ศิลปะมามีส่วนเพื่อบำบัดจิตใจให้เขาได้แสดงออกอย่างเสรี สามารถถ่ายทอดให้สังคมได้รับรู้เหตุการณ์ความไม่ยุติธรรมที่คนกลุ่มนี้ประสบพบเจอผ่านงานศิลปะ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดตัวงานก็สามารถสื่อสารเรื่องราวความจริงเหล่านี้ออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม จากเดิมที่เป็นแค่ข่าวหรือผ่านการบอกเล่าเท่านั้น

งานทั้งหมดพยายามนำเสนอซึ่ง “ความจริง”ที่ไม่ถูก”เซ็นเซอร์”เพื่อนำมาสู่การพูดคุย

วันเปิดงานมีเจ้าหน้าที่ได้มาพูดคุยและมาร่วมฟังกิจกรรมด้วย ซึ่งอาจจะมีบางอย่างที่เห็นไม่ตรงกันบ้าง แต่สิ่งที่เราต้องการ คือการนำมาซึ่ง “กระบวนการยุติธรรม” ดังนั้นใครจะเห็นด้วยหรือไม่ก็เป็นสิทธิของเขา ที่ผ่านมายังไม่มีความพยายามเซ็นเซอร์งานโดยตรง แต่ก็มีการพูดคุยสอบถามกันบ้าง ส่วนของงานที่เรานำเสนอก็เป็นการนำเสนอความจริงทั้งหมด ในส่วนหนึ่งเราก็เข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ แต่ในฐานะคนทำงานเราก็อยากนำเสนอความจริง

“ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่มันอยู่ในใจมาตลอดเวลาจนมันชินชา แต่ไม่ใช่รู้สึกเฉย คนในพื้นที่ยังรู้สึกอยากเปลี่ยนแปลง อยากให้เกิดความยุติธรรม เพราะตลอดเวลาที่เกิดความไม่สงบตลอด 15-16 ปีที่ผ่านมา มันเป็นปมของคนในพื้นที่ที่ยังอึดอัดอยู่ในใจ ซึ่งเขาแก้ไม่ได้เพราะมันขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้มีอำนาจ”

นิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวของผู้ถูกซ้อมทรมานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

ภาพกิจกรรมภายในปัตตานี  อาร์ตสเปซ (Patani Artspace)

“สิ่งที่จะประสานระหว่างความแตกต่างของคนไทยพุทธกับคนไทยมุสลิมคือ ต่างฝ่ายต่างต้องเปิดใจสนทนาความจริงระหว่างกัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้มันสะสมมานานจนเป็นโครงสร้างที่แก้ยากและยังส่งผลประโยชน์ให้คนบางกลุ่ม การพูดคุยกันกันจริงๆจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก”

กลุ่มคนรุ่นใหม่ในพื้นที่สามจังหวัดคือความหวัง

ถ้าพูดถึงคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ค่อนข้างจะมีความคิดสร้างสรรค์มาก ทุกคนอยากให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ขึ้นในพื้นที่ เพราะทุกคนเหนื่อยและอึดอัดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงอยากสื่อสารให้คนภายนอกมองเห็นว่า พวกเขามีความพร้อมที่จะพัฒนาบ้านเมืองของเราให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ผมรู้สึกดีมากที่ระยะหลังคนรุ่นใหม่พยายามสร้างกิจกรรมรวมไปถึงสร้างเศรษฐกิจที่ทำขึ้นมาเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของตัวเอง เช่น กิจกรรมเฟสติวัลต่างๆ กลุ่มสถาปนิกที่จัดกิจกรรม “ปัตตานี ดีโค้ด” (Pattani Decoded) เชิญศิลปินท้องถิ่น ศิลปินร่วมสมัยมาพูดคุย มีอาหารอร่อยๆจากร้านต่างๆมาร่วม กลุ่มกวี ผู้สร้างภาพยนต์รุ่นใหม่ นักออกแบบผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพออกมาสู่สายตาคนภายนอก เพื่อให้คนภายนอกมองเห็นว่า เบื้องหลังจริงๆในพื้นที่มีงดงามในตัวเองไม่ได้มองแต่มิติความรุนแรงเท่านั้น

ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และผู้ก่อตั้งปัตตานี  อาร์ตสเปซ (Patani Artspace)

“หากจะเปรียบเทียบก็คงเหมือนทุเรียนที่ภายนอกมีหนามดูน่ากลัว พอเปิดออกมาก็ดันมีกลิ่นฉุนอีก แต่พอได้ชิมแล้วถึงจะรู้ว่ามันอร่อยแค่ไหน”

การปะทะทางเจเนอเรชั่นระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นก่อนในพื้นที่สามจังหวัด

ที่ผ่านมาการปะทะเมื่อเกิดการเปลี่ยนผ่านทางเจเนอเรชั่นก็มีบ้าง แต่เมื่อพิจารณาแล้วทุกคนก็เห็นด้วยกับงานที่เป็นงานสร้างสรรค์เชิงบวก ทำให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงออกอย่างเต็มที่ เพราะคนรุ่นก่อนเองเขาก็อยากเห็นสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นในพื้นที่เหมือนกัน พลังของคนรุ่นใหม่เหล่านี้มันสำคัญมากและจะเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นถัดๆไปรวมทั้งคนรุ่นก่อนเองด้วย เขาได้เรียนรู้ว่าโลกมันเดินทางไปข้างหน้า แม้แต่ตัวคุณเองยังต้องปรับตามโลกที่มันเปลี่ยนไปเช่นเดียวกันคุณก็ต้องเปิดรับความคิดของคนรุ่นใหม่มากขึ้นด้วย คนรุ่นก่อนรู้ดีว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมันแรงและเร็วมาก ยิ่งเขาปฏิเสธก็จะยิ่งตีตัวออกห่างจากคนรุ่นใหม่ เขาจึงต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับคนรุ่นใหม่มากขึ้น ดังนั้นพลังของคนรุ่นใหม่จึงสำคัญมากเพราะเขาจะเป็นคนเชื่อมคนนอกพื้นที่กับคนในพื้นที่ ร่วมกันพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับความเป็นไปของโลก ไม่ว่าจะเป็นวงการไหนก็ตาม วงการแพทย์ เศรษฐกิจ ศิลปะหรือการศึกษา

ภาพกิจกรรมภายในปัตตานี  อาร์ตสเปซ (Patani Artspace)

ภาพกิจกรรมภายในปัตตานี  อาร์ตสเปซ (Patani Artspace)

“หากพูดถึงด้านศิลปะ ผมคิดว่าในช่วง 4-5 ปีมานี้ศิลปะมีพลังมาก กิจกรรมต่างๆมักจะมีเรื่องของศิลปะเข้าไปเกี่ยวข้อง ผมมองว่าศิลปะเป็นสื่อที่จะถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ภายใน การแสดงออกของศิลปินคือพลัง แม้จะไม่ได้ส่งผลในเชิงเศรษฐกิจอย่างชัดเจนแต่มันส่งผลต่อจิตใจ ความรู้สึก หน้าที่ของศิลปะมันทำงานกับหัวใจ แกนหลักของมนุษย์คือหัวใจ ต่อให้ร่างกายแข็งแรงแค่ไหนแต่หากหัวใจอ่อนแอก็อยู่ลำบาก”

หน้าที่ของศิลปะคือ จะทำอย่างไรให้หัวใจแกร่ง เพราะศิลปะเกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่ภายใน เราโกหกหัวใจตัวเองไม่ได้ ดังนั้นศิลปะคือการสื่อสารความจริง การดำเนินชีวิตของสังคมเราต้องรักษาความสมดุลระหว่างร่างกายกับหัวใจต้องไปด้วยกัน ในฐานะคนทำงานศิลปะผมก็อยากให้สังคมมองเรื่องของหัวใจมากๆ เมื่อเราเข้าใจคุณค่าในหัวใจเราก็จะเข้าใจความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียมกัน ตรงนี้ทำให้เห็นว่าคุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์คือการเข้าใจคุณค่าของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ภาพกิจกรรมภายในปัตตานี  อาร์ตสเปซ (Patani Artspace)

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า