SHARE

คัดลอกแล้ว

ความสำคัญของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PCB – Print Circuit Board ที่รวบรวมชิ้นส่วนและอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) เข้าด้วยกัน พูดให้เห็นภาพคือ แผ่นสำหรับยึดชิ้นส่วนและเป็นทางเดินสัญญาณไฟฟ้าของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่อยู่บนวงจรทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อกันและสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามที่ได้ออกแบบไว้ ดังนั้น PCB จึงเกี่ยวข้องทั้งกับรถยนต์ไฟฟ้า โทรคมนาคม อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ คอมพิวเตอร์ ระบบดิจิทัล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีอากาศยาน เป็นต้น

ฐานการผลิต PCB อันดับ 1 ของโลกตอนนี้อยู่ที่ประเทศ ‘จีน’ รองลงมาคือ ‘ไต้หวัน’ ที่มีชื่อเสียงด้านความเชี่ยวชาญ PCB ระดับไฮเอนด์ใช้ในสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ตามมาด้่วย ‘เกาหลีใต้’ และ ‘ญี่ปุ่น’

ส่วน ‘ไทย’ ถือเป็นฐานการผลิต PCB อันดับ 1 ของอาเซียน

ตอนนี้เป็นจังหวะของประเทศไทยในเรื่อง PCB อย่างมาก เพราะนักลงทุนจากไต้หวันย้ายฐานการผลิตส่วนหนึ่งมาที่ไทยมากขึ้น หนีปัญหาความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะบานปลายได้ทุกเมื่อ เมื่อจีนทำการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงใกล้กับไต้หวัน

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวันที่อาจส่งผลกระทบต่อฐานการผลิต PCB ในไต้หวัน

ทำให้ไทยเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ในการย้ายฐานการผลิต เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ต่ำมากที่สุดในภูมิภาค อีกทั้งไทยมีแต้มบุญความได้เปรียบจากการเป็นหน่ึงในห่วงโซ่อุปทานมาอย่างยาวนานของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ และมีอุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง

แต่ตอนนี้กำลังมีความวิตกกังวลจากบริษัทต่างชาติที่เข้ามาขยายการลงทุนตั้งโรงงาน PCB ในไทย

โดยเฉพาะความเป็นห่วงที่ว่า ไทยมีความพร้อมแค่ไหนในการรองรับฐานการผลิตที่เข้ามาตั้งโรงงานในประเทศจำนวนมากในเวลาไล่เลี่ยกัน

มีความวิตกกังวลว่านิคมอุตสาหกรรมของไทยอาจเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการ ‘ขาดแคลนพลังงาน’ ในต้นปีหน้า เนื่องจากการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากไต้หวัน ที่เข้ามาตั้งโรงงานใหม่จำนวนมากเพื่อผลิต PCB ในไทยจะเริ่มเข้าสู่ระบบออนไลน์การผลิตปีหน้านี้แล้ว

อย่างไรก็ตามแม้ไทยจะเป็นประเทศผู้ผลิต PCB อันดับหนึ่งของอาเซียน แต่นักลงทุนต่างชาติมองไปไกลกว่านั้น และเห็นว่าไทยมีอนาคตที่จะกลายมาเป็นประเทศที่ผลิต PCB อันดับ 3 ของโลกได้

แต่ ‘มอริซ ลี’ ประธานสมาคมแผงวงจรพิมพ์ PCB ของไต้หวัน ออกมาแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน การบริหารจัดการน้ำ และระบบการจัดการของเสียของไทยที่จะเป็นเรื่องท้าทายสำคัญของการขึ้นสู่ประเทศผู้ผลิต PCB อันดับ 3 ของโลก

จากการให้สัมภาษณ์กับสื่อญี่ปุ่น นิกเกอิ เอเชีย เขามองว่า ประเทศไทยมีศักยภาพที่ดีในการเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรม PCB ในอาเซียน เนื่องจากมีความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ต่ำ และมีกำลังแรงงานที่สามารถแข่งขันได้

โดยที่ผ่านมาได้หารือความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานกับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดปราจีนบุรี และอยุธยา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงงานยอดนิยมของบริษัทผู้ผลิต PCB และซัพพลายเออร์ของผลิตภัณฑ์ แต่ความกังวลก็ยังมีอยู่

“ผมยกตัวอย่างจังหวัดปราจีนบุรี มีโรงงานผลิต PCB ใหม่ 10 แห่ง รวมถึงโรงงานของซัพพลายเออร์วัสดุและอุปกรณ์ใหม่ 4 แห่ง พวกเขาสร้างทั้งหมดในเวลาไล่เลี่ยกันและจะออนไลน์ระบบในเวลาเดียวกัน เรามีความกังวล เรื่องความต้องการไฟฟ้าและน้ำในการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อถึงจุดที่โรงงานใหม่ต่างดำเนินการเต็มกำลังการผลิต”

กระบวนการผลิต PCB จึงต้องใช้พลังงานและน้ำอย่างมากเมื่อเทียบกับส่วนประกอบอื่นๆ และด้วยโรงงานเปิดการผลิตตลอด 24 ชั่วโมง การจ่ายไฟฟ้าที่ไม่เสถียรอาจทำให้คุณภาพของ PCB ลดลง และหากการผลิตต้องหยุดชะงัก จะต้องตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนที่จะรีสตาร์ทระบบใหม่ ทั้งหมดนี้จะต้องใช้ทั้งเวลาและเพิ่มต้นทุนการดำเนินงาน

มอริซ ลี บอกอีกว่า อีกหนึ่งประเด็นความท้าทายของประเทศไทยคือ ระบบการกำจัดของเสียจากอุตสาหกรรม เขาเห็นว่าความสามารถในการจัดการของเสียในจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่ยังไม่เพียงพอสำหรับการผลิต PCB ล็อตใหม่จากโรงงานใหม่ที่กำลังทยอยสร้างและจะเริ่มเดินสายการผลิตปีหน้า เพราะในโรงงาน PCB หนึ่งแห่งสามารถสร้างของเหลวที่หลงเหลือจากกระบวนการผลิตออกมาหลายสิบตัน ซึ่งสารเคมีเหล่านี้เมื่อเก็บไว้ในโรงงานจะต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในการทำงานด้วย

ดังนั้นเขามองว่าไทยเองต้องเตรียมพร้อมเรื่องเหล่านี้ เพราะไทยถูกคาดหวังว่าจะขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม PCB ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก จึงจำเป็นที่ไทยต้องเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองการขยายฐานการผลิต PCB

ถ้าดูตัวอย่างของประเทศที่เป็นฐานการผลิต PCB อันดับ 1 ในโลกอย่างจีนที่กินส่วนแบ่งตลาดในฐานะผู้ผลิตมากกว่า 50% ของการผลิตทั่วโลก

ความได้เปรียบของจีน คือ 1.ต้นทุนแรงงานต่ำ 2.การสนับสนุนจากรัฐบาล 3.ห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง 4.ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ดังนั้นจะเห็นว่าตอนนี้การลงทุนใหม่ๆ ทยอยเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียนมากขึ้นจะด้วยทั้งเหตุผลโลกเปลี่ยนขั้ว ผลของภูมิรัฐศาสตร์ แต่สิ่งสำคัญคือ รัฐบาลและท้องถิ่นที่โรงงานไปตั้งจะต้องมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้ง พลังงานสะอาด แรงงาน โลจิสติกส์ ทั้งหมดจะต้องอยู่บนพื้นฐานระบบบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนด้วย

วันนี้ประเทศไหนในอาเซียนมีความพร้อม และทำถึงได้มากที่สุดก็จะเป็นตัวเลือกสุดท้ายนั่นเอง

 

Ref 1,2,

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า