SHARE

คัดลอกแล้ว

ตำรวจ PCT เข้าทลายกลุ่มสตาร์ทอัพคอลเซ็นเตอร์เมืองไทย เคยทำงานให้แก๊งคอลฯ ในประเทศเพื่อนบ้านได้ยอดเดือนละเป็น 100 ล้าน จึขโมยโพยของบอสจากประเทศเพื่อนบ้าน ข้ามกลับมาเปิดเองในประเทศไทยหวังรวย แต่ทำได้ 2 เดือน ก่อนถูกจับกุม

พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น./ หน.ชุดปฏิบัติการ PCT ที่ 5 นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศปอส.ตร. (PCT) ชุดที่ 5 ร่วมกับชุดลาดตระเวนออนไลน์ บก.สส.บช.น. สืบสวนติดตามนำมาสู่การเข้าตรวจค้น ห้องพัก คอนโดแห่งหนึ่ง ถ.แพรกษา ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ตามหมายค้นศาลจังหวัดสมุทรปราการ จับกุม นายสุพรพงษ์ หรือแบงค์ อายุ 31 ปี ซึ่งเป็นบุคคลตามหมายจับศาล จ.สุพรรณบุรี ฐานความผิด “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น” พร้อมผู้หญิงอีก 3 คน ที่อยู่ในห้อง และได้ตรวจยึดของกลาง เป็นคอมพิวเตอร์ อออินวัน จำนวน 3 เครื่อง โทรศัพท์มือถือจำนวน 9 เครื่อง สมุดบัญชีจำนวน 5 เล่ม และซิมการ์ดโทรศัพท์มือถืออีกจำนวน 38 ซิม

จากการตรวจสอบพบว่าข้อมูล รูปแบบการหลอกลวงเรียกได้ว่าถอดแบบมาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหนึ่งในผู้ร่วมขบวนการ สารภาพว่าเคยเป็นพนักงานในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในประเทศกัมพูชา ซึ่งทำจนมีความชำนาญมาก มีความรู้ระดับอาจารย์ แต่ละเดือนตอนอยู่กัมพูชาสามารถทำยอดเงินได้เดือนละเป็น 100 ล้านบาท ยอมรับว่าตัวเองคนเดียวสามารถทำงานได้เหมือนคนหกคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งเมื่อทำไปเรื่อยๆ ก็เกิดความรู้สึกที่ว่า เหตุใดต้องทำงานเพื่อรับเปอร์เซ็นต์จากบอสชาวจีนแค่ 3% จึงเกิดความโลภคิดอยากทำเองเพื่อจะได้รับเงินเต็มๆ

โดยระหว่างที่ทำงานเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในประเทศกัมพูชา ได้แอบเก็บข้อมูล รูปแบบ สคริปต์ต่างๆ และได้เลือกรูปแบบที่คิดว่าสมบูรณ์แบบเก็บติดตัวไว้ จากนั้นได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยเมื่อประมาณเดือน ก.ย. 65 โดยได้จ้างให้โปรแกรมเมอร์คนไทยที่อยู่ในประเทศกัมพูชา เขียนโปรแกรมให้ ในราคา 60,000 บาท จากนั้นจึงได้ร่วมกับพวกที่อยู่ในห้องอีก 3 คน ทำด้วยกัน โดยส่วนแบ่งรายได้ออกเป็น ตนเองจะได้ 30% นายสุพรพงษ์ หรือแบงค์ จะได้ 30% ส่วนอีก 2 คนจะได้คนละ 20% โดยวาดฝันไว้ว่าตนเองจะเป็นผู้ก่อตั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ของคนไทยเจ้าแรก และจะเป็นสตาร์ทอัพเพื่อขยายกิจการในประเทศไทย แต่ทำได้เพียง 2 เดือนก็มาถูกจับเสียก่อน

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลในโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ทราบว่าทั้ง 4 คน ร่วมกันหลอกลวงโดยสร้างเฟซบุ๊กปลอม (อวตาร) ใช้ภาพโปรไฟล์เป็นสาวสวยชักชวนเพื่อนในเฟซบุ๊ก โดยพูดคุยเชิงชู้สาวเพื่อชักชวนมาลงทุน เมื่อเหยื่อสนใจ จะเชิญเข้า “กลุ่มไลน์” อ้างว่าเป็นบริษัทที่ชื่อว่า E-SHIPING.SHOP ซึ่งแท้จริงเป็นบริษัทที่ไม่มีอยู่จริง 

จากนั้นจะให้คุยกับ อ.กอล์ฟ ซึ่งเป็นตัวตนปลอมว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน หลอกเสนอขายแผนโปรแกรม โดยภายในกลุ่มไลน์ดังกล่าวจะมีเหยื่ออยู่ในกลุ่มเพียงคนเดียว ที่เหลือจะเป็นหน้าม้าทั้งหมด

โดยจะมีการให้หน้าม้าส่งภาพสลิปการโอนเงินทำทีว่าได้รับเงินจริง ซึ่งเป็นสลิปการโอนเงินปลอม เมื่อเหยื่อเห็นว่าคนในกลุ่มได้รับเงินโอนจริงจะเกิดความโลภและยอมโอนเงินลงทุนในที่สุด และเมื่อเหยื่อโอนเงินแล้วจะทำทีแสดงข้อมูลในโปรแกรมโชว์ยอดรายได้ให้เหยื่อเห็น แต่เหยื่อต้องการถอนเงินก็จะไม่สามารถถอนได้ โดยจะอ้างว่าเหยื่อทำผิดวิธี และจะชักชวนให้ลงทุนเพิ่มไปเรื่อยๆ 

โดยรูปแบบการวางระบบของแก๊งคอลเซ็นเตอร์กลุ่มนี้เป็นรูปแบบเดียวกับหลายๆแก๊งที่ตั้งออฟฟิศอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน แต่กลุ่มนี้สามารถรวบรัดระบบต่างๆไว้ในห้องเดียวด้วยคอมพิวเตอร์เพียง 3 เครื่อง และใช้คนจัดการเพียง 4 คน ซึ่งมีทั้งการทำระบบหลังบ้าน, ระบบการแบ่งห้องไลน์สนทนา, ระบบแถว 1 ที่การชักชวนเหยื่อ, การปลอมสลิปด้วยเทมเพลตในโปรแกรม Photoshop และอีกหลายขั้นตอน ซึ่งบ่งบอกถึงประสบการณ์และความเข้าใจในการทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์เป็นอย่างดี

หลังเสร็จสิ้นการตรวจค้น ชุดจับกุมได้ทำการจับกุมตัว นายสุพรพงษ์ ปัญญาไว หรือแบงค์ ตามหมายจับของศาล นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ดำเนินคดีตามกฎหมาย และนำตัวหญิงสาวอีก 3 รายมาสอบปากคำที่ สภ.เมืองสมุทรปราการ ก่อนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า