Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยรั้งท้าย การจัดอันดับคุณภาพของระบบบำเหน็จบำนาญเพื่อรองรับสังคมสู่วัย ปัจจุบันคนไทยควรมีเงินออมเพื่อการเกษียณอย่างน้อย 4 ล้าบาท จึงจะเพียงพอต่อการดำรงชีวิตเมื่อไม่ทำงาน

การก้าวสู่ ‘สังคมสูงวัย’ ถือเป็นความท้าทายของหลายประเทศทั่วโลก ที่จำเป็นต้องจัดสรรทรัพยากรและวางแผนรองรับประชากรสูงอายุ ซึ่งกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ภายในปี 2070 ร้อยละ 20 ของประชากรโลกจะกลายเป็นคนวัยเกษียณ

Bloomberg รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจาก Melbourne Mercer Global Pensions Index 2019 ที่ศึกษาความพร้อมของระบบบำเหน็จบำนาญใน 37 ประเทศทั่วโลก ผ่านการประเมินด้วยเกณฑ์ต่างๆ กว่า 40 เกณฑ์ เช่น สิทธิประโยชน์ของวัยทำงาน การเก็บออม ความเป็นเจ้าของบ้าน การเติบโตของสินทรัพย์ สินทรัพย์รวม ความครอบคลุมของระบบบำเหน็จบำนาญ ประชากรศาสตร์ การเติบโตของเศรษฐกิจ ฯลฯ

พบว่า เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์กเป็นประเทศที่มีระบบรายได้รองรับการเกษียณอายุของพลเมืองดีที่สุดในโลก ทั้งแง่ของคุณภาพและความยั่งยืน รองลงมาในอันดับที่ 3-10 ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ แคนาดา และชิลี

ขณะที่ไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับสุดท้าย ของกลุ่มประเทศที่ระบบบำเหน็จบำนาญยังอ่อนแอและขาดความชัดเจน รายงานฉบับนี้ยังระบุอีกว่า ไทยควรเพิ่มระบบบำเหน็จบำนาญให้ครอบคลุมคนวัยทำงานมากขึ้น เพิ่มการสนับสนุนกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และแนะนำเกณฑ์ขั้นต่ำให้คนเก็บออมในกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ

ปัจจุบันนอกจากระบบข้าราชการ รัฐบาลจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้กับคนอายุ 60-69 ปี เดือนละ 600 บาท อายุ 70-79 ปี เดือนละ 700 บาท อายุ 80-89 ปี เดือนละ 800 บาท อายุ 90 ปีขึ้นไป เดือนละ 1,000 บาท และให้เงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)

ส่วนคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ สูงสุดที่เดือนละ 6,375 บาท แต่เมื่อรวมเงินสนับสนุนทั้งหมดแล้วก็อาจยังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ถ้าไม่ได้เก็บออมเงินเพื่อการเกษียณของตนเองด้วย

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เคยประเมินว่า คนไทยควรมีเงินออมเพื่อการเกษียณอย่างน้อย 4 ล้าบาท จึงจะเพียงพอต่อการดำรงชีวิตเมื่อไม่ทำงาน อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้คนไทยวัยเกษียณมากกว่าร้อยละ 60 มีเงินเก็บไม่ถึง 1 ล้านบาท และผู้สูงอายุเกือบ 1 ใน 3 ยังต้องทำงาน เพื่อหาเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

 

ที่มา

https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-10-20/these-are-the-world-s-best-and-worst-pension-systems

https://info.mercer.com/rs/521-DEV-513/images/MMGPI%202019%20Full%20Report.pdf

https://www.set.or.th/happymoney/preretire.html

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า