SHARE

คัดลอกแล้ว

รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผย ตั้งแต่วันที่ 4-7 ส.ค. ที่ผ่านมา เดินหน้าฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ให้บุคลากรด่านหน้าแล้ว 57,000 ราย เร่งกระจายวัคซีนไปยัง 13 จังหวัดสีแดงเข้ม ฉีดกลุ่มเสี่ยงทันที ยืนยันไม่มีกลุ่ม VVIP

วันที่ 8 ส.ค. 2564 นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงการกระจายวัคซีนไฟเซอร์ให้บุคลากรด่านหน้า ว่า บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ตาม รพ.ต่างๆ และได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ทยอยเข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) แล้ว ตั้งแต่วันที่ 4-7 ส.ค. ที่ผ่านมา กว่า 57,000 ราย หลังกระทรวงสาธารณสุข ทยอยจัดส่งไปยัง รพ.ต่างๆ ทั้งนี้ การฉีดให้บุคลากรด่านหน้า ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. ถือเป็นการเริ่มต้นที่เร็วกว่าแผนที่กำหนด ก่อนหน้านี้ คาดว่า จะเริ่มฉีดได้ในวันที่ 9 ส.ค. 2564

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดส่งวัคซีนไฟเซอร์ไปให้ รพ. แล้วประมาณ 446,000 โดส จากโควตา 700,000 โดส ยังเหลืออยู่อีกกว่า 250,000 โดส ซึ่งจะทยอยจัดส่งต่อไป ส่วนสาเหตุที่ไม่ส่งไปทั้งหมด เนื่องจาก พบว่า โรงพยาบาลบางแห่งได้วัคซีนเกิน บางแห่งได้ขาด รวมทั้งอายุของวัคซีนต้องฉีดให้เสร็จภายใน 31 วัน แต่จะจัดให้ใกล้เคียงตัวเลขที่สำรวจมากที่สุด บางที่เจ้าหน้าที่ด่านหลังมาเป็นด่านหน้า หรือเด็กจบใหม่ ขอเพิ่มมาก็ได้ ซึ่งทุกคนได้ฉีดแน่นอน

และจากระบบติดตามอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน ส่วนใหญ่จะเกิดอาการปวด บวม ร้อน มีไข้เล็กน้อย ไม่รุนแรงมาก แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจในต่างประเทศจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นาในสหรัฐอเมริกา พบ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งการฉีดในประเทศไทยเรายังไม่พบ แต่ต้องเรียนให้ทราบเพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในช่วงทำวิจัยมักจะไม่พบ แต่จะพบเมื่อมีการฉีดจำนวนมากแล้ว คล้ายๆ กับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ที่พบภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ก็ไม่พบในช่วงวิจัยแต่มาพบช่วงที่ฉีดไปจำนวนมาก ดังนั้น จึงเป็นภาวะไม่พึ่งประสงค์ที่เกิดได้น้อยมาก

นพ.โสภณ กล่าวว่า สหรัฐรายงานว่า อาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว สามารถพบได้ในภาวะปกติแม้ไม่ได้รับวัคซีน แต่สำหรับการฉีดวัคซีนชนิด mRNA กว่า 300 ล้านโดส พบอาการดังกล่าว 1,226 ราย คิดเป็น 4 ราย ต่อ 1 ล้านการฉีด และไม่มีผู้เสียชีวิต ข้อมูลระบุว่า อาการไม่พึงประสงค์พบมากหลังฉีดในเข็มที่ 2 ไปแล้ว 5 วัน ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี และพบมากในช่วงอายุ 16-20 ปี สำหรับเพศหญิงจะพบอาการในคนอายุน้อย เพศชายจะพบในคนที่อายุมากขึ้น และพบอาการหลังออกกำลังกาย ประเทศสิงคโปร์ จึงมีข้อแนะนำว่า หลังรับวัคซีนแล้วไม่ควรออกกำลังหนักที่กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ดังนั้น หากฉีดในไทยจำนวน 1.5 ล้านโดส คาดว่า อาจพบ 6 ราย ส่วนใหญ่มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก ใจสั่น  ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถรักษาได้

สำหรับ การจัดส่งวัคซีนล็อตผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ทางกระทรวงสาธาณสุข จะจัดส่งให้วัคซีนให้ รพ. สามารถติดตามวัคซีนอย่างไร เพื่อลดปัญหาฉีดนอกกลุ่ม จนมีกระแสข่าวจะมีกลุ่ม วีวีไอพี นั้น นพ.โสภณ กล่าวว่า ทุก รพ. ระวังมาก เพราะต้องใช้เกณฑ์อายุ และต้องฉีดเป็นเข็มที่ 1 ส่วนหญิงตั้งครรภ์ก็ต้องเข็มที่ 1 เช่นเดียวกัน

ซึ่งวัคซีนไฟเซอร์ จะกระจายไปยัง 13 จังหวัดสีแดงเข้มก่อนในล็อตนี้ และจะส่งเพิ่มไปอีก 16 จังหวัดสีแดงเข็มในล็อตต่อไป ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า ไม่มีวัคซีน VIP เพราะเป็นการจัดสรรของโรงพยาบาลในการฉีดให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงก่อน ซึ่งโรงพยาบาลจะมีข้อมูลคนไข้อยู่แล้ว โดยเน้นผู้สูงอายุและกลุ่มโรคเรื้อรัง รวมทั้ง หญิงมีครรภ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

นอกจากนี้ นพ.โสภณ ยังกล่าวถึง กรณีการกระจายวัคซีนไปยังต่างจังหวัด ว่า ในเดือน ส.ค. นี้ กระทรวงสาธารณสุข จะจัดสรรวัคซีนไปยังต่างจังหวัดสัปดาห์ละ 2 ล้านโดส โดยเฉลี่ยวัคซีนทั้งแอสตร้าเซนเนก้า และ ซิโนแวค ให้ใกล้เคียงกัน คาดว่า 4 สัปดาห์ จะกระจายไปได้ 10 ล้านโดส

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า