SHARE

คัดลอกแล้ว

#ไฟเซอร์นักเรียน เป็นประเด็นร้อนในโซเชียลมีเดีย หลังเด็กที่อยากฉีดไม่ได้ฉีด ขณะที่หลายคนกลัวว่าฉีดแล้วจะเกิดผลข้างเคียงจึงไม่ยอมฉีด workpointTODAY จะสรุปสั้นๆ 14 ข้อ แบบเข้าใจง่ายๆ

1.เริ่มจาก รัฐบาลมีนโยบายฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้นักเรียน นักศึกษา ทุกสังกัด ที่มีอายุระหว่าง 12 – 18 ปี จำนวน 5,048,081 คน เริ่มฉีดวันที่ 4 ต.ค. เป็นต้นไป

2.เบื้องต้นมีผู้ประสงค์จะฉีด 3.61 ล้านคน คิดเป็น 71.67% จะได้รับการฉีดวัคซีนสูตรไฟเซอร์ + ไฟเซอร์ 

3.สำหรับการฉีดวัคซีนจะเริ่มฉีดให้กับสถานศึกษาในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ที่มีจำนวน 15,465 แห่ง ใน 29 จังหวัดก่อนและจะฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน ต่อไป

4.เริ่มมีกระแส #ไฟเซอร์นักเรียน โดยมีคนนำข้อความแชต มาทวิตในทวิตเตอร์ ซึ่งคาดว่าเป็น โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.สกลนคร ซึ่งคุณครูได้ถามนักเรียนว่า คนที่ลงทะเบียนฉีดวัคซีนไว้มีใครจะถอนตัวเหรือไม่ ขณะที่นักเรียนยืนยันว่าไม่มีใครยกเลิก จากนั้นครูจึงบอกว่าวัคซีนขาด เขาให้ตัดชื่อ ซึ่งนักเรียนมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนต้องจัดการ ไม่ใช่ให้นักเรียนต้องถอนตัว

5.เริ่มมีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายอื่นๆ เข้ามาให้ข้อมูลมากขึ้น เช่น ผู้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง บอกว่ามีนัดฉีดวันที่ 5 ต.ค. แต่ครูให้เลื่อน เพื่อให้เด็ก มัธยมปลายฉีดก่อน เนื่องจากวัคซีนมีไม่พอ และมีอีกหลายคนทวิตในทำนองเดียวกันว่าไม่ได้ฉีดเพราะวัคซีนไม่พอ

6.ขณะเดียวกัน ยังมีอีกหนึ่งกระแส คือกลุ่มนักเรียนที่ไม่กล้าฉีด เพราะใน TikTok มีการพูดถึงนำเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนจำนวนมาก ทำให้เริ่มมีกระแสต่อต้านวัคซีน จากนักเรียนบางส่วน

 7.มีการพูดถึงต้นตอที่ทำให้นักเรียนปฏิเสธการฉีดวัคซีนไฟเซอร์นั้น มาจาก ‘ข้อความลูกโซ่’ เกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ที่อันตรายถึงชีวิต มีเด็กและผู้ปกครองบางส่วนเชื่อและเกิดความกังวลใจ

8.ขณะที่ความเคลื่อนไหวในทวิตเตอร์ มีหลายคนออกมาตำหนิกลุ่มคนที่ไม่ฉีดเพราะเชื่อ TikTok เรียกร้องว่าอย่าไปเชื่อและให้ไปรับการฉีดวัคซีน พร้อมแนะนำให้หาข้อมูลก่อนที่จะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไร และยังบอกอีกว่ายิ่งฉีดได้เร็วเท่าไร โรงเรียนก็จะเปิดได้ไวมากขึ้นเท่านั้น 

9.เกิดเป็นกระแส คนอยากฉีดไม่ได้ฉีด แต่คนที่ได้ฉีดกลับไม่อยากฉีด 

10.ส่วนความคืบหน้าการฉีดวัคซีน นพ.เฉวตสรร นามวาท ผอ.กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน บอกว่า การฉีดไฟเซอร์นักเรียน ตั้งแต่วันที่ 4 – 6 ต.ค. ฉีดแล้วประมาณ 74,500 ราย จากผู้แจ้งความประสงค์ทั้งหมด 3.61 ล้านร้ายและตอนนี้มีนักเรียนต้องการฉีดเพิ่มอีกเป็นหลักแสนราย

11.ส่วนข้อกังวลเรื่องอาการไม่พึงประสงค์ คือ อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ นพ.เฉวตสรร บอกว่า ‘เจอต่ำมาก’ ซึ่งก่อนเริ่มฉีดกลุ่มนักเรียน ก็มีการฉีดเด็กที่มีโรคประจำตัวแสนราย พบอาการนี้ประมาณ 6 ราย แปลว่าอีก 9.9 แสนราย ไม่มีอาการ

12.สาเหตุที่ต้องเตือนก็เพื่อหากมีอาการจะได้ไปดูแล ซึ่งรักษาหายได้ โดยให้สังเกตอาการช่วงหลังฉีด 1 – 5 วันแรก หากมีอาการสงสัยแน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจเหนื่อย หน้ามืด หมดสติ ให้บอกผู้ปกครอง หรือครู โดยยืนยันว่าวัคซีนมีความปลอดภัย 

13.ด้าน นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบที่เกิดจากวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA มักพบในเข็มที่ 2 มากกว่า เข็มที่ 1 พบว่าเพศชายที่มีอายุ 12 – 17 ปี จะมีอัตราการเกิดสูงสุด รองลงมาในช่วงอายุ 18 – 24 ปี ยังไม่มีพบในผู้สูงอายุ 

14.แนวทางการรักษา นพ.อดิศัย บอกว่ารักษาแบบประคับประคองด้วยการใช้ยา เช่น ยาต้านการอักเสบ ยาสเตียรอยด์ ผู้ป่วยหายเป็นปกติได้เกือบทั้งหมด การรับวัคซีนยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะประโยชน์ที่ได้รับจากฉีดวัคซีนมีมากกว่า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า